ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
วิทยุสื่อสารและดวงดาวบนท้องฟ้า
(ผู้ดูแล:
hs4awf
) »
ประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย (อ่าน 2673 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
E20ZSY- สระบุรี
Hero Member
กระทู้: 3312
AMATEUR RADIO ASSOCIATION OF SARABURI
ประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย
«
เมื่อ:
04 สิงหาคม 2012, 11:38:05 »
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้เริ่มด้วยกลุ่มผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น รวมตัวก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507และได้พยายามขออนุญาต มีและใช้เครื่องวิทยุโทรคมนาคม สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติยังไม่มั่นใจว่า กิจการวิทยุสมัครเล่นจะได้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และการควบคุมจะทำได้เพียงใด เพื่อเป็นการส่งสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกทางหนึ่ง กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้มีโครงการทดลองให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น ในรูปของ นักวิทยุอาสาสมัคร หรือ VR ขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปิดข่ายวิทยุอาสามัครขึ้นโดยจัดตั้งเป็นชมรมนักวิทยุอาสาสมัคร มีผู้อำนวยการกองต่าง ๆ สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นคณะกรรมการชมรมฯ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นประธานชมรมฯ ผู้ที่จะเป็นสมาชิกจะต้องได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น และต้องผ่านการสอบประวัติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติและจากกรมตำรวจ ว่าไม่เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วกรมไปรษณีย์โทรเลขจะออกใบอนุญาตมีและใช้ เครื่องวิทยุโทรคมนาคมและอนุญาตให้เป็นนักวิทยุอาสาสมัครหรือ VR โดยการกำหนดสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ให้สัญญาณเรียกขานที่กำหนดขึ้น จะขึ้นต้นด้วย VR และตามด้วยตัวเลขจาก VR001 ไปตามลำดับก่อนหลัง เพื่อให้การกำกับดูแลการใช้วิทยุคมนาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม" ขึ้นที่บริเวณภายในกรมไปรษณีย์โทรเลขและอนุญาตให้ใช้ความถี่ได้เพียง 3 ช่องคือ 144.500 - 144.600 และ 144.700 MHz.
ในการเปิดสอบรุ่นแรกมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จำนวน 312 คน การใช้ช่องความถี่ในการติดต่อสื่อสารเริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุโดยศูนย์สายลมทำหน้าที่ประสานงานให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ โดยนักวิทยุสมัครเล่นทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำความผิด ก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้วจะทำหน้าที่กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้น ให้เป็นไปตามหลักการของการส่งข่าวที่ถูกต้องก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป ในทางกลับกันเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการให้นักวิทยุสมัครเล่นช่วยสังเกตผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น คดีรถหายหรือคดีชนแล้วหนีตำรวจแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เพื่อกระจายข่าว ให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ช่วยสังเกตและติดตามเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการสายตรวจร่วมระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ใช้เครื่องวิทยุ
และความถี่วิทยุในย่านของกิจการวิทยุสมัครเล่น ในการติดต่อประสานงานและใช้ยานพาหนะของนักวิทยุสมัครเล่นออกตรวจตามถนนสายต่าง ๆ ในตอนกลางคืนโดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเห็นประโยชน์ ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักวิทยุอาสาสมัครขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุสมัครเล่นในรูปของนักวิทยุอาสาสมัครได้รับการยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่น
เป็นกิจการที่มีประโยชน์
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในประเทศไทยได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งออกเป็นระเบียบของคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ
ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 ผลของระเบียบนี้ทำให้ต้องมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เป็นตามสากล
เช่น VR001 เป็น HS1BA และ VR คนสุดท้ายคือ VR2953 ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะต้องมีสัญญาณเรียกขานสากล
ที่ขึ้นต้นด้วย HS ซึ่งหมายถึงประเทศไทย ตามด้วยเลข 1 ถึง 0 โดยตัวเลขในสัญญาณเรียกขานนั้นจะแสดงให้ทราบว่านักวิทยุสมัครเล่นคนนั้นอยู่ในเขตใด เช่น HS1 และ HS0 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นภาคกลาง HS9 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ภาคใต้ เป็นต้น
และตามด้วยอักษร 2 ตัว และ 3 ตัวตามลำดับ
ปัจจุบันมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแล้วจำนวนมากกว่า 160,000 คน และผู้ได้รับอนุญาต
มี CALL SIGN แล้วจำนวนมากกว่า 92,000 คน จำนวนช่องความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มขึ้นเต็มย่านVHF จำนวน 81 ช่อง และเพื่อความรอบคอบในกรณีที่สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS จัดให้หมดแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ขอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดอักษรสำหรับ CALL SIGN ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นใหม่ ITU ได้กำหนดให้ใช้ E2 ซึ่งจะใช้แทน HS ต่อไป
กิจการวิทยุสมัครเล่นไทยได้สร้างเกียรติประวัติในการช่วยเหลือทางราชการในการแจ้งข่าว เมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูงและสายอากาศวิทยุถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของทางราชการถูกตัดขาด
ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาลได้ขอความร่วมมือนักวิทยุสมัครเล่นให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความเดือดร้อนและความเสียหายของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รัฐบาลได้เห็นประโยชน์ของนักวิทยุเป็นอย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการที่มีความสำคัญ ควรได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
กิจการวิทยุสมัครเล่นมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เสริมสร้างประโยชน์ต่อสังคมและความปลอดภัยของชาติ
2.ใช้เป็นข่ายสื่อสารสาธารณะสำรองในยามฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ
3.พัฒนาความรู้ด้านวิชาการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ
4.ฝึกฝนพนักงานวิทยุให้มีความรู้ความชำนาญยิ่งๆขึ้นไป
5.เพิ่มพูนจำนวนพนักงานวิทยุสำรองไว้ใช้ประโยชน์ยามฉุกเฉิน
6.สร้างชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในวงการวิทยุระหว่างประเทศ
คุณสมบัติของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่กรมไปรษณีย์โทรเลข (สำนักงาน กทช.ในปัจจุบัน) กำหนด
2. ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ซึ่งกรมไปรษณีโทรเลข (สำนักงาน กทช.ในปัจจุบัน) ออกให้ หรือประกาศนียบัตรซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขเทียบเท่า
ประเภทของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นแบ่งออกเป็น
3
ประเภท
ดังนี้
1. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
2. พนักงานวิทยสมัครเล่นขั้นกลาง
3. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ผู้ที่ประสงค์จะเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภท ต่าง ๆ จะต้องสอบได้ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภทนั้น ๆ หรือ มีประกาศนียบัตรที่กรมไปรษณีย์โทรเลขเทียบเท่า และยื่นขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากกรมไปรษณีย์โทรเลข สำหรับผู้ที่ประสงค์จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จะต้องสอบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นได้ก่อน และ ผู้ที่ประสงค์จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง จะต้องสอบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นต้นได้แล้ว ซึ่งทางกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภทต่าง ๆ โดยใช้หลักสูตรตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด และกรมไปรษณีย์โทรเลขจะเป็นผู้ออกประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแก่บุคคลบางประเภทตามที่ตามที่คณะกรรมการจะกำหนด
จะเป็นนักวิทยุสมัครเล่นต้องทำอย่างไร
การสมัครและการเตรียมตัวสอบ
1. คุณสมบัติ
ผู้ที่จะสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ ต้องมีสัญชาติไทย ต้องไม่เคยสอบผ่านมาก่อนและไม่เป็นพระภิกษุสามเณร
2. การซื้อใบสมัครและคู่มือการสอบ การเข้าสอบ
2.1 ซื้อใบสมัครสอบได้ที่
2.1.1 กรมไปรษณีย์โทรเลข (สำนักงาน กทช.) ซอยพหลโยธิน8 (ซอยสายลม) โทร.271-0151-60 ติดต่อแผนกฝ่ายใบอนุญาต
2.1.2 ร้านจำหน่ายวิทยุสื่อสารทั่วไปที่อยู่ใกล้บ้าน
2.1.3 ซื้อใบสมัครและสมัครสอบที่ศูนย์/สถานีตรวจสอบเฝ้าฟังวิทยุของ กรมไปรษณีย์โทรเลขส่วนภูมิภาค
2.1.4 สั่งซื้อทางไปรษณีย์ โดยเขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ ในลักษณะจ่าหน้าซองถึง ตัวท่านเองอย่างชัดเจน ลงในแผ่นกระดาษ 5 X 10 เซนติเมตร เพื่อใช้ปิดหน้าซองที่จะส่งคู่มือ แนะนำการสอบไปยังผู้ซื้อ ส่งพร้อมธนาณัติ (ไม่รับเงินสด ตั๋วแลกเงินหรือเช็คธนาคาร) สั่งจ่าย ปท.สามเสนใน ในนามผู้อำนวยการสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข มายัง ตู้ ปณ.248 สามเสนใน กทม. 10400 และวงเล็บด้านล่างว่า "สั่งซื้อคู่มือ" สามารถสั่งซื้อหนังสือข้อสอบกลางของกรมไปรษณีย์ โทรเลขได้พร้อมกัน
ค่าใบสมัครสอบและคู่มือสอบ 70 บาท
ค่าหนังสือข้อสอบกลาง 120 บาท
3. หลักฐานการสมัคร
ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป , ( ค่าใบสมัครสอบ 70 บาท , ค่าสมัครสอบ 200 บาท , หนังสือข้อสอบ -กลาง 120 บาท รวม 390 บาท ) ซื้อได้ที่กองใบอนุญาต ชั้น 1
4. ท่านจะสามารถสมัครสอบที่ใดก็ได้ตามที่สะดวก
(ตามตารางกำหนดสอบที่แนบมากับใบสมัคร) แต่นามเรียกขานจะยึดถือตามทะเบียนบ้านเป็นหลัก หรือสมัครสอบทางไปรษณีย์ แต่เวลาสอบต้องไปสอบ ณ สถานที่ตามตารางที่กรมฯ จัดสอบให้เท่านั้นไม่มีการสอบผ่านทางไปรษณีย์
5. เมื่อถึงกำหนดวันสอบต้องไปตามสถานที่ที่กรมไปรษณีย์ กำหนดไว้
เนื้อหาที่สอบ
หลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
วิชาที่
1
ความรู้ทั่วไป กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น องค์กรระหว่างประเทศ
และข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
1.2 ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กฎกระทรวงคมนาคมและประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลขที่เกี่ยวข้อง
1.3 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ
ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530
1.4 ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสัญญาณเรียกขานสำหรับประเทศไทย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
วิชาที่
2
การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
2.1 ประมวลรหัส Q
2.2 การรายงานสัญญาณระบบ RST
2.3 การอ่านออกเสียงตัวอักษร
2.4 คำเฉพาะและคำย่อต่าง ๆที่ควรรู้
2.5 การปฏิบัติและมารยาทในการเรียกขาน และการติดต่อสื่อสาร
2.6 การรับและแจ้งเหตุฉุกเฉิน
2.7 สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร
วิชาที่
3
ทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
3.1 ทฤษฎีไฟฟ้า
- คำนำหน้าหน่วย
- ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
- แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
- คุณสมบัติของแบตเตอรี่แบบต่าง ๆ
- แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ตัวต้านทาน กำลังไฟฟ้า และกฎของโอห์ม
- การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม และแบบขนาน
- ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ
- ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน
- คาปาซิตีฟรีแอกแตนซ์ อิมพีแดนซ์ และรีโซแนนซ์
- หม้อแปลงไฟฟ้า
- สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรรู้
- เดซิเบล
3.2 ทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์
- หน้าที่โดยสังเขปและสัญลักษณ์ของอุปกรณ์บางอย่าง ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ผลึกแร่ ไมโครโฟน ลำโพง หลอดวิทยุ และไอซี
3.3 หลักการทำงานของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
- หน้าที่ของภาคต่าง ๆ ในเครื่องรับ/ส่งวิทยุแบบ TRF และแบบซุปเปอร์เฮเทอโรดายน์
- AM และ FM
- คุณสมบัติของเครื่องรับ/ส่งวิทยุ
- ซิมเพล็กซ์ ฟูลดูเพล็กซ์ และเซมิดูเพล็กซ์
3.4 สายอากาศและสายนำสัญญาณ
- คุณสมบัติของคลื่นวิทยุ
- ความถี่และความยาวคลื่น
- โพลาไรเซชั่น
- คุณสมบัติของสายอากาศ
- สายอากาศพื้นฐานที่ควรรู้
- สายนำสัญญาณแบบต่าง ๆ และคุณสมบัติที่ควรรู้
- SWR และการแมทช์
- บาลัน
3.5 การแพร่กระจายคลื่น
- การแบ่งย่านความถี่
- ลักษณะการแพร่กระจายคลื่นของย่านความถี่ต่าง ๆ
- องค์ประกอบที่มีผลต่อระยะการรับ/ส่งในย่าน VHF
วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
4.1 ข้อพึงระวังเรื่องความปลอดภัย
4.2 การใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
4.3 สาเหตุและการลดปัญหาการรบกวน
หมายเหตุ
วิธีการสอบ
ทดสอบความรู้ความเข้าใจในวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของกรมไปรษณีย์โทรเลข ด้วยวิธีการสอบข้อเขียนโดยข้อสอบจะเป็นปรนัยจำนวน 100 ข้อ ที่นำมาจากหนังสือข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งจัดพิมพ์โดยสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข
เกณฑ์การตัดสิน
เกณฑ์การตัดสินในการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นนั้นได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนตามหลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ข้อกำหนดทางเทคนิคของสถานีวิทยุสมัครเล่น
ใ
ห้ใช้ความถี่ในย่าน
144
-
146
MHz ตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
- สถานีวิทยุสมัครเล่น ควบคุมข่ายให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์
- สถานีวิทยุสมัครเล่นชนิดติดตั้งประจำที่ หรือติดตั้งในรถยนต์ ให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์
- และเครื่องมือถือให้มีกำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ให้ใช้ความถี่ในย่าน 144-146 MHz ตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
- สถานีวิทยุสมัครเล่น ควบคุมข่ายให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์
- สถานีวิทยุสมัครเล่นชนิดติดตั้งประจำที่ หรือติดตั้งในรถยนต์ ให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์
และเครื่องมือถือให้มีกำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์
ข้อกำหนดทางเทคนิคของสถานีวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
- ให้ใช้ความถี่ต่อไปนี้ ย่าน 144 - 146 Mhz ตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
ย่าน 7,000 - 7,100 KHz ย่าน 14,000 - 14,350 KHz ย่าน 21,000 - -21,450 KHz ย่าน 28,000 - -29,700 KHz ให้ใช้กำลังส่งตามที่ กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
- รับ - ส่ง ข่าวสารประเภทเสียงและสัญญาณโทรเลขรหัสมอร์ส ตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
ข้อกำหนดทางเทคนิคของสถานีวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
- ให้ใช้ความถี่ต่อไปนี้ ย่าน 144 - 146 Mhz ตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
ย่าน 7,000 - 7,100 KHz ย่าน 14,000 - 14,350 KHz ย่าน 21,000 - -21,450 KHz ย่าน 28,000 - -29,700 KHz ให้ใช้กำลงส่งตามที่ กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนดสูงกว่าขั้นกลาง
-รับ - ส่ง ข่าวสารประเภทเสียงและสัญญาณโทรเลขรหัสมอร์ส ความเร็วสูงกว่าขั้นกลาง ตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด
สัญญาณเรียกขาน (Call Sign)
ข้อกำหนดของสัญญานเรียกขาน
ตามกฎข้อบังคับ วิทยุระหว่างประเทศกำหนด ให้สถานีวิทยุคมนาคม ให้สัญญาณเรียกขาน (Call Sign) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเป็นสัญญาณมาจากสถานีใด เป็นสถานีในกิจการประเภทใด และเป็นของประเทศใด หรืออยู่ในพื้นที่ใดของประเทศ เช่น HSA - HAZ และ E2A - E2Z คืออักษรขึ้นต้นสัญญาณ เรียกขานระหว่างประเทศสำหรับ ประเทศไทย เป็นต้น กรมไปรษณีย์โทรเลข จะเป็นผู้กำหนดสัญญาณเรียกขาน
สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบที่ระบุ ในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ และกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
HS n X
HS n XX
HS n XXX
จากรหัสข้างต้นนั้น มีความหมายตาม อักษรดังนี้
HS หมายถึง ระบุว่าเป็นประเทศไทย ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ เป็นรหัสเก่า ที่ยังเหลือใช้อยู่
n หมายถึง ตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ระบุว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศไทย
พยัญชนะ 1 ตัว หรือ 2 ตัว หรือ 3 ตัว มีรายละเอียดดังนี้
X - ใช้สำหรับระดับ VIP สูงสุดของประเทศ
XX - ใช้เรียงตามลำดับจาก AA - ZZ ยกเว้น AA - AZ ซึ่งสำรองไว้สำหรับสถานีกรณีพิเศษ เช่น สถานีทวนสัญญาณ (beacon), สถานีของชมรม หรือสมาคม (Club Station) และ สถานีชั่วคราวเฉพาะกิจ และยกเว้น CQ, HS
XXX - ใช้เรียงตามลำดับจาก AAA - ZZZ ยกเว้น DDD ,QAA - QZZ , SOS และ TTT
E2 n X
E2 n XX
E2 n XXX
จากรหัสข้างต้นนั้น มีความหมายตาม อักษรดังนี้
E2 หมายถึง ระบุว่าเป็นประเทศไทย ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ เป็นรหัสใหม่ ทีมีใช้กันแล้ว ในบางพื้นที่
n หมายถึง ตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ระบุว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศไทย
พยัญชนะ 1 ตัว หรือ 2 ตัว หรือ 3 ตัว มีรายละเอียดดังนี้
X - ใช้สำหรับระดับ VIP สูงสุดของประเทศ
XX - ใช้เรียงตามลำดับจาก AA - ZZ ยกเว้น AA - AZ ซึ่งสำรองไว้สำหรับสถานีกรณีพิเศษ เช่น สถานีทวนสัญญาณ (beacon), สถานีของชมรม หรือสมาคม (Club Station) และ สถานีชั่วคราวเฉพาะกิจ และยกเว้น CQ, HS
XXX - ใช้เรียงตามลำดับจาก AAA - ZZZ ยกเว้น DDD ,QAA - QZZ , SOS และ TTT
การแบ่งเขตสัญญาณเรียกขานในประเทศ
สัญญาณเรียกขานแบ่งกลุ่มตามพื้นที่
1. สัญญาณเรียกขาน "
HS 1 XXX
" และ
HS 2 XXX
" มี
10
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
2. สัญญาณเรียกขาน "
HS 2 XXX
" มี
7
จังหวัด
จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง
3. สัญญาณเรียกขาน "
HS 3 XXX
" มี
7
จังหวัด
ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี
4. สัญญาณเรียกขาน "
HS 4 XXX
" มี
10
จังหวัด
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร นองคาย อุดรธานี
5. สัญญาณเรียกขาน "
HS 5 XXX
" มี
9
จังหวัด
เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์
6. สัญญาณเรียกขาน "
HS 6 XXX
" มี
8
จังหวัด
กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี
7. สัญญาณเรียกขาน "
HS 7 XXX
" มี
8
จังหวัด
กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี
8. สัญญาณเรียกขาน "
HS 8 XXX
" มี
7
จังหวัด
กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี
9. สัญญาณเรียกขาน "
HS 9 XXX
" มี
7
จังหวัด
ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
สัญญาณเรียกขานใหม่
การแบ่งเขตนามเรียกขานใหม่
เขต 1 HS0, HS1 ใช้สัญญาณเรียกขาน E20 E21 E22 E23 E24 E25 E26
เขต 2 HS2 ใช้สัญญาณเรียกขาน E27
เขต 3 HS3 ใช้สัญญาณเรียกขาน E27
เขต 4 HS4 ใช้สัญญาณเรียกขาน E27
เขต 5 HS5 ใช้สัญญาณเรียกขาน E28 - E22
เขต 6 HS6 ใช้สัญญาณเรียกขาน E28 - E23
เขต 7 HS7 ใช้สัญญาณเรียกขาน E29
เขต 8 HS8 ใช้สัญญาณเรียกขาน E29 - E24
เขต 9 HS9 ใช้สัญญาณเรียกขาน E29 - E23
ข้อห้ามต่างๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
กิจการวิทยุสมัครเล่น มีข้อห้ามดังต่อไปนี้
- ติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นในประเทศที่ไม่อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
- ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสารนอกเหนือไปจากประมวลคำย่อสากล ที่ใช้ใน กิจการวิทยุสมัครเล่น
- รับส่งข่าวสาร ที่นอกเหนือไปจากกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น การส่งข่าวทาง ธุรกิจ การค้า
- การส่งข่าวสารที่ต้องพึ่งบริการ โทรคมนาคม
- การจ้างวานรับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม
- การใช้ถ้อยคำหยาบคายไม่สุภาพในการติดต่อ
- การรับส่งข่าว อันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
- ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และรายการโฆษณาทุกประเภท
- จงใจกระทำให้เกิดการรบกวน ต่อการสื่อสารของสถานีอื่น ๆ เช่น การส่งสัญญาณคลื่นรบกวนประเภทต่าง ๆ
- ติดต่อกับ สถานีที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น
- แย่งใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสาร
- ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาต ใช้สถานีหรือเครื่องวิทยุ
- กระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคม หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บันทึกการเข้า
"การลงมือทำ ดีกว่าคำพูดที่สวยหรู" 145.150 / 145.4125 ..พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกระหรีปัี๊บ นมดี ประเพณีดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง..
HS4YQG
Full Member
กระทู้: 105
Re: ประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
04 สิงหาคม 2012, 12:22:08 »
ดีมากเลยครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: ประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
04 สิงหาคม 2012, 20:08:20 »
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
วิทยุสื่อสารและดวงดาวบนท้องฟ้า
(ผู้ดูแล:
hs4awf
) »
ประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย
Tweet