ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
อีสานบ้านเฮาและคลังแห่งการเรียนรู้วิถีชาวบ้าน
»
ภาษาพื้นบ้านอีสาน กลอน สุภาษิตและผญา
»
ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง (อ่าน 3483 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
«
เมื่อ:
30 กันยายน 2012, 23:22:41 »
ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
ประวัติศาสตร์อีสาน - ล้านช้าง
การนำเสนอภูมิหลังประวัติศาสตร์อีสาน - ล้านช้าง แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
๑.ประวัติศาสตร์อีสาน
๒.ประวัติศาสตร์ล้านช้าง
๓.ประวัติศาสตร์อีสาน - ล้านช้าง
ประวัติศาสตร์อีสาน
ดินแดนอีสานเป็นพื้นที่ ๆ มีการพบแหล่งโบราณคดีทั้งก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์จำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอีสานเป็นดินแดนที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่อดีต ชุมชนต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นรัฐ โดยมีแหล่งชุมชนโบราณจำนวนมากกระจายอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีและลุ่มแม่น้ำมูล โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งนิยมทำคูน้ำคันดินเป็นวงรีหรือวงกลมรอบเมือง นิยมตั้งเมืองใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกในการชักน้ำเข้ามาเก็บในคูเมือง และกลุ่มวัฒนธรรมขอม ที่ผังเมืองมักจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีการขุดบารายไว้เป็นแหล่งน้ำในเมือง
จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่ขยายครอบคลุมดินแดนอีสานในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ หลังจากนั้นอาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ดินแดนอีสาน โดยมีอิทธิพลสูงมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘
อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๖๑) อิทธิพลของขอมในแผ่นดินอีสานเริ่มเสื่อมลง และเป็นการเริ่มยุคอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ. ๑๘๙๖-๑๙๑๖ ) ที่ก่อตัวเข้มแข็งขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขงได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนอีสาน ครอบคลุมอาณาเขต ๒ ฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง ชุมชนโบราณขนาดใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นชุมชนขนาดเล็ก และรับอิทธิพลแบบของล้านช้าง
งานของสิลา วีระวงส์ กล่าวว่า หัวเมืองภาคอีสานของไทยนับตั้งแต่หนองหานลงไปจนถึงเมืองร้อยเอ็ด แต่ก่อนอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมทั้งหมด ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในปี พ.ศ.๑๘๒๗ เมื่อถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๙๓ แขวงเมืองร้อยเอ็ดได้ตกอยู่ปกครองของอยุธยา ดังนั้น พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพลงไปตีเอาเมืองร้อยเอ็ดและเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองพระศาสตร์ เมืองพระสะเขียน เมืองพระลิง เมืองพระนารายณ์ เมืองพระนาเทียน เมือง เซขะมาด เมืองสะพังสี่แจ เมืองโพนผิงแดด
เมืออาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาในดินแดนอีสาน ทั้งสองอาณาจักรจึงประนีประนอมปักปันเขตแดนในสมัยพระเจ้าอู่ทอง โดยอาณาจักรล้านช้างทำการปกครองตั้งแต่ "ดงสามเส้า" หรือ "ดงพระยาไฟ" ไปจนถึงภูพระยาพ่อและแดนเมืองนครไทย และรวมก่อตัวเป็นอารยธรรมลุ่มน้ำโขง ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์อีสาน - ล้านช้าง
ประวัติศาสตร์ล้านช้าง
การเริ่มต้นประวัติศาสตร์ล้านช้าง จากหลักฐานเอกสารโบราณและวรรณกรรมมุขปาฐะต่าง ๆ ล้วนอบอวนไปด้วนกลิ่นอายของนิทาน ตำนานต่าง ๆ ทั้งที่ถูกถ่ายทอดไว้ด้วยเรื่องเล่ามุขปาฐะ และที่บันทึกไว้ในเอกสารโบราณ เช่น คัมภีร์ใบลาน จารึก ใบจุ้ม เป็นต้น เช่น ท้าวฮุ่ง-ท้าวเจือง พื้นขุนบรม เรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อเราถอดรหัสทางวัฒนธรรมจะเห็นถึงพัฒนาการทางสังคมการเมืองการปกครองของชุมชนลุ่มน้ำโขง ทำให้เราทราบว่าพัฒนาการทางการเมืองของดินแดนอีสานล้านช้างเริ่มต้นด้วยกลุ่มชนเผ่าแล้วคลี่คลายเป็นอาณาจักรล้านช้าง เช่น พื้นขุนบรม กล่าวว่า ขุนบรมราชาธิราช(จีนเรียกว่า พีล้อโก๊ะ)เป็นกษัตริย์ครองนครหนองแส (จีนเรียกว่า ต้าลีฟู) โดยสร้างเมืองอยู่ที่เมืองนาน้อยอ้อยหนูเรียกว่า เมืองแถน และสร้างเมืองต้าหออีกแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือนครหนองแส ๔๐ ลี้ ต่อมาขุนบรมได้ส่งพระราชโอรสทั้ง ๗ องค์ออกไปสร้างบ้านเมืองต่าง ๆ ในดินแดนอุษาคเนย์ พื้นขุนบรมนี้จึงมีอิทธิพลต่อความเชื่อของกลุ่มชนล้านช้างมาก ขุนบรมได้รับยกย่องให้เป็นบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ไท (Tai) โอรสทั้ง ๗ ได้ไปสร้างเมืองบ้านเมืองต่าง ๆ ดังนี้
๑. ขุนลอ หรือ ขุนซวา บุตรคนโต ให้ไปเมืองเชียงดงเชียงทอง จากตำนานพื้นขุนบรมนี้จึงถือได้ว่าขุนลอเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ปกครองเมือง "ซวา" (ออกเสียงตามคำลาว) หรือเมืองหลวงพระบาง ตำนานว่าเดิมนั้นเมืองซวาเป็นถิ่นของ "ข้ากันฮาง" ขุนลอสู้รบได้ชัยชนะขับไล่ข้ากันฮางไปอยู่ภูเลาภูคา
๒.ขุนยี่ผาลาน ไปสร้างเมืองต้าหอ หรือเมืองหอแตก หรือหอแต
๓.ขุนสามจุสง ไปสร้างเมืองจุฬนี คือแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหกในปัจจุบัน พงศาวดารล้านช้างกล่าวว่าขุนสามจุสงไปสร้างเมืองบัวชุม หรือญววนแกวแคว้นตังเกี๋ย
๔.ขุนไสพง ไปสร้างเมืองยวนโยนกนาคนคร หรือเมืองเชียงแสน
๕.ขุนงั่วอิน ไปสร้างเมืองอโยธยา
๖.ขุนลกกลม ไปสร้างเมืองคำเกิด หรือเมืองภูเหิด บ้างว่าเมืองเชียงคาม ปัจจุบันอยู่ลาวใต้
๗.ขุนเจ็ดเจิง หรือ เจ็ดเจือง ไปสร้างเมืองเชียงขวาง หรือเมืองพวน
สาระนี้จะจริงหรือไม่อย่างไรแม้จะไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในขณะนี้ แต่อย่างน้อยร่องรอยที่ปรากฏในตำนานนั้นทำให้เราทราบว่า กลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ที่เข้ามาในดินแดนอุษาคเนย์นั้นมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
ลำดับเรื่องราวการปกครองในดินแดนหลวงพระบางต่อจากขุนลอปรากฎผู้ปกครองอีก ๒๖ องค์ แบ่งเป็นผู้มีคำนำหน้าว่า "ขุน" ๑๖ องค์ "ท้าว" ๖ องค์ และ "พญา" ๔ องค์ตามลำดับ ในยุคของพญานั้น เริ่มมีการระบุศักราช คือปีพ.ศ.๑๘๑๔ พญาลัง ขึ้นครองราชย์เป็นพญาองค์แรก ดังนั้น ปี ๑๘๑๔ นี้จึงเป็นศักราชที่เก่าที่สุดที่สามารถสืบไปถึงตามที่ระบุไว้ในตำนาน อย่างไรก็ตามการระบุศักราชดังกล่าวเป็นการระบุในพงศาวดารเมืองหลวงพระบางที่เรียบเรียงขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตำนานปรัมปราได้คลี่คลายกลิ่นอายของอภินิหารลงเมื่อถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๖-๑๙๑๖ เนื่องจากปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ มากขึ้น
เอกสารจีนที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๘ ชื่อ ji-gu-dian-shuo ซึ่งบันทึกเรื่องราวยูนานโบราณ ได้ระบุถึงเมือง "Zhua-guo" คำว่าguo หมายถึงเมือง ส่วนคำว่า Zhua นั้นชาวจีนน่าจะจดบันทึกตามเสียง "ซวา" หลักฐานนี้ช่วยยืนยันถึงความสำคัญของเมืองซวาในอดีตว่าเมืองซวาที่ได้รับการยอมรับจากจีน นอกจากนี้การยอมรับของสุโขทัยตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ สมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า เขตแดนทางทิศเหนือไปถึงแม่น้ำโขง และเมืองซวา ล้วนเป็นหลักฐานการยอมรับความเป็นรัฐของ "อาณาจักรล้านช้าง" ที่มีตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือก่อนปีที่พระเจ้าฟ้างุ้มขึ้นครองราชแล้ว
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม อารยธรรมของอาณาจักรล้านช้างได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในดินแดนภาคอีสาน และรวมก่อตัวเป็นอารยธรรมลุ่มน้ำโขง ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์อีสาน - ล้านช้าง
ประวัติศาสตร์อีสาน - ล้านช้าง
จากพื้นประวัติศาสตร์ที่นำเสนอข้างต้น จึงพอจะอนุมานได้ว่า การเริ่มต้นของ อีสาน - ล้านช้าง น่าจะเริ่มจากรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรล้านช้างมีอิทธิพลครอบคลุมลงมาถึงดินแดนอีสน
เขตแดนระหว่างล้านช้างกับอยุธยานั้นปรากฏในเอกสารของลาลูแบร์ราชทูตฝรั่งเศสที่มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) ณ กรุงศรีอยุธยา ระบุว่า เมืองนครราชสีมา "เป็นเมืองชายแดนที่อยู่ติดพรมแดนลาว" แสดงว่าอาณาเขตของล้านช้างอยู่ลึกมาถึงเมืองนครราชสีมา นอกจากนี้ ใน"นิราศหนองคาย" บองนายทิม สุขยางค์ ระบุว่าเมื่อพ้นเมืองพิมายออกไปถึงลำสะแทกนั้นเป็นเขตเมืองลาว ดังนี้
ก็เสร็จข้ามแม่น้ำลำสะแทก
เป็นลำแยกจากมูลศูนย์กระแส
สิ้นเขตแดนพิมายเมืองชำเลืองแล
เข้าแขวงแควเมืองลาวชาวอรัญ
การเมืองการปกครอง ใน อีสาน - ล้านช้าง
ระบบการเมืองการปกครองในดินแดน อีสาน - ล้านช้าง แบ่งเป็นระดับนครหลวง หัวเมืองใหญ่ หรือเมืองประเทศราช และหัวเมืองขึ้นซึ่งอยู่ในแขวงหัวเมืองใหญ่นั้น ในระดับหัวเมืองซึ่งมีอิสระในการจัดการปกครองตามธรรมเนียมล้านช้าง สามารถแบ่งได้เป็น ๕ ระดับ ดังนี้
๑.อาญาสี่ เป็นตำแหน่งสูงสุดในการปกครองหัวเมือง สามารถเทียบกับตำแหน่งสำคัญของราชธานีได้ดังนี้
ราชธานี หัวเมืองใหญ่(ประเทศราช) หัวเมืองขึ้นในแขวงหัวเมืองใหญ่
เจ้ามหาชีวิต, เจ้าแฟ่นดิน, เจ้าชีวิต เจ้าเมือง,เจ้านคร เจ้าเมือง
เจ้าอุปฮาด (เจ้าอุปราช) อุปฮาด (อุปราช) อัคคฮาด (อัคคราช)
เจ้าราชวงศ์ ราชวงศ์ อัคควงศ์
เจ้าราชบุตร ราชบุตร อัคคบุตร
ข้อมูลเทียบตำแหน่ง จากบุญช่วย อัตถากร
อำนาจหน้าที่ของอาญาสี่ มีดังนี้
เจ้าเมือง เป็นผู้มีสิทธิขาดในการบัญชาอาญาสี่ กรมการเมือง และข้าราชการในเขตปกครอง แต่ไม่มีสิทธิ์ในบางเรื่อง เช่น การตัดสินโทษประหารชีวิต หรือการแต่งตั้งถอดถอนกรมการเมืองผู้ใหญ่ตั้งแต่ อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ไม่อาจทำเองได้ เว้นแต่จะได้รับโปรดเกล้าฯ จากเจ้ามหาชีวิต
อุปฮาด เป็นตำแหน่งรองเจ้าเมือง มีหน้าที่ปฏิบัติราชการแทนเจ้าเมืองตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นที่ปรึกษาสำคัญของเจ้าเมือง เป็นผู้รวบรวมบัญชีส่วยสาอากร ควบคุมและวางระเบียบสิ่งของแทนเงินได้ และมีอำนาจในการเกณฑ์ราษฎรไปราชการสงคราม
ราชวงค์ เป็นผู้แทนอุปฮาด ทำหน้าที่เกี่ยวกับอรรถคดี ตัดสิ้นถ้อยชำระความได้คล้ายกับอุปฮาด
ราชบุตร โดยมากมักเป็นตำแหน่งของลูกคนโตของเจ้าเมือง หรืออาจเป็นผู้ไม่สืบเชื้อสายเกี่ยวข้องกับเจ้าเมืองหรืออุปฮาดเลย ขึ้นอยู่กับพระราชโองการ ราชบุตรมีหน้าที่ช่วงราชการที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติกิจด้านศาสนา ไร่นา ถนนหนทาง และการเก็บภาษีอากรต่าง ๆ ต้องผ่านราชบุตร
๒.ผู้ช่วยอาญาสี่
มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวสุริยะ ท้าวสุริโย ท้าวโพธิสาร และท้าวสุทธิสาร เป็นกลุ่มวงศ์ญาติของอาญาสี่ มีหน้าที่พิจารณาคดีพิพากษาแห่งศาลเมืองชั้นสูง และปกครองแผนกต่าง ๆ ของเมือง
๓.ขื่อบ้านขางเมือง
เป็นตำแหน่งรองจากผู้ช่วยอาญาสี่ มีตำแหน่งหน้าที่ดังนี้
ขื่อเมือง มี ๒ ตำแหน่ง
เมืองแสน มีหน้าที่กำกับฝ่ายกลาโหม ดูแลกำลังพลในเมือง
เมืองจันทน์ มีหน้าที่กำกับฝ่ายมหาดไทย ดูแลกำกับพลเรือน
ขางเมือง มีเป็นตำแหน่งรองจากขื่อบ้าน ได้แก่
เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาบัญชีไพร่พล บัญชีเลก ผู้ไปมีภรรยาต่างเมือง งานราชทัณฑ์ ควบคุมดูแลการปฏิสังขรณ์วัด และดูแลวัสดุครุภัณฑ์
เมืองคุก เมืองฮาม เมืองแพน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง
นาเหนือ นาใต้ รับผิดชอบจัดหาเสบียงขึ้นยุ้งฉาง ออกเดินเก็บส่วย เก็บเงินภาษีอากรไพร่พลซึ่งไปมีบุตรภรรยาอยู่ต่างเมือง เรียกว่า "เลกเขยสู่" จัดสำรวจสำมะโนครัวประชากรในอาณาเขตทุก ๓ ปี ควบคุมรักษาสัตว์พาหนะ รับผิดชอบแทงจำหน่ายเลกที่ หนี หาย ตาย พิการ ชรา อุปสมบทฯ
ซาเนตร ซานนท์ เป็นเลขาของขื่อเมือง
ซาบัณฑิต เป็นโฆษกอ่านพระราชโองการ หรือคำสั่งเจ้าเมือง กล่าวคำแช่งน้ำพิพัฒน์สัตยา อ่านสารตราจากต่างเมือง รวมทั้งแต่งตำราต่าง ๆ ด้วย
กรมเมือง ทำหน้าที่รักษาขนบธรรมเนียม จารีต ฮีต คอง ประเพณีต่าง ๆ
สุโพ ทำหน้าที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
หมายเหตุ ตำแหน่งขื่อบ้านขางเมืองเหล่านี้ หากเป็นเมืองราชธานี หรือมีกษัตริย์ปกครอง จะใช้คำว่า "พระยา" นำหน้า ถ้าเห็นหัวเมือง จะใช้คำว่า "เพีย" นำหน้า ผู้สืบเชื้อสายเพศชายใช้ชื่อ "ท้าว" นำหน้า เพศหญิงใช้ชื่อ "นาง" นำหน้า
๔. ตำแหน่งพิเศษ เป็นตำแหน่งที่อาจตั้งเพิ่มขึ้นตามความจำเป็น ได้แก่
เพียซาโนซิด ซาภูธร ราชต่างใจ คำมุงคุล ทำหน้าที่มหาดเล็ก
เพียซาบรรทม ทำหน้าที่จัดที่บรรทม
เพียซาตีนแท่นแล่นตีนเพียง เป็นพนักงานตามเสด็จ หรืออารักขาเจ้าเมือง
เพียซาหลาบคำ มีหน้าที่เชิญพระแสงศาตราวุธ
เพียซามณเฑียร มีหน้าที่รักษาพระราชวัง ปราสาท ราชมณเฑียร
เพียซาบุฮ่ม ทำหน้าที่กั้นพระกลด หรือโบกจามร
เพียแขกขวา แขกซ้าย ทำหน้าที่รับแขกเมือง
เพียศรีสุนนท์ เพียศรีสุธรรม เพียศรีบุญเอือง เพียศรีอัครฮาด และเพียศรีอัครวงศ์ ทำหน้าที่จัดการศึกษาและการศาสนา
๕. ตำแหน่งระดับชุมชนขนาดเล็ก มี ๔ ตำแหน่งคือ
ท้าวฝ่าย เทียบได้กับนายอำเภอ
ตาแสง หรือ นายแขวง เทียบได้กับกำนัน
กวนบ้าน หรือ นายบ้าน เทียบได้กับผู้ใหญ่บ้าน
จ่าบ้าน เทียบได้กับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือสารวัตรกำนัน
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ตุลาคม 2012, 00:03:37 โดย HS4 VQN
»
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
30 กันยายน 2012, 23:49:23 »
ขอบคุณครับ
( ตัวหนังสือเล็กไปนิด ทำให้หนุ่มๆอย่างบ่าวแก่นทอง อ่านยากครับ )
นานๆมาทีใส่หนักๆเลยนะครับท่าน
HS4VQN
บันทึกการเข้า
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
01 ตุลาคม 2012, 06:44:08 »
งึด
HS4VQN
เปลี่ยน
บันทึกการเข้า
hs4ppp
Sr. Member
กระทู้: 341
Re: ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
01 ตุลาคม 2012, 08:14:41 »
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
สาวแก่นทองคนใจใหญ่ ขวัญใจพ่อใหญ่
HS4MM
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
02 ตุลาคม 2012, 12:44:59 »
เกิดบอทัน
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
อีสานบ้านเฮาและคลังแห่งการเรียนรู้วิถีชาวบ้าน
»
ภาษาพื้นบ้านอีสาน กลอน สุภาษิตและผญา
»
ประวัติศาสตร์ อีสาน - ล้านช้าง
Tweet