ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
พระเถรานุเถระ พระเกจิอาจารย์ และองค์ปู่ฤาษี
»
พระราชพัชรญาณมุนี วิ (หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ) วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
2
3
...
55
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: พระราชพัชรญาณมุนี วิ (หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ) วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด (อ่าน 28022 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
พระราชพัชรญาณมุนี วิ (หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ) วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
เมื่อ:
18 กุมภาพันธ์ 2015, 00:42:52 »
พระราชพัชรญาณมุนี วิ
(หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ)
วัดประชาคมวนาราม
(วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กันยายน 2022, 15:58:24 โดย ตามรอยพุทธ
»
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
18 กุมภาพันธ์ 2015, 00:46:49 »
ประวัติ
หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ
วัดประชาคมวนาราม
(วัดป่ากุง)
ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
มงคลนาม
ทองอินทร์ แสวงผล
ชาติกาล
วันจันทร์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๑ ปีขาล
สถานที่เกิด
บ้านหนองแดง ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
โยมบิดา – มารดา
นายนิน – นางอ่อน แสวงผล
พี่น้อง
เป็นบุตรคนแรก ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๑๐ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๕ คน มีผู้เสียชีวิตแล้วเป็นชาย ๑ คน หญิง ๒ คน นอกจากนี้มีผู้หญิงบวชเป็นชีตลอดชีวิตคือชีสุดใจ แสวงผล(เสียชีวิตในเพศนักบวช) ส่วนผู้ชายที่บวชเป็นพระตลอดชีวิต คือ พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญโญ
ชีวิตในเพศฆราวาส
เมื่อพระอาจารย์ทองอินทร์ ท่านยังเล็กอยู่นั้นได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบ้านหนองแดง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับบ้านศรีสมเด็จ แต่เดิมบ้านศรีสมเด็จมีชื่อว่าบ้านหนอง เพราะว่ามีหนองน้ำอยู่ตรงกลางระว่างบ้านหนองแดงกับบ้านหัวหนอง ต่อมาบิดามารดาของท่านได้พาครอบครัวย้ายไปอยู่ใกล้กับป่ากุง ซึ่งต่อมาเป็นวัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) สมัยที่ท่านยังเด็กท่านเคยนำวัวควายไปเลี้ยงที่บริเวณวัดป่ากุงเสมอๆ ป่ากุงนี้แต่เดิมรกร้างเป็นป่าเก่า มีโบสถ์เก่าแก่ร้างอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งทางร้อยเอ็ดเรียกกันว่ากู่ พอถึงวันสงกรานต์จะมีผู้คนพากันไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่ป่ากุงนั้นหรือบางทีก็ไปทำพิธีบวงสรวงสังเวยกันที่ในโบสถ์หรือในกู่ร้างนั้น
ต่อมาพระอาจารย์ศรี มหาวีโร หรือที่บรรดาสานุศิษย์ได้ยกนามว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่” หรือ “หลวงปู่ใหญ่” ได้ธุดงค์มาจากสกลนครเพื่อไปบ้านขามป้อม ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่ใหญ่ จากคำเล่าลือของบรรดาญาติโยมชาวบ้านที่ได้มีโอกาสไปฟังเทศน์ฟังธรรมของหลวงปู่ใหญ่ ต่างก็พากันเอามาเล่าต่อๆ กันว่า หลวงปู่ใหญ่มีคำสอนที่ลึกซึ้งเข้าถึงความจริงของชีวิตแปลกกว่าที่เคยฟังกันมา และยังได้อบรมให้ชาวบ้านญาติโยม ให้ได้รู้จักวิธีการนั่งสมาธิภาวนา จนเกิดความร่มเย็นเป็นสุขอันมีผลอยู่ภายในใจเป็นอันมาก ดังนั้นผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านก็ได้พากันไปนมัสการและฟังธรรมของหลวงปู่ใหญ่จนได้ยินได้ฟังตามตามคำเล่าลือและเกิดความซาบซึ้งในธรรม จึงพร้อมใจกันอาราธนานิมนต์หลวงปู่ใหญ่ให้มาพำนักจำพรรษาและบูรณะวัดป่ากุงร้างนั้น เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวบ้านป่ากุง ขณะนั้นหลวงปู่ใหญ่บวชได้ประมาณ ๙–๑๐ พรรษา
ชีวิตสมณะเพศ
อุปสมบท
ครั้นเมื่ออายุ ๒๑ ปี หลังจากจับฉลากคัดเลือกไม่ติดเกณฑ์ทหารและก็ยังไม่มีครอบครัว ได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๑๒.๐๐ น. ณ
วัดประชาบำรุง
ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีพระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาสวาสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระมหาทองใส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สาเหตุที่บวชเนื่องด้วยโยมแม่ป่วยหนักรักษามานานแล้ว รู้ตัวเองว่าคงไม่หายแน่นอน ได้สั่งเอาไว้ว่า หากคัดเลือกทหารแล้วไม่ถูก ให้บวชให้แม่ และอีกอย่างธรรมเนียมของคนในท้องถิ่นนั้นได้ถือเป็นประเพณีมานานแล้ว หากลูกชายมีอายุครบ ๒๐ – ๒๑ ปี แล้วก่อนจะมีครอบครัว ต้องบวชเสียก่อน คิดแล้วก็คือบวชตามประเพณี เมื่อบวชแล้วจึงค่อยได้ยินจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ว่า บวชมีหลายอย่างคือ “บวชเล่น บวชลองหรือคำว่าบวชทดลองดู บวชตามครองประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกเฮอา บวชค้าขาย บวชตายเป็นเปรต“ นำไปคิดอยู่สามพรรษาว่า เราจะเอาบวชแบบไหน เลยตัดสินใจเอาบวชหนีสงสาร นับแต่นั้นเป็นต้นมาได้ตัดสินใจมอบกายถวายชีวิตอุทิศแด่พระศาสนา ประกอบกับได้ฟังเทศน์อยู่เนืองนิจจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ จึงตั้งใจประกอบความเพียร และตั้งใจท่องพระปาฏิโมกข์จบในขณะเข้าพรรษาที่ ๒ แต่ในคราวแรกที่บวชเข้ามา ๑๕ วัน พระอาจารย์สุด ธมฺมกาโม ได้ให้ขึ้นสวดพระปาฏิโมกข์ทั้งที่เรียนยังไม่จบ ตอนบวชพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ออกธุดงค์ยังไม่กลับ แต่กลับมาเมื่อจวนจะเข้าพรรษา และมาคัดเลือกพระได้ ๑๐ รูป รวมทั้งพระอาจารย์ก็ได้ไปด้วย พักค้างคืนที่วัดบึงพลาญชัย ๑ คืน เพื่อรอรถโดยสาร ออกเดินทางเช้าถึงเย็นพอดี จำพรรษาแรกคือวัดป่าสามัคคีธรรม บ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ปีนั้นมีพระจำพรรษา ๑๐ รูป ไม่มีสามเณร คณะญาติโยมดีใจมากๆ เพราะไม่เคยมีพระจำพรรษามากอย่างนี้เลย
เริ่มเข้าพรรษาพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ก็ได้ประชุมเกี่ยวกับเรื่องระเบียบเพราะมีพระมากมีปัญหามาก เกี่ยวกับเรื่องแจกของ ยกตัวอย่างเรื่องครั้งพระพุทธกาลขึ้นมาเบื้องต้นเรื่อง เรื่องแรกภัตตุทเทศก์คือพระผู้แจกของ เรื่องที่สองพระอุปัฏฐาก เรื่องพระอุปัฏฐากนี้ คณะสงฆ์จัดให้พระอาจารย์ทองอินทร์เป็นผู้อุปัฏฐากพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ตลอดมาเป็นประจำเวลา ๒ พรรษเต็ม อยู่วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านขามเฒ่า ๔ พรรษา วัดหัวดง บ้านน้อยหนองเค็ม ๖ พรรษา แต่ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ ไม่ได้จำพรรษาอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ ในพรรษานั้นๆ เลยตั้งสัจจะสมาทานธุดงควัตรไม่นอนตลอดพรรษา ได้กำลังใจมาก
ปกติแล้วช่วงที่จำพรรษาอยู่ทางนครพนม ครั้นออกพรรษาแล้ว พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่จะพาออกวิเวก (หรือคำว่า
“ธุดงค์”
ซึ่ง นิยมใช้ในปัจจุบัน) บางปีก็ไปทางวัดหนองแซงจังหวัดอุดรธานี (หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง(ราษฎรสงเคราะห์) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดหนองบัวลำภู ในปัจจุบัน) ออกจากหนองแซงขึ้นภูเก้า ที่นั่นกันดารมากๆ สิ่งแวดล้อมจำพวกสัตว์ป่ามีมาก เช่น ช้างป่า ช้างบ้านมีมากอยู่ใกล้ๆ กับที่พัก ที่พักก็มีลักษณะเป็นร้านเล็กๆ พื้นปูด้วยฟากไม้ไผ้ บางวันลงจากถ้ำไปหิ้วเอาน้ำคนเดียวเพื่อสำหรับใช้ตอนเช้า มักจะต้องได้ทำความสะอาดบ่อน้ำใหม่ เพราะช้างไปเล่นจนน้ำขุ่น
ในช่วงฤดูแล้งของปีนั้นไปด้วยกันสามรูป พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ พระอาจารย์พุทธา พระอาจารย์ทองอินทร์ พระอาจารย์พุทธาทนไม่ไหวเลยกลับวัดหนองแซง คงเหลืออยู่เพียงสองรูป พอเข้าใกล้ฤดูฝน พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่จึงพาลงจากภูเก้า เดินด้วยเท้าไปอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ก็ให้เร่งทำความเพียร ปีนั้นรู้สึกว่าได้กำลังใจเยอะ นั่งอยู่ ๘ คืน เฉพาะกลางคืนมีความสุขสงบดี อยู่นั้นนานหน่อยจวนจะเข้าพรรษา พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ก็จะพากลับไปที่วัดป่ากุงจังหวัดร้อยเอ็ด โยมก็ไม่มีติดตาม ปัจจัยก็ไม่มีพอ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ปรารภอยู่สองวันนั้นเอง มีโยมนำลูกมอบให้ทั้งที่มีลูกชายคนเดียว และออกจากโรงเรียนวันนั้น เมื่อมีโยมติดตามแล้วแต่ไม่มีค่ารถ ต่อมาวันสองวันเท่านั้น มีโยมมานิมนต์ให้ไปที่บ้าน เพื่อจะทำบุญบ้านและตักบาตรเนื่องด้วยมีเหตุสัตว์ป่าเข้าหมู่บ้านวันหนึ่งเป็นไก่ป่า วันหนึ่งเป็นอีเก้ง บางคนข้าวแดงเวลานึ่งข้าว หากข้าวแดงเขาถือกันว่ามีเหตุไม่ดี อีกประการสัตว์ป่าเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านเขาถือกันนักหนาว่าทั้งหมู่บ้านจะมีเหตุเดือดร้อน เขาเลยพากันทำบุญเบิกบ้าน คนที่นึ่งข้าวมาก็ไม่สบายใจทำบุญที่บ้านของตนอีก เรื่องเดือดร้อนของชาวบ้านก็สงบลงไป จึงได้เข้าใจว่าธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติไม่ให้ทุกข์ยาก ดังนั้นการเดินทางกลับร้อยเอ็ดจึงไม่ติดขัดทั้งโยมติดตามและปัจจัย
ไม่นานวันพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่
ก็พากลับร้อยเอ็ดโดยทางรถยนต์ประจำทาง เพราะมีผู้ถือปัจจัยให้สะดวกในการขึ้นรถ ครั้นต่อมาเด็กคนนั้นไม่ได้กลับบ้านสักทีก็เลยบวชเป็นเณร แต่พอมีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านโยมพ่อของเณรก็เสียชีวิตเสียแล้วเหลืออยู่แต่แม่และพี่สาว มีพี่สาวอยู่ ๔ คน คนหนึ่งก็ได้มาบวชเป็นชีพร้อมชีสิน ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวหน้าวัดป่าขวัญเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สามเณรชื่อ สุริโย บัวผาย ชีชื่อ สมร บัวผาย บ้านหินร่อง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ต่อมาโยมแม่ของเณรก็ได้บวชเป็นชีด้วยประจำอยู่วัดป่ากุงเมื่ออายุมากเข้าก็ขอลาไปอยู่บ้านเกิดและเสียชีวิตในเพศนักบวช ส่วนเณรบวชอยู่ได้ ๖ พรรษาหมดบุญวาสนาก็ลาสึกออกไป
ก่อนวันจะเข้าพรรษาพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่
พาไปที่เดิมอีก คือ วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านขามเฒ่า จำพรรษาอยู่นั่น ๔ พรรษา พอออกพรรษาปีที่ ๔ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ก็พาออกวิเวกไปทางบ้านแจ้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ห่างจากอำเภอออกไปไกล มีถ้ำเยอะ มีถ้ำพระ ถ้ำตาฮด ถ้ำพระเวส พอดีที่ถ้ำตาฮดมีพระจำมากมาก พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่เลยให้พระอาจารย์ทองอินทร์ไปอยู่ถ้ำพระเวส ซึ่งเป็นการไปอยู่เพียงลำพังเป็นครั้งแรกในชีวิตนักบวช เกิดความกลัวมากแต่อยู่ถึงคืนที่สามก็หายกลัว ไปหายกลัวตายอยู่ที่ถ้ำพระเวสนั้นเอง ตอนเช้าตีห้าลงไปจากถ้ำเพื่อไปคอยพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่เข้าสู่หมู่บ้านบิณฑบาต ออกนอกบ้านแล้วแยกจากหมู่คณะขึ้นถ้ำพระเวสเพียงองค์เดียว ที่ถ้ำนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขี้เกียจภาวนาน้ำไม่ไหล ดีที่ทำให้พระขยันใกล้จะเข้าพรรษา พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ก็พากลับวัดขามเฒ่า จังหวัดนครพนม เช่นเดิม
โยมจากวัดป่าหัวดง บ้านน้อยหนองเค็ม มาขอพระไปจำพรรษา พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ ก็จัดให้พระไป ๔ รูป มีพระอาจารย์สีลา (อาจนิยม) เป็นหัวหน้าและพระอาจารย์ทองอินทร์ก็ไปด้วย ระหว่างพรรษาเร่งทำความเพียรมากโดยเฉพาะเรื่องอดอาหาร แต่ปีที่ ๒ ที่วัดป่าหัวดง พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ไปจำพรรษาอยู่ด้วย ในปีนั้นการประกอบความเพียรก็ไปเรื่อยๆ จนกระทั้งออกพรรษาปี พ.ศ.๒๕๐๗ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ก็พามาเยี่ยมทางวัดป่ากุง ดูการก่อสร้างผู้คนเยอะพร้อมดูหมู่คณะพระเณรมั่วสุมต่างๆ นา ๆ เลยยุ่งใจ
เมื่อจะเข้าพรรษาปี พ.ศ.๒๕๐๘
จึงกราบปรึกษาขออนุญาตพ่อแม่ครูอาจารย์ปู่ใหญ่ไปจำพรรษาทางบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เพราะเมื่อก่อนได้ทราบประวัติและปฏิปทาของพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หรือบรรดาศิษย์ทั้งหลายได้ยกนามว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัว” ซึ่งเป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มีวิริยะอุตสาหะ ปรารภความเพียรสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี ยึดมั่นในธรรมอันประเสริฐ มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง เมื่อกราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ได้แล้วก็เดินทางไปอุดรธานีลงรถยนต์แล้วเข้าไปบ้านหนองตาไก้ เพราะมีคนรู้จักกันที่บ้านหนองตาไก้ พักอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง แล้วให้โยมที่หนองตาไก้ไปส่งที่วัดป่าบ้านตาด จากหนองตาไก้เดินทางเข้าบ้านตาด ข้ามบ้านไปจึงถึงวัดป่าบ้านตาด(วัดป่าเกสรศีลคุณ) ครั้นพอเข้าเขตสถานที่จิตใจเปลี่ยนแปลงไปมาก ท่านพ่อแม่ครูอาจารย์บุญมี ปริปุณฺโณ (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านนาคูณ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี) ฝากตัวและขอปวารณาตัวให้ท่านแนะนำสั่งสอนตักเตือน รวมทั้งขอทราบพิธีการเข้าหากราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัว แบบไหนท่านรับเอาไว้ให้อยู่ด้วย เพราะเมื่อก่อนกุฏิจำกัดรับพระเณรจำกัด ขณะนั้นพระอาจารย์ทองอินทร์มีจิตที่ยึดมั่นเปี่ยมด้วยศรัทธาจึงได้ตั้งใจไว้ว่าหากพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวปฏิเสธว่าไม่มีกุฏิ ตัวเองจะขอปักกลดใต้ต้นไม้ เพื่อขออยู่ศึกษา ท่านพระอาจารย์บุญมีก็บอกว่าไม่มีพิธีอะไรเข้าหาท่านอยู่ที่ตัวเราว่าจะตั้งใจอยู่จริงแค่ไหน
ตกเย็นหลังทำกิจวัตรเสร็จคือ
ปัดกวาดบริเวณวัด ถูศาลา หาบน้ำเสร็จ เตรียมน้ำสรงไว้ที่กุฏิพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัว พระทั้งหมดก็แยกย้ายไปสรงน้ำ (หรือคำว่า อาบน้ำ) ปกติตอนอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ที่ร้อยเอ็ดก็สรงน้ำท่านเสร็จก่อนจึงจะไปทำกิจส่วนตัว คิดว่าจะทำแบบอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ แต่แล้วกลับเป็นตรงกันข้ามท่านไม่ให้ไปยุ่ง ส่วนพระอาจารย์ทองอินทร์เองก็มีเจตนาอยากจะช่วยบ้างเพราะครั้งหนึ่งในกลางพรรษาตอนที่อยู่วัดป่าหัวดง จังหวัดนครพนม นายวันดี ตั้งตรงจิต ได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มหาบัวไปเทศน์ที่วัดอรัญในตัวเมืองนครพนม ท่านออกไปสรงน้ำที่วัดป่าหัวดง พระอาจารย์ทองอินทร์ได้จัดเตรียมสถานที่สรงน้ำและปฏิบัติปกติธรรมดาเหมือนกับที่ได้ปฏิบัติหลวงปู่ใหญ่ แต่เมื่ออยู่ภายในวัดป่าบ้านตาด การปฏิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวเป็นอีกอย่าง แปลว่าถูกเทศน์(ตำหนิ)ในวันวันแรกเลย พระอาจารย์ทองอินทร์จึงคิดภายใจว่า ความจริงเราโง่เองเพราะพระเก่าที่อยู่ประจำไม่มีอยู่ในบริเวณนั้น แทนที่จะเฉลียวใจว่าท่านคงจะสรงน้ำเองรูปเดียวเป็นประจำมา แต่เราจะถือเอาแบบเดิมอย่างน้อยที่สุดจะได้บิดผ้าตากผ้าให้ท่านบ้าง เพื่อเป็นข้อวัตร คือในหลักพระวินัยในคำว่า อาจาริยะวัตร จะมิให้ขาด ตรงนี้แหละที่ทำให้ถูกเทศน์(ตำหนิ) ในวันแรกที่เข้าไปอยู่ในวัดป่าบ้านตาด คำแรกที่พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวได้บอกว่า “จะสรงเอง” แต่พระอาจารย์ทองอินทร์ก็ยังไม่หนี คำสองท่านถามว่า “มาจากไหน” ก็ตอบท่านว่า “มาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ศรี จังหวัดร้อยเอ็ด” อนิจจัง อนิจจา เท่านั้นแหละพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวสั่งให้ไปที่ศาลาประชุมด่วน พระอาจารย์ทองอินทร์จึงคิดในใจว่าจะถูกไล่หรือยังไง ยิ่งไปอยู่ใหม่ๆ ยังไม่มีที่พักยังทำผิดอีก ก็กลับไปที่ศาลาบอกพระเก่าว่าพ่อแม่ครุอาจารย์มหาบัวสั่งมีประชุมเย็นนี้
เมื่อพระมาลงประชุมพร้อมและฉันน้ำร้อนเสร็จหมดทุกรูปแล้ว
พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวก็ลงมา พระสงฆ์ทั้งหมดกราบพร้อมกัน พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวก็ฉันน้ำร้อน ๑ แก้ว เป็นน้ำโกโก้ร้อน และล้างปากแล้วหยิบหมากมาอม พระอาจารย์ทองอินทร์ได้เห็นพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวเช่นนั้นแล้วก็เริ่มสบายใจ จากนั้นพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวก็เอ่ยถามว่า “ท่านนี้ชื่ออะไรมาจากไหน” ต่อหน้าคณะสงฆ์ กราบเรียนไปตามตรง เป็นอันว่าได้รับอนุญาตให้พักหลังพระประธานในบริเวณที่ศาลานั้นเอง ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์จึงได้มีกุฏิอยู่ หลังจากนั้นมาก็เริ่มเข้าใจในระเบียบข้อวัตรประจำวัน ในระหว่างพรรษาส่วนมากก็อดอาหาร เร่งประกอบดความเพียรบางระยะก็นั่งติดต่อกัน ๓ คืน ถึงกับตูดพอง(ก้นพอง) ตอนอดอาหารพระที่นั้นเอาใจใส่ดูแลกันดีมาก พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวเน้นเรื่องออกวิเวกมาก ท่านเทศน์ตอนใกล้ออกพรรษาพระอาจารย์ทองอินทร์ยังฝังใจและไม่ลืมเลยว่า
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
18 กุมภาพันธ์ 2015, 00:49:44 »
“ตอนที่ท่านเคยอยู่พ่อแม่ครูอาจารย์อาจารย์มั่น พอออกพรรษาแล้วเตรียมตัวออกวิเวกคนเดียวตั้งใจทำความเพียรบางทีเดินทางจะไปชนเอากับล้อเกวียนก็มี เพราะความสำรวมมาก ฟังดูซิการทำความเพียรไม่เหมือนพระทุกวันนี้ พระทุกวันนี้มีแต่พระแห้งลงโครง(อีแร้งรุมกินซากสัตว์ตาย) หุ้มอยู่หุ้มกินเฉยๆ(รุมอยู่รุมกินเฉยๆ) มีแต่พระกัมมัฏฐานเหลือบาตร(ฉันแล้วข้าวเหลือบาตรมาก) กัมมัฏฐานคำเข่าใหญ่(คำข้าวใหญ่) กัมมัฏฐานตาตี่(ชอบหลับ) กัมมัฏฐานหมอนกิ่ว(นอนมากจนหมอนแบน) ได้สองอย่าง ได้กินกับได้นอน...”
พอได้ฟังเทศน์ครั้งนั้นแล้วก็มีแต่อยากจะออกวิเวกอย่างคำที่พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวเทศน์ ครั้นพอเสร็จงานกฐินแล้ว ก็เตรียมตัวขอกราบลาท่าน และหมู่คณะออกวิเวกต่อไป พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวได้เน้นย้ำเรื่องออกวิเวกต้องตั้งใจทำความเพียรอย่างเดียว ห้ามสร้างโน้นสร้างนี้ ห้ามติดต่อบุคคล พร้อมทั้งเมตตาเขียนหนังสือให้พระอาจารย์ทองอินทร์ไปหาโยมอุปัฏฐากวัดที่เมืองอุดรธานี คือท่านอัยการคูณ ในขณะนั้น หลังจากนั้นพระอาจารย์ทองอินทร์ก็มุ่งหน้าสู่ภูเวียงที่เคยอยู่วิเวกกับพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ ทำความเพียรอยู่นั้นเพียงลำพังเพราะไม่มีพระตอนนั้น
ครั้นพอตกเดือนมีนาคม พระอาจารย์บุญตา ได้พาพระเณรเข้าไปวิเวกในนั้น พระอาจารย์บุญตาบอกว่า “ท่านชอบอยู่รูปเดียวต้องถ้ำมโหฬารได้กำลังใจแน่ แต่ว่าตรงนั้นผีดุมาก” วันหนึ่งได้โอกาสดีจึงขอกราบลาพระอาจารย์บุญตาไป อีกสาเหตุก็คือคนขึ้นมามากแถวอำเภอภูเวียง พระเณรและญาติโยมตามท่านก็เยอะเลยไม่สงบ ไปถึงถ้ำมโหฬารเย็นมากแล้วมีหลวงพ่อรูปหนึ่งอยู่ที่นั่นชื่อ หลวงตานา ถามข่าวเรื่องสถานที่แล้วก็เข้าปักกลดหน้าถ้ำ ทุกอย่างก็ไม่มีอะไรทำความเพียรจิตใจสงบดี ใกล้สงกรานต์ผู้คนเข้าออกบ่อยหลวงตานาแนะนำว่า “ที่สงบกว่านี้มีถ้ำผาหวาย ห่างจากนี้ไปประมาณ ๒๐ กม. เดินด้วยเท้า หากหลงทางไปถามทาง โยมเขาก็ไม่อยากจะบอกเพราะเขาขี้เกียจหามพระลงจากถ้ำ เพราะส่วนใหญ่พระไปวิเวกถ้ำผาหวายวันสองวันก็ป่วยวันสองวันก็ตาย โยมเขาว่าอย่างนั้น สอบถามดูประวัติพระที่ไปวิเวกถ้ำนั้นชอบป่วยๆ ตายๆ ดูเจตนาไม่คอยบริสุทธิ์ดี” จากคำบอกเล่าของหลวงตานาสิ่งต่างๆ มิได้เป็นอุปสรรคสำหรับพระอาจารย์ทองอินทร์ ก็พยายามไปจนถึงและอยู่ปฏิบัติ ๒ เดือนกว่า ได้กำลังใจดี
ต่อมามามีพระเข้าไปถ้ำผาหวายบอกว่า “มีถ้ำดีกว่านี้อีกและสงบมาก นอนไม่ได้เลย พระบอกว่าอย่างนั้น” เมื่อได้ทราบเช่นนั้นแล้วพระอาจารย์ทองอินทร์ก็อยากไปเพื่อประกอบความเพียรไม่ได้คิดอย่างอื่นและเห็นว่าถ้ำอยู่ลึกเข้าไปในดงเรื่องรถและถนนหนทางไม่ต้องไปถามหา ถ้ำนั้นชื่อว่า ถ้ำดินดำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ครั้นก่อนจะเข้าหน้าฝนต้องแสวงหาพ่อแม่ครูอาจารย์และสถานที่จำพรรษาตอนนั้นได้ยินแต่ชื่อ พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย และพระอาจารย์ถวิล อยู่ทางจันทบุรี จึงทดลองไปทางจันทบุรี วัดเนินดินแดง วัดยางระหงส์ ท่านพระอาจารย์ถวิล อยู่วัดเนินดินแดง ส่วนลูกศิษย์คือ ท่านพระอาจารย์สมชาย อยู่เขาสุกิม แต่ละแห่งก็อยู่ไม่นาน
ตกลงปี พ.ศ.๒๕๐๙
ก็ได้อยู่วัดเขาตานก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีท่านพระอาจารย์บุญจันทร์ เป็นหัวหน้า สำหรับท่านพระอาจารย์บุญจันทร์ ภายหลังไปอยู่ที่ถ้ำผาผึ้ง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อออกพรรษาเสร็จงานกฐินแล้วก็กลับมาถ้ำมโหฬารอีกครั้ง เพราะถ้ำมโหฬารธุดงค์ยังไม่ทั่ว พอกลับมาก็มีพระเณรประจำอยู่ ๒ รูป เป็นคนที่หนองหินนั้นเองก็เลยอยู่ด้วยกัน และได้พากันไปกราบพ่อแม่ครูอาจารย์ต่างๆ หลายรูป เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโก หลวงพ่อท่อน ญาณธโร หลวงพ่อสีทน สีลธโน ฯลฯ ได้น้อมนำข้อวัตรปฏิบัติของพ่อแม่ครูอาจารย์เหล่านี้มาเป็นแบบอย่างอยู่เสมอมา เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา ไปกราบคารวะมิได้ขาด(หรือคำว่า ขอกราบทำวัตรก่อนเข้าพรรษา) ดั่งที่ได้ปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้
เมื่อถึงเดือนเมษายนผู้คนไปกราบและชมถ้ำเยอะไม่สงบ จึงถือโอกาสไปเยี่ยมทางวัดที่นครพนม ซึ่งมีพระอาจารย์บุญศรี ญาณธมฺโม จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหัวดง บ้านน้อยหนองเค็ม มีพระอาจารย์สีลา ขันติโก จำพรรษาอยู่ ความจริงทุกๆ ปีออกพรรษาแล้วตอนอยู่นครพนมนั้นมีโยมที่ชอบออกธุดงค์ตามพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ด้วย และสุดท้ายก็ได้บวชแทบทุกคน เช่น คนแรกคือ พระอาจารย์กอง พระอาจารย์ไตร พระอาจารย์ไมล์ พระอาจารย์เลา พระอาจารย์หวา พระอาจารย์เสมอ อุตฺตโร (เจ้าอาวาสวัดขามเฒ่าองค์ปัจจุบันนี้ ) และก็มีออกบวชอยู่เสมอมาถึงทุกวันนี้ ผู้ออกบวชเหล่านี้ส่วนมากชอบขโมยไปทำให้แม่ออก(ภรรยา) ร้องไห้แทบทั้งนั้น ถือเอาวิธีการเดินตามทางของพระพุทธเจ้า ถือว่าถ้าจะขออนุญาตจากโยมภรรยาก่อนเป็นไม่ได้บวชแน่นอน เพราะใครจะปล่อยให้คนรับใช้หนีไปบวชได้ง่ายๆ โดยเฉพาะโยมผู้หญิงบ้านขามเฒ่าแล้ว ร้องไห้ตั้งหลายปีกว่าจะทำใจได้
วันหนึ่งได้ข่าวว่าพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่เทสก์จำพรรษาอยู่ทางใต้ พระอาจารย์ทองอินทร์จึงตั้งใจที่จะไปทางใต้ พอดีมีงานฉลองพระเจดีย์ที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพ่อลี ธมฺธโร จำพรรษาอยู่ที่นั้น จัดงานฉลองใหญ่โต มีพ่อแม่ครูอาจารย์ไปเยอะ ความจริงก็ไม่ชอบงานใหญ่ๆ แต่ในจิตเจตนาอยากจะไปฟังเทศน์เท่านั้น เพราะมีเทศน์ตลอดคืนจนรุ่งเช้า พ่อแม่อาจารย์สลับเปลี่ยนกันเทศน์ตลอด เสร็จงานแล้วจึงธุดงค์ไปทางใต้เพียงรูปเดียวคิดว่าทุกๆ อย่างอยู่ที่ปาก มุ่งหน้าสู่วัดที่หลวงปู่เทสก์พำนักอยู่เป็นจุดแรก ถึงภูเก็ตเช้ามืด รอให้สว่างจึงค่อยถามหาวัด มีคนแนะนำบอกทางแล้วก็เดินทาง ไปถึงวัดพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่เทสก์กลับอีสานแล้ว มีพระรองอยู่ประจำคือ หลวงพ่อพระครูสถิตบุณญรัตน์ พอเข้าไปถึงวัดแล้ววางบริขารไว้ที่ควร เข้าไปกราบท่าน ท่านก็ถามไถ่ให้ความเมตตาเป็นอย่างมาก เหตุเพราะว่าสมัยนั้นพระกัมมัฏฐานจะลงไปปักษ์ใต้ยากมาก ถามไถ่ไปๆ มาๆ หมดแล้ว คำสุดท้ายฉันหรือยัง ตอบท่านว่ายัง เพราะจวนจะ ๑๑ โมงแล้ว ท่านก็สั่งให้โยมวัดจัดถวาย พักอยู่นั้นไม่นานเท่าไหร่ ได้ข่าวว่าพระมีอายุพรรษามากมาจากอีสานก็มี พ่อแม่ครูอาจารย์ที่อยู่ใต้คือ พระอาจารย์คำพอง ติสโส ระยะนั้นวัดที่ท่านอยู่คือ วัดสถานีโคกกลอย ใกล้จะเข้าพรรษาแล้วก็เลยเข้าไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ขอปวารณาตัวให้ท่านแนะนำสั่งสอนตักเตือน ท่านก็รับไว้ด้วยความเมตตา
ปี พ.ศ.๒๕๑๐
จำพรรษาที่วัดสถานีโคกกลอย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งมีพ่อแม่ครูอาจารย์คำพอง ติสโส เป็นประธานจำพรรษาปีนั้น
ปี พ.ศ.๒๕๑๑
ขึ้นมาถึงภาคอีสานก็เข้าไปเยี่ยมวัดเดิมคือ วัดถ้ำกวาง จังหวัดขอนแก่น พักอยู่ไม่นานก็มีพระอาจารย์ทองมา เดินทางมาจากถ้ำผาปู่ ญาติโยมก็นิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษา
ปี พ.ศ.๒๕๑๒
จำพรรษาที่วัดถ้ำมโหฬาร อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีพระจำพรรษาอยู่ ๒ รูป สามเณร ๑ รูป
พ.ศ.๒๕๑๓
จำพรรษาที่วัดถ้ำกวาง ในระหว่างพรรษา ท่านพระอาจารย์ทองมา ก็พาอยู่เนสัชชิก คือไม่นอนในวันพระตลอดทั้งวัน ทั้งพระและเณร พร้อมญาติโยมผู้ไปถือศีล ๘ ได้ความอดทนดีได้สติดีมาก ครั้นพอออกพรรษาแล้วได้ออกธุดงค์อยู่ในเขตภูเวียงป่าใหญ่ ดงใหญ่มาก
ในปี พ.ศ.๒๕๑๔
โยมทางวัดถ้ำมโหฬารก็ตามไปขอร้องให้กลับไปจำพรรษาอีก พออายุพรรษามากขึ้นถึง ๑๐ กว่าพรรษาแล้ว พระเณรและคณะญาติโยมมาขออยู่ด้วยหลายปีก็มากขึ้นเป็นลำดับ
ปี พ.ศ.๒๕๑๕
ได้จำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ ออกพรรษาแล้วเสร็จงานกฐินก็กลับวัดถ้ำมโหฬารเช่นเดิม อยู่วัดถ้ำมโหฬารไปถึงปี พ.ศ.๒๕๒๐
ปี พ.ศ.๒๕๒๑
พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่สั่งไปประชุมที่วัดใหญ่(ป่ากุง) ข้อสำคัญในที่ประชุมพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภว่า มีพระมาจากทางกรุงเทพฯ อยากได้พระในสายของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ไปจำพรรษาที่ทางใต้คือ ที่โต๊ะโม๊ะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ในชื่อเต็มว่า นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ด้วยเหตุประชาชนชาวอีสานไปอยู่ที่นิคม ไม่มีที่พึ่งทางใจ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยี่ยมประชาชนพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ และพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ ประชาชนก็กราบทูลขอพระสงฆ์เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจและได้มีโอกาสทำบุญ โดยอยากได้พระป่าที่อดทนได้ดี ด้วยเหตุนั้นเองพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ จึงได้ประชุมหาผู้ที่จะไปตามที่พระผู้ใหญ่มาขอ ที่ประชุมก็ได้จัดให้พระอาจารย์ทองอินทร์เป็นหัวหน้า ผู้ที่ติดตามไปให้เลือกเอาพระ ๔ รูป สามเณร ๑ รูป คือพระอาจารย์บุญสิทธิ์(นวล) อคฺควณฺโณ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดทุ่งพุทธาราม อำเภอสวี จังหวัดชุมพร พระอาจารย์ทองคำ (ปัจจุบันไม่ทราบข่าว) พระอาจารย์สุบรรณ (ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว) ในระหว่างพรรษามีข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ จะเสด็จทุกอย่างค่อยดีขึ้น ถึงวันเสด็จก่อนเวลามีเจ้าหน้าที่เข้าไปจัดสถานที่รับเสด็จและแนะวิธีถึงเวลาก็เสด็จวัดตามหมายกำหนดการฝนเริ่มลงเม็ดแล้วก็เข้าถึงบริเวณปะรำพิธีคือ เต็นท์เป็นศาลา มีเต็นท์แค่ ๒ หลังเท่านั้นคับแคบมาก เสด็จจริงเป็น ๓ พระองค์ องค์ที่ ๓ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เข้าไปถึงก็กราบพระประธาน กราบพระสงฆ์ แล้วถวายของ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ มีรูปเหรียญของหลวงปู่แหวน ๑ ถุง ก่อนถวายเอ่ยคำแรกว่า “ดิฉันมีรูปเหมือนของครูบาอาจารย์เพื่อแจกแก่ประชาชน ท่านจะรับหรือเปล่า” “รับ “ พระอาจารย์ทองอินทร์ ตอบ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ทรงถามว่า “บนเขามีพระอยู่หรือเปล่า”
“มี” พระอาจารย์ทองอินทร์ ตอบ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ทรงถามต่อไปอีกว่า “ท่านอยู่ไง”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อยากจะขึ้นไปดูเจ้าหน้าที่รายงานว่า “ไกลและขึ้นลำบาก” เลยโดยงดเสด็จ สิ่งไม่คาดคิดและไม่ได้นึกก็คือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสถามข้อธรรมะว่า “ยกตัวอย่างกำหนดพระพุทธรูปมาบริกรรมจัดเป็นนิมิตหรือไม่”
“ไม่เรียกว่านิมิต” พระอาจารย์ทองอินทร์ ตอบไปแบบไม่ได้กำหนดจิตเลย
ทรงตรัสถามต่อไปอีกว่า “แบบไหนเรียกว่านิมิต”
“จิตรวมเป็นสมาธิแล้วเห็นเป็นรูปขึ้นมา” พระอาจารย์ทองอินทร์ ตอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสอีกว่า“ต้องเรียกว่านิมิต”
“เพราะไม่เข้าใจคำถาม จึงตอบผิด ถ้าเข้าใจคำถามเป็นคำนิมิตในสมาธิ แต่พิจารณาแล้วเป็นคำนิมิตสำหรับบริกรรมก็จัดว่านิมิตได้” พระอาจารย์ทองอินทร์ ตอบ
ต่อมาภายหลังเมื่อมีโอกาสได้นำเอามากราบพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่หัวเราะหึๆ และตอบว่า “ของตอบยากอยู่”
ปี พ.ศ.๒๕๒๒
หลังจากวันมาฆบูชาเสร็จ จัดเตรียมเครื่องอัฐบริขารเพื่อไปวิเวกที่จังหวัดเชียงราย ด้วยเหตุว่าเจ้าหน้าที่องค์การทหารผ่านศึก มาขอพระกับพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ไว้ มีมติให้พระอาจารย์ทองอินทร์ และพระอาจารย์โฮม ปญญาพโล พร้อมพระที่ติดตามไป ๖ – ๗ รูป พาพวกญาติโยมพัฒนาอยู่ตลอดหน้าแล้ง จวนเข้าพรรษาพระอาจารย์มานะ อตุโล มาอยู่แทน ในปีเดียวกันก็มีการเปิดวัดสาขาใหม่ที่อำเภอฝาง เชียงใหม่ขึ้นอีก ๑ แห่ง (วัดป่าโป่งถืบ บ้านโป่งถืบ ตำบลเวียง) ที่อำเภอฝางให้พระอาจารย์หนูไปอยู่ก่อน
ปี พ.ศ.๒๕๒๒ – ๒๕๒๓
กลับไปจำพรรษาวัดถ้ำมโหฬารเช่นเคย
ปี พ.ศ.๒๕๒๔ - ๒๕๒๘
มีพิธีมอบวัดอีกที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา(วัดเขาไทรสายัณห์ บ้านโปร่งประทุน ตำบลปากช่อง) ประชุมหาผู้ที่จะอยู่เป็นหัวหน้าไม่มี ที่ประชุมคณะสงฆ์เสนอให้พระอาจารย์ทองอินทร์เป็นหัวหน้าพาหมู่คณะอยู่ที่วัดเขาไทรสายัณห์ ปีแรกเดินบิณฑบาตถึงสถานีรถไฟเข้าในตลาดขากลับออกเดินทางถนนใหญ่เดินขึ้นวัด ไม่ได้สบายเหมือนทุกวันนี้ อยู่ที่นั่นซ่อมแซมเสนาสนะ ทำรั้วล้อมวัด อยู่นาน ๒ พรรษา ถึงปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระอาจารย์มณี ธมฺมรํสี ไปอยู่แทนจนกระทั่งถึงปัจจุบัน(ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๔ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่พาไปกราบที่สำคัญประเทศอินเดีย) จากนั้นได้กลับมาประจำที่วัดถ้ำมโหฬารอีก ถึงปี พ.ศ.๒๕๒๙
ในปี พ.ศ.๒๕๓๐
หมู่คณะพระมาจากประเทศอินโดนีเซียกราบนิมนต์ให้ไปเยี่ยม จึงเดินทางไปพร้อมด้วยพระอาจารย์มานะ อตุโล และจำพรรษาที่วัดพุทธเมตตาอารามที่กรุงจากาตาร์ ที่แห่งนี้พระอาจารย์ทองอินทร์ได้เปิดการบิณฑบาตเป็นรูปแรก พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ก็เดินทางไปส่งด้วยในครั้งนั้นใกล้จะเข้าพรรษาปี พ.ศ.๒๕๓๑ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ชอบอากาศที่เมืองปุนจักมาก ประกอบด้วยอิบูยันติมีความเคารพเลื่อมใสพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่มาก เลยขออาราธนานิมนต์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่จำพรรษาพร้อมพระอาจารย์มานะ อตุโล ที่ไร่ชาของอิบูยันติ ส่วนพระอาจารย์ทองอินทร์ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดประชาคมวนารามแทนพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ ครั้นออกพรรษาแล้วก่อนจะกลับทางออสเตรเลียได้นิมนต์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่เอาไว้นานแล้ว ดังนั้นจึงได้ไปประเทศออสเตรเลีย กลับประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๓๑
ในปี พ.ศ.๒๕๓๒
พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่กลับมาแล้ว พระอาจารย์ทองอินทร์ก็กลับคืนมาอยู่ประจำที่วัดถ้ำมโหฬารอีกครั้ง จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๕๓๖ ที่ประชุมคณะสงฆ์มีมิติให้มาช่วยดูแลการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ที่วัดถ้ำผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ได้ ๖ พรรษา
ปี พ.ศ.๒๕๓๗
มีญาติโยมศรัทธาต้องการถวายวัดแก่พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่ที่เมืองฮ่องกง จึงได้เดินทางไปเมืองฮ่องกงพร้อมกับองค์หลวงปู่ คณะสงฆ์ และญาติโยมจำนวนมาก หลวงปู่ได้ตกลงให้พระอาจารย์มานะ อตุโลและพระอาจารย์สมปอง ธมฺมาลโยอยู่จำพรรษาโปรดญาติโยมชาวไทยในฮ่องกง ปัจจุบันเป็นวัดสาขาใช้ชื่อว่าวัดพุทธธรรมาราม มีพระอาจารย์มนูญ อคฺคปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส
ปี พ.ศ.๒๕๔๒
มหาวิทยาลัยสารคาม ได้ก่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ที่ดินเยอะประกอบกับมีวัดเก่าแก่อยู่ในเขตมหาวิทยาลัย ชื่อวัดกู่แก้ว ซึ่งมีตระกูลคณะอธิการบดี โดยการนำของ ดร.พิศมัย พร้อมทั้งคณาจารย์และคณะศรัทธาชาวบ้านประสงค์อยากให้มีพระประจำพอได้แนะนำสั่งสอนพุทธบริษัท พร้อมจะได้แนะนำนักศึกษาให้รู้แนวทางดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อความผาสุกและร่มเย็นเมื่อจบการศึกษาออกไปประกอบอาชีพในทางที่ถูกที่ควร ท่านพระอาจารย์ทองอินทร์ก็ได้เมตตามาจำพรรษาโปรดญาติโยมให้
ในปี พ.ศ.๒๕๔๓
วันมาฆบูชา มีการประชุมที่เขาใหญ่ สวนวาสนา ข้อสำคัญในที่ประชุมก็คือ โยมชัช –โยมวาสนา มีความประสงค์อยากให้มีพระสงฆ์ประจำวัดสวนวาสนานี้ ท่านพระอาจารย์ทองอินทร์ก็ได้มาประจำพรรษาที่เขาใหญ่ติดต่อกันมานับแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓ – ๒๕๔๖ ติดต่อกัน
ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ - ๒๕๔๘
พระอาจารย์ทองอินทร์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ากุง และเป็นผู้นำในการก่อสร้างเจดีย์หินวัดป่ากุง ใช้เวลาก่อสร้าง ๒ ปีกว่า (๒๕๔๗-๒๕๔๙)
ในปี พ.ศ.๒๕๔๙
พระอาจารย์ทองอินทร์ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดรัตนประทีปวิหาร เมืองอดีเลส ประเทศออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ.๒๕๕๒
โยมสินชัยได้ถวายที่ดินและเสนาสนะแก่พระอาจารย์ทองอินทร์ที่ อ.หนองพอก ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มเติม แล้วตั้งชื่อว่าวัดป่าพัฒนาจิตกตปุญฺโญ และอยู่จำพรรษาอยู่จนถึงปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
18 กุมภาพันธ์ 2015, 00:50:02 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
18 กุมภาพันธ์ 2015, 00:50:13 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #5 เมื่อ:
18 กุมภาพันธ์ 2015, 00:50:25 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #6 เมื่อ:
20 กุมภาพันธ์ 2015, 06:52:02 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #7 เมื่อ:
20 กุมภาพันธ์ 2015, 06:52:14 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #8 เมื่อ:
20 กุมภาพันธ์ 2015, 06:52:24 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #9 เมื่อ:
20 กุมภาพันธ์ 2015, 06:52:35 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #10 เมื่อ:
20 กุมภาพันธ์ 2015, 06:52:46 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #11 เมื่อ:
23 กุมภาพันธ์ 2015, 19:42:56 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #12 เมื่อ:
23 กุมภาพันธ์ 2015, 19:43:08 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #13 เมื่อ:
23 กุมภาพันธ์ 2015, 19:43:20 »
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
«
ตอบกลับ #14 เมื่อ:
23 กุมภาพันธ์ 2015, 19:43:31 »
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
2
3
...
55
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
พระเถรานุเถระ พระเกจิอาจารย์ และองค์ปู่ฤาษี
»
พระราชพัชรญาณมุนี วิ (หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ) วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
Tweet