ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารทั่วไป
»
ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์
»
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว (อ่าน 2409 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
เมื่อ:
02 กันยายน 2013, 10:25:11 »
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล
วัดคอนสวรรค์
ตำบลค้อเขียว
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ละสังขาร
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖
เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น.
ขณะนี้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล
ณ
วัดคอนสวรรค์
ตำบลค้อเขียว
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
02 กันยายน 2013, 10:25:30 »
ขอน้อมถวายสักการะองค์หลวงปู่ด้วยความเคารพนอบน้อมยิ่ง
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
03 กันยายน 2013, 05:56:44 »
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล
วัดคอนสวรรค์
ตำบลค้อเขียว
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ละสังขาร
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖
เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น.
ขณะนี้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล
ณ
วัดคอนสวรรค์
ตำบลค้อเขียว
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
บันทึกการเข้า
HS4DRY
ผู้ดูแลเว็บ
Hero Member
กระทู้: 619
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
03 กันยายน 2013, 07:44:32 »
กราบนมัสการด้วยความเคารพยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
03 กันยายน 2013, 08:45:04 »
เมื่อเวลา 05.00 น.
วันที่ 2 กันยายน 2556
พระมงคลวิสุทธิ์ หรือหลวงปู่สุภา กันตสีโล อายุ 119 ปี ได้ละสังขารด้วยอาการสงบ ขณะจำวัดอยู่ที่วัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะการอาพาธด้วยโรคชรา ซึ่งเริ่มทรุดหนักตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.56 ทางวัดได้แจ้งให้แพทย์และพยาบาลเข้ามาดูแลรักษาอาการอย่างใกล้ชิด ก่อนละสังขารด้วยอาการสงบภายในกุฏิ
สำหรับ
ประวัติของหลวงปู่สุภา
เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2438 ณ บ้านบ่อคำ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ ขุนพลภักดี ผู้ใหญ่บ้านคำบ่อ โยมมารดาชื่อ นางสอวงศ์ภาคำ มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เริ่มบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 8 ขวบ ชีวิตในบรรพชิตของท่านเกินกว่าครึ่งหมดไปกับการธุดงค์ และบำเพ็ญธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร เป็นเวลากว่า 45 ปี เพื่อปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง และมาสร้างวัดที่จังหวัดภูเก็ต จนมีชื่อเสียงโด่งดังมีลูกศิษย์มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หลวงสุภาได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลชื่อดังในรุ่น "พระเสด็จกลับ” และสร้างวัดในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต หลายแห่ง เช่น วัดเกาะสิเหร่ วัดสีลสุภาราม ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อวัดจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยหลวงปู่สุภาได้จำพรรษาที่วัดสีลสุภาราม จังหวัดภูเก็ต อยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นเดือนมี.ค.55 จึงย้ายไปจำวัดที่บ้านเกิด เนื่องจากชราภาพมาก ประกอบกับสุขภาพของหลวงปู่สุภาไม่ค่อยแข็งแรง
ทางด้าน
พระครูปริยัติ สกลการ
เจ้าอาวาสวัดคอนสวรรค์ ตำบลบ้านค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ เปิดเผยกำหนดการเคลื่อนย้ายร่างของหลวงปู่สุภา ออกจากกุฏิของท่านมาที่ศาลากลางน้ำของวัดคอนสวรรค์ ในวันอังคารที่ 3 กันยายน 2556 เพื่อรับพระราชทานน้ำอาบน้ำศพ และสวดพระอภิธรรมเป็นวันแรก
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/thailand/230356
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #5 เมื่อ:
04 กันยายน 2013, 06:33:26 »
กราบนมัสการด้วยความเคารพยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #6 เมื่อ:
04 กันยายน 2013, 22:31:12 »
หลวงปู่สุภา กันตสีโล
ละสังขารแล้วเมื่อเช้าตรู่วันนี้ เมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกาตรงกับแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๙ วันจันทร์ที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ด้วยอาการสงบ ณ กุฏิภายในวัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร สิริอายุรวม ๑๑๗ ปี ๑๑ เดือน ๑๕ วัน ท่านอยู่ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์นับตั้งแต่สามเณรจนถึงมรณกาลเป็นระยะเวลา ๑๐๙ ปี นับรวมพรรษาที่ท่านบวชเป็นพระภิกษุในพรรษานี้เป็นพรรษาที่ ๙๗ นับเป็นเรื่องยากที่จะมีพระภิกษุในบวรพุทธศาสนายุคใดยุคหนึ่งที่จะมีอายุวัฒนมงคลยั่งยืนมาได้ยาวนานเหมือนหลวงปู่สุภานี้ ในสมัยพุทธกาลเองก็มีพระพากุละเถระเจ้า ผู้มีอายุยืนถึง ๑๖๐ ปี มีพรรษากาล ๘๐ เป็นพระเอตทัคคะผู้มีโรคภัยน้อย หลวงปู่สุภา ท่านเป็นพระนักธุดงค์ตลอดชีวิตของท่านออกวิเวกอยู่ตามป่าเขาน้อยใหญ่ ได้มีโอกาสเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาธรรมอยู่กับครูบาอาจารย์หลายสำนัก เช่น หลวงปู่สีทัตต์ วัดท่าอุเทน , หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ , หลวงพ่อทบ วัดชนแดน , หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา และ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นต้น ครูบาอาจารย์ทุกรูปนี้เป็นที่เลื่องลือในเรื่องอภิญญาอิทธิปาฏิหาริย์ ได้คอยอบรมสั่งสอนกัมมัฏฐาน และวิชาอาคมมากมายทุกอย่างแก่หลวงปู่สุภา จนหมดสิ้น
ครั้งนึงผมได้มีโอกาสไปกราบท่านพระอาจารย์ญาณธัมโม ที่วัดป่ารัตนวัน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ท่านเล่าประวัติหลวงปู่สุภาให้ฟังว่า “หลวงปู่สุภา ครั้งสมัยยังหนุ่มๆอยู่ ท่านนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิในป่า พอดีมีอยู่งูเหลือมขนาดใหญ่เลื้อยขึ้นมาบนกุฏิ แล้วพยายามกลืนท่านไปจากทางเท้า หลวงปู่สุภา ท่านบอกกับงูว่า เจ้างูเจ้าจะกินเราเราไม่ว่า เราปฏิบัติธรรมนี้หวังเพื่อความหลุดพ้น ถ้าเจ้ากินเราแล้วพาเราไปสวรรค์ไปนิพพานได้ เจ้าก็กินเราเลย หลวงปู่สุภาท่านว่างูใหญ่มันพยายามกลืนท่านไปจนเกือบถึงเอวก็กลืนไม่ไหว จึงค่อยๆขย่อนออกมาแล้วเลื้อยหายเข้าไปในป่า หลวงปู่สุภามีอาการเจ้าข้อเท้ามาก คงเพราะน้ำหนักกำลังแรงงูพยายามบีบกระดูกท่านให้แตก ทันใดท่านก็ได้ยินเสียงผู้หญิงพูดดังลั่นป่าว่า “ไอ้งูนี่เลวมาก ฆ่าพระมาแล้วหลายรูป อย่าอยู่เลยมึง” หลังจากนั้น ท่านก็ได้ยินเสียงต้นไม้ใหญ่หักโค่นดังสะนั่นป่า แต่ท่านเองหมดแรง ไม่สามารถขยับร่างกายได้ จึงหลับไป พอรุ่งเช้า หลวงปู่สุภา ค่อยๆพยุงร่างกายลุกขึ้นเพื่ออกไปบิณฑบาต ท่านว่าผ้าสบงท่านเต็มไปด้วยน้ำลายงูที่ไว้ใช้ย่อยเหยื่อ พออกไปนอกกุฏิ ท่านก็เห็นต้นไม้ใหญ่หักโค่นทับร่างงูนั้นจนตาย” ท่านพระอาจารย์ญาณธัมโม เล่าว่าหลวงปู่สุภา เป็นพระที่มีเมตตามากและท่านก็เคารพหลวงปู่สุภาเป็นครูอาจารย์รูปหนึ่ง ในภาพเป็นช่วงพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่วัดป่ารัตนวัน เมื่อต้นไปที่แล้ว เดือนมกราคม ๒๕๕๕ หลวงปู่สุภา เมตตามาเป็นประธานสงฆ์ในงานให้ ท่านกล่าวว่า “ครูบาอาจารย์รูปอื่น ต่างเป็นหลวงปู่หลวงตากันหมดแล้ว แต่พระอาจารย์ญาณะ นี่ยังดูหนุ่มอยู่เสมอนะ แถมเป็นพระฝรั่งด้วย แต่ทำไมพูดไทยเก่งจัง เทศน์ก็เก่งด้วยน๊ะ”
ประวัติและปฏิปทาของหลวงปู่สุภา กันตสีโล
หลวงปู่สุภา กันตสีโล ท่านมีนามเดิมว่า “สุภา วงศ์ภาคำ” เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก ณ บ้านคำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร โยมบิดาชื่อขุนพลภักดี ผู้ใหญ่บ้านคำบ่อ ชื่อเดิม นายพล วงศ์ภาคำ โยมมารดาชื่อ นางสอ วงศ์ภาคำ มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน หลวงปู่สุภา ท่านเป็นลูกคนที่ ๖ แต่เป็นลูกชายคนสุดท้องของครอบครัว ท่านผู้ใหญ่พล ให้นามบุตรชายคนนี้ว่า “สุภา” อันประกอบด้วย “สุ” แปลว่า “ดี” และ “ภา” มาจากส่วนหนึ่งของสกุลว่า “วงศ์ภาคำ” ซึ่งมีความหมายว่า คนดีของตระกูลวงศ์ภาคำ นั่นเอง เมื่อตอนเป็นเด็กท่านอ้วนท้วนสมบูรณ์ ผิวขาว หน้าตาน่ารักน่าชัง ท่านใช้ชีวิตอย่างเช่นเด็กทั่วๆ ไป ในสมัยนั้นคือ เที่ยววิ่งซุกซนไปตามประสา จะมีโอกาสเรียนเขียนอ่านก็ต่อเมื่อ พ่อแม่พาไปฝากวัดให้พระท่านสอน หรือไม่ก็ให้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือสอนให้ วัดจึงเป็นสถานที่แห่งเดียวที่เด็กชายไปแสวงหาความรู้ เช่นเดียวกับคนอีสานส่วนใหญ่สมัยนั้น คือมักจะให้ลูกบวชเป็นเณร
เมื่อหลวงปู่สุภาอายุได้ ๗ ขวบ วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านและเพื่อนๆ ออกไปวิ่งเล่นที่ริมทุ่งชายป่า ได้พบกับพระธุดงค์รูปหนึ่ง มาปักกลดพักอยู่ใต้ต้นตะแบกใหญ่ เด็กคนอื่นๆ ที่เห็นพระรูปนั้นไม่ได้สนใจ ต่างพากันวิ่งเล่นกันต่อ เว้นไว้แต่เด็กชายสุภา ซึ่งมีจิตใจโน้มมาทางธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย จะเห็นได้จากการที่ชอบเข้าใกล้พระ ชอบไปวัด ดังนั้นเมื่อท่านเห็นพระธุดงค์รูปนั้นปักกลดพักอยู่ ก็แยกตัวออกจากเพื่อนๆ ตรงเข้าไปกราบ เมื่อพระภิกษุชราที่นั่งพักอยู่ภายในกลดเห็นเด็กชาย หน้าตาน่ารักเข้ามากราบอย่างสวยงาม เหมือนกับได้รับการสั่งสอนมาเป็นอย่างดี จึงมองเด็กน้อยคนนั้นด้วยความเมตตา เพิ่งดูลักษณะอยู่ครู่เดียว จึงบอกเด็กน้อยว่า ต่อไปภายหน้าจะได้บวช เมื่อบวชแล้วอย่าลืมไปหาท่าน พระภิกษุรูปนี้คือ หลวงปู่สีทัตต์ จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าอุเทน จังหวัดนครพนมนั้นเอง แต่ในเวลานั้น เด็กชายสุภายังไม่ได้นึกอะไร ได้แต่นั่งคุยกับหลวงปู่สีทัตต์อยู่ครู่หนึ่ง จึงนมัสการลากลับ ไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ
เมื่อหลวงปู่สุภามีอายุได้ ๙ ขวบ บิดามารดาได้นำท่านบวชเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์สอน เป็นพระอุปัชฌาย์ สามเณรสุภาได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์สอน เป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นท่านได้เดินทางไปเรียนมูลกัจจายน์ที่วัดไพรใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอาจารย์มหาหล้า และฆราวาสชื่อ อาจารย์ลุย เป็นผู้สอน สามเณรสุภาได้ใช้เวลาศึกษามูลกัจจายน์อยู่ที่วัดไพรใหญ่ เป็นเวลาหลายปี เมื่อเรียนจบแล้วได้กราบลาอาจารย์เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม จึงได้ออกเดินทางมานมัสการ หลวงปู่สีทัตต์ ที่วัดท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลวงปู่สีทัตต์ ท่านเป็นพระป่า มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และทรงวิทยาคม ทางด้านคาถาอาคมไสยเวท ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาอาคมด้านต่างๆ มาจากสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สมเด็จลุน ท่านเป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสาน แถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านทั้งสิ้น สมเด็จลุนท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย เหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สมเด็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงด้วยเท้าเปล่า และบางครั้งท่านจะไปนั่งสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของท่าน และในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จลุน หลวงปู่สีทัตต์ หลวงปู่สุภาท่านถือเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคม จากสมเด็จลุนจนหมดสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ลูกไม้จะหล่นไกลต้น
เมื่อสามเณรสุภา ได้กราบนมัสการหลวงปู่สีทัตต์แล้ว ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่สีทัตต์ได้รับสามเณรสุภาเป็นศิษย์ด้วยความยินดี นับว่าหลวงปู่สีทัตต์เป็นพระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานองค์แรก ของสามเณรสุภา สามเณรสุภาได้เริ่มฝึกรรมฐาน และออกธุดงค์กับหลวงปู่สีทัตต์ ซึ่งท่านได้พาสามเณรสุภาธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว หลวงปู่สีทัตต์ได้พาไปที่ถ้ำภูเขาควาย เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีความสวยงามน่าอยู่ ในถ้ำแห่งนี้มีพระสงฆ์ไปปฏิบัติธรรมรวมกันมาก ถ้ำภูเขาควายเปรียบเสมือนถ้ำสำนักตักศิลา ที่มีพระสงฆ์ลาวและไทย ไปจำพรรษาและแลกเปลี่ยนวิชาอาคม หนทางที่จะไปถ้ำถูเขาควายลำบากมาก เต็มไปด้วยสิ่งเร้นลับ พระธุดงค์ที่เดินทางไปถ้ำภูเขาควาย ถ้ามีวิชาอาคมไม่แก่กล้าพอ มักจะเอาชีวิตไปทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก
สามเณรสุภา ได้ติดตามหลวงปู่สีทัตต์ไปธุดงค์จนอายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ.๒๔๕๙ หลวงปู่สีทัตต์จึงได้อุปสมบทให้สามเณรสุภา ภายในถ้ำภูเขาควาย โดยมีหลวงปู่สีทัตต์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเถระที่ไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดถ้ำภูเขาควายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “กนฺตสีโล”
หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่สุภา ได้อยู่ปฏิบัติธรรมต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากนั้นได้ติดตามหลวงปู่สีทัตต์กลับมาจำพรรษาที่ วัดท่าอุเทน เพื่อดำเนินการก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน เมื่อมีเวลาว่างท่านจะพา หลวงปู่สุภา และลูกศิษย์ออกธุดงค์แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดท่าอุเทน จนกระทั่งสร้างพระธาตุท่าอุเทนเสร็จเรียบร้อย
หลวงปู่สุภา ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงปู่สีทัตต์ เป็นเวลานานถึง ๘ ปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ หลวงปู่สุภา ได้กราบลา หลวงปู่สีทัตต์ เพื่อเดินทางธุดงค์วัตร และออกจากถ้ำภูเขาควาย เดินทางกลับตามที่หลวงปู่สีทัตต์ แนะนำ และ หลวงปู่สีทัตต์ ท่านยังได้บอกว่าท่านจะได้พบกับอาจารย์ที่เก่งมากองค์หนึ่ง
หลวงปู่สุภา ออกเดินทางไปตามเส้นทางที่ หลวงปู่สีทัตต์ แนะนำ เมื่อถึงจังหวัดหนองคายก็ออกธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ท่านได้สอบถามพระเกจิอาจารย์ ที่เก่งทางด้านวิปัสสนากรรมฐานด้านพุทธาคม มีคนเล่าลือว่า อาจารย์ศุข (หลวงปู่ศุข) อยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ท่านจึงได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ จนมาถึงอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เมื่อมาถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านได้คลานเข้าไปกราบหลวงปู่ศุข ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่ศุข ท่านทราบแล้วว่า จะมีพระภิกษุมาจากประเทศลาว หลวงปู่ศุขจึงถามท่านว่ามาจากประเทศลาวใช่หรือไม่ ท่านจึงตอบและกราบเรียน หลวงปู่ศุข ว่า ท่านมีความประสงค์ที่จะมาศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคม หลวงปู่ศุข จึงรับไว้เป็นศิษย์ หลวงปู่สุภา ได้ศึกษาวิชาต่างๆ จาก หลวงปู่ศุข เป็นเวลา ๓ ปี หลวงปู่ศุข ได้ถ่ายทอดวิชาด้วยความเมตตาต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ถึงแม้ หลวงปู่สุภา จะบวชเป็นพระภิกษุนานถึง ๔ พรรษาแล้วก็ตาม แต่ หลวงปู่ศุข ก็ยังเรียกท่านว่า “เณรน้อย” ในขณะที่ หลวงปู่สุภา ได้มอบตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ศุข ท่านมีอายุมากแล้ว แต่ท่านยังปฏิบัติธรรม และนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ ทุกวัน
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #7 เมื่อ:
04 กันยายน 2013, 22:31:49 »
หลวงปู่สุภา ให้ความเคารพนับถือ หลวงปู่ศุข เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ศุขจึงนับเป็นพระอาจารย์องค์ที่สองของท่าน ต่อจาก หลวงปู่สีทัตต์
ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาคม หลวงปู่ศุข ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ ให้กับหลวงปู่สุภา เมื่อหลวงปู่ศุขนั่งกรรมฐาน หลวงปู่สุภา ท่านก็นั่งด้วย หากติดขัดปัญหาธรรม ก็ไปกราบเรียนถามท่าน ก็เมตตาแนะนำให้ทุกครั้ง ท่านจะปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้ลูกศิษย์ศึกษาทำความเข้าใจ หลวงปู่สุภา ท่านค่อยๆ ศึกษาดูว่า หลวงปู่ศุข ทำอย่างไร ในเวลาที่ท่านปลุกเสกวัตถุมงคลก็ไปคอยสังเกต พระคาถาต่างๆ หลวงปู่ศุข ก็สอนให้บ้าง จดจำเองบ้าง และไปขอท่านบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีลูกศิษย์คนใดจะปฏิบัติจนบรรลุได้เหมือน หลวงปู่ศุข บางครั้งเวลาลงยันต์ทำตระกุด ต้องลงไปทำในใต้น้ำไม่มีใครเห็น จะเห็นก็ต่อเมื่อตอนท่านขึ้นจากน้ำแล้ว
หลวงปู่สุภา ท่านศึกษาวิทยาคม จากการอ่านตำราที่ท่านจดเขียนไว้บ้าง ดูจากกรรมวิธีที่ หลวงปู่ศุข ทำให้ดูบ้าง เรียนถามท่านบ้างท่านก็แนะนำให้พอสมควร ใครสนใจมากก็ได้มาก ใครไม่สนใจก็ไม่ได้เลย แต่ส่วนใหญ่ หลวงปู่ศุข ท่านจะเน้นเรื่องการรักษาศีล และการกฏิบัติมากกว่า เพราะท่านสอนว่า ถ้าศีลบริสุทธิ์ คุณวิเศษจะมีมาเอง หลวงปู่สุภา ได้ศึกษาธรรม และวิทยาคมต่างๆ มากมายโดยเฉพาะความรู้ในทางธรรม และวิทยาคมต่างๆ ในครั้งนั้นมีพระภิกษุไปปฏิบัติธรรม และเรียนวิชาอยู่กับหลวงปู่ศุข ด้วยกันหลายสิบรูป ซึ่งปัจจุบันมรณภาพกันไปหมดแล้ว
หลวงปู่สุภาทำหน้าที่คอยอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขจนได้เวลาอันสมควร หลวงปู่ศุขจึงได้เรียกให้หลวงปู่สุภามาพบ และได้บอกว่า เณรน้อยได้เรียนมาพอสมควรแล้ว วิชาที่เรียนไปก็พอจะช่วยเหลือคนได้ เณรน้อยทิ้งธุดงควัตรมานานแล้ว เณรเหมาะกับธุดงค์ เณรชอบของเณรอย่างนั้น ปู่เองก็เคยเป็นนักธุดงค์ แต่เมื่อโยมแม่ขอให้อยู่ใกล้ชิด ก็เลยแขวนกลดแต่นั้นมา เณรน้อยเตรียมตัวให้พร้อม ปู่จะสอนวิชาที่ไม่เคยมีผู้ใดได้เล่าเรียนมาก่อน และวาสนาบารมีของเณรน้อยเรียนวิชานี้ได้
สุดยอดเคล็ดวิชา สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลังจากที่หลวงปู่ศุขปรารภให้หลวงปู่สุภากลับสู่เส้นทางธุดงค์ โดยได้กำหนดวันเดินทางไว้แล้ว แต่ก่อนการเดินทางเพียงสองวัน หลวงปู่ศุขได้ให้หลวงปู่สุภาเตรียมตัวเรียนวิชาที่เป็นสุดยอดเคล็ดวิชาที่ท่านบอกว่า หลวงปู่สุภาจะเป็นคนแรกและคนสุดท้าย ด้วยหาผู้มีวาสนาบารมีจะเรียนได้ยากเต็มที ดอกไม้ธูปเทียน หมากพลูบุหรี่ ถูกลูกศิษย์หลวงปู่ศุขเตรียมไว้ให้หลวงปู่สุภาเรียบร้อย เพื่อเป็นเครื่องบูชาครูกับหลวงปู่ศุข หลวงปู่ได้นำไปไว้บนที่บูชาพระ และบอกกับหลวงปู่สุภาให้รอเวลาตอนสงัดคน จะสอนเคล็ดวิชาให้จนหมด พร้อมกับมอบตำราให้ไปติดตัว วิชานี้เรียกว่า “แมงมุมมหาลาภ” ต่อไปเณรน้อยจะต้องสงเคราะห์ผู้คนอีกมาก ความจน ความขัดข้อง การทำมาหากินฝืดเคือง เป็นทุกข์อย่างยิ่งสำหรับฆราวาส นี่คือสิ่งที่จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ทางโลก
ทำไมจึงต้องเป็นแมงมุม มีเรื่องราวที่เณรน้อยควรจะรู้ไว้เป็นเครื่องประเทืองปัญญา เณรน้อยเคยเห็นแมงมุมตัวไหนอดอยากปากแห้ง ตายคาใยที่มันขึงไว้ดักอาหารหรือไม่ แมงมุมเป็นสัตว์ขยันและสะอาด แมงมุมไม่ออกล่าเหยื่อในที่ต่าง ๆ เหมือนสัตว์ทั่วไป แต่แมงมุมจะชักใยสร้างเป็นอาณาเขตเอาไว้เพื่อดักแมลง ใยแมงมุมของแมงมุม กว่าจะได้ต้องมีความมานะพยายามอย่างยิ่ง ที่ว่าแมงมุมเป็นสัตว์สะอาดก็คือ มันจะไม่ออกไล่ล่าเหยื่อนอกเขตใยของมัน มันจะไม่ไล่แมลงตกใจบินหรือคลานมาติดที่ใยของมัน แต่มันจะรออยู่กับที่ รอให้เหยื่อเข้ามาติดใยของมัน มันจึงออกมาพันซ้ำด้วยใย และจับกิน พูดให้ฟังง่าย ๆ ก็คือ แมงมุมจะกินสัตว์ที่ถึงฆาต หรือถึงแก่วาระหมดชีวิต ถือว่าหลงเข้ามาในใยที่ดักไว้ คือแมลงที่หมดเวลาอยู่บนโลกนี้ ถือว่าหมดเวลา ถึงที่ตายแล้ว จึงมาติดใย ไม่ต้องออกล่าเหยื่อ ก็มีแมลงหลงเข้ามาให้กิน จนเจ้าแมงมุมหมดบุญคือตายจากโลกตามเวลาสมควร
เมื่อถึงเวลาที่จะออกเดินทาง หลวงปู่สุภาก็มากราบนมัสการลาหลวงปู่ศุข ซึ่งอวยชัยให้พรและประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล แล้วหลวงปู่ศุขก็กล่าวว่า
“ไม่ไปส่งเณรน้อยละนะ ไปตามทางที่เณรน้อยมา ต่อไปเราจะไม่ได้พบกันอีก นี่เป็นครั้งสุดท้ายที่แจะได้พบกับเณรน้อย อายุของปู่ใกล้จะแตกดับแล้ว รู้สึกยินดีที่ได้รับเณรน้อยไว้เป็นศิษย์ในภายภาคหน้า เณรน้อยคือผู้สืบทอดตำราของปู่ในด้านแมงมุมคนแรกและคนเดียว หากเณรน้อยไม่ประสิทธิ์ประสาทต่อไปก็จะสิ้นสุดลงในมือของเณรน้อยนั่นเอง”
เมื่อถึงตอนนี้ หลวงปูสุภาต้องหยุดเล่าเรื่อง เหมือนกับว่า ท่านจะระลึกถึงหลวงปู่ศุข พระอาจารย์ของท่าน แล้วรู้สึกตื้นตันใจ จนต้องหยุดรำลึกถึงความปีติ ท่านได้เล่าต่อไปว่า
“เกือบลืมไป ยังมีวิชาอีกอย่างหนึ่งที่ใช้คู่กับแมงมุม คือ การลงอักขระบนผืนผ้า ท่านเรียกว่า ‘ยันต์รับทรัพย์’ ผ้ายันต์รับทรัพย์ที่ลงอักขระแล้วปลุกเสก จะเหมือนการปูผ้าไว้รอรับเงินที่จะมีผู้มากองให้ บูชาติดตัวเป็นมหานิยม อยู่ในร้านค้าก็เรียกลูกค้า ใช้ติดกับคันธง ปักไว้ให้ชายปลิวไปตามลม ปลายธงสะยัดไปทางไหน ก็มีผู้คนแห่ไปทางนั้น ทำมาค้าขายก็รับทรัพย์เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี”
การที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้พูดว่าจะพบกันเป็นครั้งสุดท้าย ก็เป็นจริง เพราะหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงปู่สุภา อยู่ระหว่างการออกธุดงค์ และมารู้ข่าวก็เมื่อมีการพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ศุขไปแล้ว
เส้นทางสู่โลกที่สาม
เมื่อกลับมาจากเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข หลวงปู่สุภาได้กลับเข้าสู่การออกธุดงค์อีกครั้งโดยรับบริขารธุดงค์ที่เคยฝากไว้ เพื่อกลับสู่เส้นทางของการแสวงหาความวิเวก ท่านได้เดินทางไปทางภาคเหนือ และข้ามชายแดนสู่ประเทศพม่า ว่าจะไปนมัสการเจดีย์ชะเวดากองและพระมุเตาในหงสาวดี แต่ท่านก็มิได้ไปด้วย ท่านตัดทางเข้าสู่ป่าทึบ และได้พบกับพระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่าที่ปลีกวิเวกไปแสวงหาความสงบบนถ้ำ เทือกเขาลึก
หลวงปู่สุภาดั้นด้นไปจนพบที่จำศีลภาวนาของพระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระชาวพม่า ได้พบว่าเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่การบูชา ทว่าการสอนวิปัสสนาผิดแผกแตกต่างไปจากของทางฝ่ายไทย ซึ่งสอนเป็นแบบที่เรียกว่า กำหนดหนอ คือจิตอยู่ อิริยาบถ ๔ หรือที่ไทยเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ คือ นั่ง ยืน เดิน นอน ซ้ายหนอ ขวาหนอ เข้าหนอ ออกหนอ ซึ่งเมื่อหลวงปู่สุภาเข้าเรียนตามแบบที่พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่าสอนก็รู้สึกได้ว่า “ไม่ถูกกับอัธยาศัย” เรียกว่าไม่สามารถเล่าเรียนได้ เพราะขัดกับรากฐานทางกรรมฐานที่ได้เล่าเรียนมาจากพระวิปัสสนาจารย์ทางฝั่งไทย จึงได้กราบนมัสการลาพระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่า แล้วออกแสวงหาความวิเวกไปตามลำพัง ตามป่าเขาลำเนาไพรในพม่า ได้ผจญภัยนานัปการ จนท่านพูดได้ว่า เป็นธุดงค์ที่ตื่นเต้นและเสี่ยงที่สุดตั้งแต่เดินทางธุดงค์เดี่ยวมาเป็นเวลาพอสมควร
ระหว่างที่ธุดงค์อยู่ในพม่า ได้พบกับพระธุดงค์ไทยหลายรูป บางรูปบอกว่าท่านจะธุดงค์ออกจากพม่าไปอินเดีย เพื่อไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง จึงจะกลับ ท่านจึงครุ่นคิดว่า การธุดงค์มาประเทศพม่า ถือเป็นประเทศที่ ๒ หากเดินทางต่อไปยังอินเดีย ก็เป็นโลกที่ ๓ และเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาเสียด้วย อย่ากระนั้นเลย หาวัดจำพรรษาเสียก่อน พอออกพรรษาแล้วค่อยแบกกลดธุดงค์สู่โลกที่ ๓ ต่อไป เพราะท่านชอบการเดินธุดงค์เป็นชีวิตจิตใจ จนกล่าวได้ว่า เข้าไปในสายเลือดเลยทีเดียว เส้นทางสู่โลกที่สามยาวไกล แจะสิ้นสุดตรงไหนก็แล้วแต่ว่า หลวงปู่สุภาจะหยุดลงด้วยตัวของท่านเอง ออกพรรษา เวลาแห่งการจาริกสู่โลกที่สาม เริ่มขึ้นแล้ว ณ บัดนี้
ท่องไปในโลกกว้าง
ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สุภาเตรียมบริขารธุดงค์ออกจากป่ามายังเมืองท่าในพม่า ซื้อตั๋วเรือเดินทะเลเพื่อออกจากพม่าไปยังดินแดนอันเป็นพุทธภูมิ คือ ประเทศอินเดีย ท่านต้องรอนแรมอยู่ในทะเล ผจญคลื่นทะเลอยู่ ๑ เดือน ๒๕ วัน เรือจึงจอดเทียบท่าที่ประเทศอินเดีย เมื่อลงจากเรือ ก็ธุดงค์ต่อไปเรื่อย ๆ ผจญความยากลำบากแสนเข็ญ เพราะคนอินเดียส่วนใหญ่เป็นฮินดู ที่เป็นพุทธอยู่น้อย ก็ต้องแสวงหาสัปปายะด้วยความยากลำบาก ได้ฉันบ้าง อดบ้างไปตามแกน แต่ดีที่ท่านไม่เจ็บป่วยถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จึงทำให้ท่านสามารถผ่านเส้นทางอันทุรกันดารไปได้จนตลอดรอดฝั่งในที่สุด
จากดินแดนอันแผดเผาด้วยเปลวแดด สู่ดินแดนอันเหน็บหนาวของหิมพานต์ที่ชาวอินดูเชื่อว่า เป็นที่สถิตของจอมเทพ ผู้มีพระนามว่า “องค์ศิวะมหาเทพ” ซึ่งในประเทศไทยเรียกว่า “พระอิศวร” ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของมหาเทพของฮินดู ภูเขาหิมาลัยสูงเสียดฟ้า ยอดปกคลุมด้วยหิมะตลอดปี ตลอดชาติ เป็นแหล่งรวมของฤๅษีจากทั่วสารทิศ จะมาชุมนุมกันที่นี้ เรียกกันว่า “เมืองฤๅษีเกษ” อยู่ชานภูเขาหิมาลัย เมืองนี้เป็นเมืองของฤๅษีที่ล้วนมีฤทธิ์อย่างถึงที่สุดของอำนาจต่าง ๆ เป็นนานาประการ ความหนาวเหน็บ ทำให้หลวงปู่สุภาได้รับทุกขเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ต้องอาศัยเตโชกสิณในการช่วยสร้างความอบอุ่น เวลาออกบิณฑบาต ก็ต้องเดินทางระยะไกล กว่าจะเจอบ้านที่มีอัธยาศัยในการทำทาน ก็ต้องเดินกันกว่า ๘ กิโลเมตร ฝ่าความหนาวไปบิณฑบาตเพียง ๓ วันครั้ง บางครั้งถึง ๗ วัน แต่ท่านก็อดทน
สามปีในแดนพุทธภูมิ ท่านได้แวะนมัสการสังเวชนียสถาน จนพบกับอาจารย์วงศ์ ได้พูดคุยกันในเรื่องธรรมะและวิชาอาคม ในที่สุดท่านก็บอกว่า ท่านอยู่ในอัฟกานิสถาน (ตอนยังไม่มีสงครามกลางเมือง) อยู่กับพวกศาสนิกชนที่นั่น ให้ตามไปแลกเปลี่ยนความรู้กันที่นั่น ท่านจึงเดินทางผ่านช่องแคบไคเบอร์ เข้าสู่อัฟกานิสถาน จนพบพระอาจารย์วงศ์ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กันพอสมควร จึงเดินทางผ่านช่องแคบไคเบอร์กลับอินเดีย และเดินทางต่อไปที่ประเทศจีน ตามเส้นทางสำคัญจากอินเดียด้วย ท่านได้รู้จากพุทธศาสนิกชนชาวจีนท่านหนึ่งที่มีรกรากเดิมอยู่ปักกิ่ง เขาบอกกับท่านว่า
“ที่ซิมซัวเป็นภูเขาสูง เป็นที่อยู่ของอาจารย์ตัน ฮกเหลียง พระอาจารย์รูปนี้เชี่ยวชาญในการเดินลมปราณรักษาโรค เพื่อกำหนดจิตใจ การเข้าฌานชั้นสูง หากต้องการศึกษาต้องไปที่นั่น”
เหมือนถูกท้าทาย หลวงปู่สุภาจึงได้ธุดงค์ข้ามจีน ไปจนถึงปักกิ่ง ได้ค้นหาซิมซัวจนพบ และขึ้นไปหาอาจารย์ตัน ฮกเหลียง เพื่อขอเรียนวิชาลมปราณ ท่านอาจารย์ตัน ฮกเหลียง ได้เมตตาสอนให้ทั้งที่สังขารของท่านไม่สมบูรณ์นัก พอจบหลักสูตรท่านอาจารย์ตัน ฮกเหลียงก็ถึงแก่กรรม รวมเวลาการเรียนได้ ๓ เดือนเต็ม จากปักกิ่ง ท่านได้เดินทางรอนแรมไปจนถึงยุโรป ได้ไปอยู่ที่มหานครปารีสระยะหนึ่ง และเดินทางข้างไปฝั่งยุโรปตะวันออกหลายประเทศ เป็นการหาประสบการณ์ในโลกใบใหม่ที่สมณะอย่างท่านต้องการจะเรียนรู้ ท่านย้ำว่า
“ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ธุดงควัตรของท่านไม่เคยบกพร่อง บิณฑบาตทานสัปปายะจนได้ ไม่เคยละเว้นแม้แต่ครั้งเดียว เพราะถือว่านั่นคือกฎระเบียบและหัวใจของพระธุดงค์”
จากยุโรปตะวันออก ท่านกลับทางเส้นทางเดิม ผ่านจีน ผ่านอินเดีย ผ่านพม่า เข้าไทยทางภาคเหนือ แล้วตัดเข้าสู่อีสาน โดยข้ามจากเขตประเทศลาวเข้าสู่ดินแดนไทยทางด้าน อ.เดชอุดม จ. อุบลราชธานี ต่อมา ท่านได้ยินว่า ในประเทศเวียดนามมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของเอเซีย เป็นหมอยาที่มีชื่อเสียงมาก หลวงปู่สุภาจึงธุดงค์เข้าไปเวียดนาม ไปเล่าเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณจนสำเร็จ
หลวงปู่สุภาได้วิชาของแต่ละสำนักมาเพิ่มเติมจนมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เป็นศิษย์ที่มีครูบาอาจารย์และมีวิชาอาคมสาขาต่าง ๆ เป็นอันมาก แม้แต่เคยดั้นด้นไปขอเรียนวิชาปรอทสำเร็จจาก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แต่มีเหตุให้ไม่ได้เรียน โดยหลวงพ่อปานได้ออกจากที่นัดหมาย และเขียนบอกไว้ว่า อย่าตามไป เพราะกันดารและวาสนาที่เรียนนั้นไม่มี แม้แต่หลวงพ่อโอภาสี หลวงปู่สุภาก็เคยพบปะสนทนาธรรมและแลกเปลี่ยนวิชาความรู้มาแล้วอย่างโชกโชน
ไม่ว่าจะธุดงค์ไปที่ใดในประเทศไทย หลวงปู่จะสร้างความเจริญไว้เสมอ เช่นสร้างวัด สร้างศาลาการเปรียญ สร้างสำนักสงฆ์ สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ในถิ่นทุรกันดาร ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสาธุชน หลายครั้งหลายหนที่มีผู้คนศรัทธาเหนี่ยวรั้งให้ท่านหยุดธุดงค์มาปักหลักเป็นเจ้าอาวาสวัด ให้พวกเขา เป็นที่พึ่งทางใจ แต่หลวงปู่เปรียบเสมือนโคถึกที่เคยเที่ยวอยู่ในเถื่อนถ้ำเขาลำเนาไพร ย่อมไม่ยินดีในการที่จะถูกกักขังไว้ในล้อมคอกอันคับแคบและอึดอัด ท่านแบกกลดธุดงค์จากมา ท่ามกลางน้ำตาอาลัย ชีวิตของท่านคุ้นเคยกับเปลวแดด การจำวัดกลางดิน ฉันกลางทราย แสวงหาความวิเวกในป่า เจริญภาวนาหลีกเร้นจากผู้คน การที่จะต้องมานั่งจำเจ มาคลุกคลีกับผู้คน ย่อมไม่ถูกกับอัธยาศัยของท่าน จึงไม่มีผู้ใดสามารถทัดทานให้ท่านได้หยุดการออกธุดงค์แล้วแขวนกลด ท่านเคยบอกว่า หากว่าสังขารของท่านยังอำนวยให้การเดินธุดงค์แล้ว ท่านจะไม่หยุดธุดงค์เป็นเด็ดขาด
หลวงปู่สุภาจากบ้านเกิดไปตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ และเป็นพุทธบุตรที่เดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรมาตลอด เมื่อมีโอกาสจึงระลึกถึงบ้านเกิดที่ อ.วาริชภูมิ โดยปรารภว่า บัดนี้ญาติของเราทั้งฝ่ายบิดาและมารดาไม่เคยได้พบเห็นเราในสภาพของพระภิกษุ เพราะตั้งแต่บวชแล้วก็ออกธุดงค์มาโดยตลอด หากไม่กลับไปโปรดญาติโยมและเคารพอัฐิของโยมบิดามารดาแล้ว ก็จะผิดวิสัยบุตรอันมีกตัญญูกตเวที ท่านจึงยุติการธุดงค์ลงชั่วคราว เพื่อเดินทางกลับบ้านเกิดที่ อ. วาริชภูมิ เพื่อโปรดญาติโยมของท่าน
หลวงปู่สุภาอริยสงฆ์ห้าแผ่นดิน
หลวงปู่สุภาเมื่อเป็นพระป่านั้น ท่านวิเวกรอนแรมอยู่ในป่าดงดิบดำอยู่ตลอดเวลา เพราะจิตของท่านต้องการจะแสวงวิเวก ไม่ต้องการข้องแวะกับโลกภายนอก วันเวลาล่วงเลยไป ท่านไม่ได้ยึดติดหรือต้องการจะรับรู้ความเปลี่ยนแปลงของโลก พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นผู้ล้าสมัย หรือ ถอยหลังกลับไปจากความเจริญ แต่ในด้านการไปสู่มรรคผลนิพพานแล้ว หลวงปู่ก้าวหน้าไปอย่างยิ่ง ซึ่งหากท่านผู้อ่านได้ติดตามประวัติของหลวงปู่สุภาตั้งแต่ต้น จะพบว่าท่านอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างมอบกายถวายวิญญาณกันเลยทีเดียว
มรณภาพ
หลวงปู่สุภา นับเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติอยู่ในความเพียร ความวิริยะ อุตสาหะ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมไม่เคยย่อท้อในชีวิตของท่าน มีแต่คำว่าให้และสร้างทุกอย่างสำเร็จ ด้วยเมตตาบารมีธรรมของท่าน เมื่อช่วงก่อนเข้าพรรษาในปีนี้หลวงปู่สุภา ได้เข้ามาทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงได้เข้าจำพรรษาอยู่ ณ วัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร และเมื่อเช้าตรู่นี้เองหลวงปู่สุภา กันตสีโล ได้ละสังขารลงเมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ นาฬิกาตรงกับแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๙ วันจันทร์ที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ด้วยอาการสงบ ณ กุฏิภายในวัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร สิริอายุรวม ๑๑๗ ปี ๑๑ เดือน ๑๕ วัน ท่านอยู่ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์นับตั้งแต่สามเณรจนถึงมรณกาลเป็นระยะเวลา ๑๐๙ ปี นับรวมพรรษาที่ท่านบวชเป็นพระภิกษุในพรรษานี้เป็นพรรษาที่ ๙๗ นับเป็นเรื่องยากที่จะมีพระภิกษุในบวรพุทธศาสนายุคใดยุคหนึ่งที่จะมีอายุวัฒนมงคลยั่งยืนมาได้ยาวนานเหมือนหลวงปู่สุภานี้ ในส่วนของพิธีบำเพ็ญกุศล หากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม จะแจ้งให้ทราบภายหลังครับ
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
ลูกกราบขอขมาหลวงปู่สุภา กันตสีโล หากมีสิ่งใดใดที่ลูกหลานเคยประมาทพลาดพลั้งไป
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ด้วยความขาดสติรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งในอดีต ทั้งในปัจจุบัน หรือในอนาคตก็ดี
ขอหลวงปู่สุภา โปรดอโหสิกรรม และงดโทษล่วงเกินนั้น ให้แก่ลูกหลานด้วยเทอญ
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
«
ตอบกลับ #8 เมื่อ:
07 กันยายน 2013, 02:19:00 »
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล
วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ละสังขารแล้ว
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารทั่วไป
»
ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์
»
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ละสังขารแล้ว
Tweet