ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
วิทยุสื่อสารและดวงดาวบนท้องฟ้า
(ผู้ดูแล:
hs4awf
) »
"นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator"
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: "นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator" (อ่าน 10998 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
E20ZSY- สระบุรี
Hero Member
กระทู้: 3312
AMATEUR RADIO ASSOCIATION OF SARABURI
"นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator"
«
เมื่อ:
09 เมษายน 2012, 00:24:56 »
"
นักวิทยุสมัครเล่น
" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "
amateur radio operator
" หมายถึง
บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น
จากรัฐบาลหรือจากผู้ที่มีอำนาจของแต่ละประเทศ นักวิทยุสมัครเล่นจะใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในสถานีของ
นักวิทยุสมัครเล่นสำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตเช่นเดียวกัน รวมทั้งใช้ความถี่ที่กำหนดให้เฉพาะกิจการวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งการใช้งานจะต้องเป็นตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขาน เพื่อระบุตัวตนในการติดต่อสื่อสาร ปัจจุบันมีนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกประมาณ 3 ล้านคน
..นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า "
ham
" สำหรับที่มาของคำว่า "
ham
" นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด และนักวิทยุสมัครเล่นมักจะเรียกหรือกล่าวถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตหรือออกนอกวงการไปแล้วว่า "
silent key
"
คุณลักษณะทั่วไปของนักวิทยุสมัครเล่น
..มีไม่กี่ประเทศที่ได้บันทึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักวิทยุสมัครเล่นไว้ นอกจากจำนวนของนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเป็นนักวิทยุสมัครเล่น คือ เยเมน และ เกาหลีเหนือ ในบางประเทศก็เป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับอนุญาตเนื่องจากค่าใบอนุญาตที่สูงมาก ในบางประเทศก็อนุญาตให้ชาวต่างชาติด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับอนุญาตในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นไทย
๑. วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๐๗ จัดตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะขอเปิดกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย หน่วยงานรับผิดชอบเรื่องความมั่นคง ไม่ยอมรับ ติดขัดเรื่องการกำกับดูแล การใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และการรับส่งข่าวสาร
๒. วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร โดยมีผู้บริหารของกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นกรรมการชมรม โดยก่อนหน้านั้นได้เปิดจดทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคม ที่แอบลักลอบ มีใช้กันผิดกฎหมาย เปิดสอบให้เจ้าของเครื่องและผู้สนใจ สอบเพื่อรับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
๓. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับสัญญาณเรียกขานทั้งหมด ๓๑๒ ได้รับสัญญาณเรียกขาน VR ตามด้วยตัวเลข ๓-๔ ตัว พร้อมทั้งส่งสอบประวัติ ตำรวจสันติบาล และ สำนัก
๔. วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๔ เปิดศูนย์ควบคุมข่าย สายลม ให้ใช้ความถี่ได้ ๓ ความถี่ ๑๔๔.๕๐๐ ๑๔๔.๖๐๐ และ ๑๔๔.๗๐๐ MHz ต่อมาเมื่อมีนักวิทยุมากขึ้นเปิด ๑๔๕.๐๐๐ MHz เป็นช่องเรียกขานและแจ้งเหตุ
๕. ได้มีความพยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และอนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย อย่างถูกต้อง เช่น
-รายงานข่าวจราจรต่อมาแนวคิดนี้ได้พัฒนาเป็น จส ๑๐๐ รายงานข่าวจราจร
-แรกเปลี่ยนข่าวตำรวจนครบาล ๑๙๑
-สายตรวจร่วมตำรวจ ๑๙๑ กับนักวิทยุอาสาสมัคร
- ช่วยประสานงานแข่งขันกีฬาระดับ จังหวัด ระดับชาติ
- ช่วยประสานงานเทศการต่าง ๆ
...ลักษณะพิเศษของนักวิทยุสมัครเล่นไทยหรือคนไทยส่วนใหญ่ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ช่วยผู้ประสบภัย อยากเห็นสังคมไทยอยู่อย่างมีความสุข มีจิตใจที่เป็นอาสาสมัคร มีใจโอบอ้อมอารี เป็นมิตร
บทบาททางด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้เกิดการผลิตอุปกรณ์วิทยุคมนาคมขึ้นใช้เอง ประหยัดเงินตราที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ คนไทยได้ใช้ของถูกการส่งเสริมธุรกิจการค้าขายเครื่องวิทยุคมนาคมสมัครเล่น ทำให้มีอาชีพในการติดตั้งเสาสายอากาศก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐ ด้านการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมต่าง ๆ
บทบาทด้านสังคม ผลดีต่อนักวิทยุสมัครเล่น (๑) พัฒนาตนเอง โดยการแรกเปลี่ยนเรียนรู้ (๒) ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นงานอดิเรกทางวิทยาศาสตร์ ผลดีต่อสังคม (๑) การพัฒนทรัพยากรมนุษย์ (๒) การสาธารณสุข (๓) การสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม (๔) การแจ้งเหตุสาธารณะ ผลดีต่อมวลมนุษย์ชาติ เสริมสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน ส่งเสริมให้เกิดสันติสุขในสังคม
ประเทศ
จำนวนนักวิทยุสมัครเล่น
ปี ค.ศ.
ญี่ปุ่น 1,296,059 1999
สหรัฐอเมริกา 679,864 2000
ไทย 176,278. 2006
เกาหลีใต้ 141,000 2000
บัญญัติ
10
ประการของนักวิทยุสมัครเล่น
1.สมัครใจอาสา
2.มีเวลาให้มาร่วม
3.เรื่องส่วนรวมต้องเป็นหลัก
4.ใจภักดิ์รักวงการ
5.หาจหาญเสียสละ
6.ลดละเรื่องการเมือง
7.งดเรื่องธุรกิจ
8.ผูกมิตรกับทุกฝ่าย
9.เลิกมุ่งหมายในทิฐิ
10.มุ่งดำริแนวสร้งสรรค์
บันทึกการเข้า
"การลงมือทำ ดีกว่าคำพูดที่สวยหรู" 145.150 / 145.4125 ..พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกระหรีปัี๊บ นมดี ประเพณีดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง..
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 449168
Re: "นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator"
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
09 เมษายน 2012, 00:35:44 »
ขอขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
วิทยุสื่อสารและดวงดาวบนท้องฟ้า
(ผู้ดูแล:
hs4awf
) »
"นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator"
Tweet