ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์
»
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อ่าน 2672 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
e29cl
Sr. Member
กระทู้: 257
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
«
เมื่อ:
24 มีนาคม 2012, 08:45:23 »
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
สรุปหลักพุทธศาสนา
๑.พุทธศาสนามีหลักการเดียวกับวิทยาศาสตร์ คือ
๑. สอนอย่างมีเหตุผล
๒. ศึกษาจากของจริงที่มีอยู่จริง
๓. เชื่อจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
๒.คำสอนทั้งหมดของพุทธศาสนาสรุปอยู่ที่
๑. ละเว้นความชั่วทั้งปวง
๒. ทำความดีให้เต็มเปี่ยม
๓. ทำจิตให้บริสุทธิ์
๓.พุทธศาสนามีคำสอนอยู่ ๒ ระดับ คือ
๑. ระดับศีลธรรม หรือระดับต่ำ ที่สอนให้ละเว้นความชั่ว และทำความดี โดยเอาไว้สอนคนที่ความรู้น้อย เช่นชาวบ้าน
๒. ระดับสูง ที่สอนให้ทำจิตให้บริสุทธิ์ หรือดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ โดยเอาไว้สอนคนที่มีความรู้
๔.คำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนาก็คือ คำสอนระดับสูง คือ เรื่อง อริยสัจ ๔ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดับทุกข์ อันได้แก่[/b]
๑. ทุกข์ คือเรื่องความทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน
๒. สมุทัย คือเรื่องสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง
๓. นิโรธ คือเรื่องความดับสนิทของความทุกข์ทั้งปวง
๔. มรรค คือเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ทั้งปวง
ส่วนคำสอนระดับศีลธรรมนั้น ไม่ใช่คำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนา เพราะศาสนาไหนๆเขาก็มีคำสอนเช่นนี้กันอยู่แล้ว อีกทั้งคำสอนระดับศีลธรรม ก็ยังเจือปนอยู่กับเรื่องงมงายที่ปลอมปนเข้ามามากมายในภายหลัง ซึ่งไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และขัดแย้งกับคำสอนระดับสูงอย่างมาก ถ้าใครยึดถือในคำสอนระดับศีลธรรม ก็จะไม่เข้าใจคำสอนระดับสูงได้ ดังนั้นคำสอนส่วนใหญ่ของพุทธศาสนา จึงมุ่งเน้นมาที่เรื่องการดับทุกข์นี้เท่านั้น
๕.พุทธศาสนาสอนว่า เมื่อเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนา อย่าเพิ่งสนใจเรื่องเหล่านี้ คือ
๑. เรื่องว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอริยะทั้งหลาย ว่าจะมีจริงหรือไม่?
๒. เรื่องว่าสมาธิจะมีจริงหรือไม่? หรือทำให้เกิดอะไรที่น่าอัศจรรย์ขึ้นมาได้จริงหรือไม่?
๓. เรื่องว่าเมื่อเราทำสิ่งใดไว้แล้ว จะต้องได้รับผลจากการกระทำนั้นในอนาคตจริงหรือไม่?
๔. เรื่องที่ไร้สาระทั้งหลายของโลก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดับทุกข์
เหตุที่ไม่ให้สนใจเรื่องเหล่านี้ก็เพราะ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการดับทุกข์เลย และเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีของจริงมาให้ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ ถ้าใครหลงไปศึกษา ก็จะทำให้เสียเวลาอยู่กับเรื่องเหล่านี้ และอาจเกิดความเข้าใจผิดหรือไขว้เขวขึ้นมาได้ ต่อเมื่อศึกษาตามหลักการของพุทธศาสนาจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดสิ้นไปเอง
๖.พุทธศาสนาจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันเท่านั้น ไม่สอนเรื่องหลังจากตายไปแล้ว คือพุทธศาสนาจะสอนให้เราศึกษาชีวิตในปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ จนเกิดความเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้งก่อน แล้วก็จะเข้าใจเรื่องภายหลังจากความตายได้ด้วยตนเอง โดยไม่เชื่อจากใครๆ
๗.พุทธศาสนาจะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ โดยสอนว่า
๑. อย่าเชื่อจาก ฟังต่อบอกต่อกันมา
๒. อย่าเชื่อจาก เห็นเขาทำตามๆกันมา
๓. อย่าเชื่อจาก คำล่ำลือ
๔. อย่าเชื่อจาก ตำรา
๕. อย่าเชื่อจาก เหตุผลตรงๆ (ตรรกะ)
๖. อย่าเชื่อจาก เหตุผลแวดล้อม (นัยยะ)
๗. อย่าเชื่อจาก สามัญสำนึกของเราเอง
๘. อย่าเชื่อจาก มันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่
๙. อย่าเชื่อจาก ผู้สอนนี้ดูน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อจาก ผู้สอนนี้เป็นครูของเราเอง
เมื่อได้รับคำสอนใดมา ให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษ ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีโทษและมีประโยชน์ ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าไม่ได้ผลก็ให้ละทิ้งไป แต่ถ้าได้ผลจึงค่อยเชื่อและรับเอามาปฏิบัติต่อไป
๘.พุทธศาสนามีหลักการศึกษาอยู่ ๓ ระดับ คือ
๑. ศึกษาจากการฟัง หรืออ่านมา
๒. ศึกษาจากการคิดพิจารณา
๓. ศึกษาจากการปฏิบัติจริง
ในขั้นแรกพุทธศาสนาจะสอนให้ฟังหรือ่านมาก่อน แล้วนำมาคิดพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง แล้วจึงนำความเข้าใจนั้นมาทดลองปฏิบัติ จึงจะได้รับผลจริง เพียงแค่การฟังมาหรืออ่านมานั้นยังไม่มีผลอะไร แม้ความเข้าใจก็ยังช่วยได้เพียงทำให้ความทุกข์บรรเทาเบาบางลงท่านั้น จะต้องมีการปฏิบัติจริงอย่างถูกต้องสมบูรณ์ จึงจะมีผลเป็นความดับลงของทุกข์จริง
๙.การที่จะรู้จักพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแค่การฟังมาหรืออ่านมาเท่านั้น เพราะอาจจะได้รับคำสอนที่ผิดมาก็ได้ จะต้องถึงขั้นมีความ ?เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง? เท่านั้น จึงจะเรียกได้ว่ารู้จักพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแท้จริง ซึ่งการที่จะเกิดความเข้าใจพุทธศาสนาอย่างแจ่มแจ้งนั้น จะต้องศึกษากฎสูงสุดของธรรมชาติ จนเกิดความเข้าใจ แล้วนำกฎนั้นมาศึกษาร่างกายและจิตใจของเรา จนเกิดความเข้าใจว่า ?แท้จริงไม่มีเรา? จึงจะเรียกว่าเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
๑๐.พุทธศาสนาจะสอนเรื่องง่ายๆ พื้นๆ ที่เราทุกคนสามารถศึกษาให้เกิดความเข้าใจได้ และปฏิบัติได้จริงโดยไม่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษอะไรเลย ส่วนเรื่องลึกลับไกลตัว หรือเรื่องยากๆที่เราอาจจะเคยได้ฟังมานั้น เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งทำให้ยากแก่การศึกษาหรือศึกษาไมได้เลย และไม่ทำให้เกิดความเข้าใจขึ้นมาได้จริง มีแต่ทำให้เกิดความลังเลสงสัยยิ่งขึ้น เราจึงไม่ควรสนใจ
๑๑.คำสอนในพุทธศาสนานั้นสามารถย่อลงให้เหลือเพียงประโยคเดียวได้ และสามารถขยายออกไปได้มากมาย ซึ่งคำสอนโดยย่อนั้นก็คือ ?สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน? ซึ่งนี่ก็คือ หลักอริยสัจ ๔ โดยสรุป
๑๒.หลักอริยสัจ ๔ จะสอนว่า ?ความทุกข์ทั้งหมดของจิตใจมนุษย์ เกิดมาจากสาเหตุเดียว คือ ความยึดถือว่ามีตัวเรา? (ความยึดถือ ก็คือ ความอยากให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามที่จิตอยากจะให้เป็น แต่เมื่อมันไม่เป็นไปตามที่จิตอยาก จิตที่อยากนั้นจึงเป็นทุกข์)
๑๓.หลักอริยสัจ ๔ จะสอนว่า ?เมื่อไม่มีความยึดถือว่ามีตัวเรา ความทุกข์ทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น? เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น ปลอดโปร่ง สดชื่นแจ่มใส ซึ่งพุทธศาสนาจะเรียกว่า ?นิพพาน? ที่แปลว่า ความดับสิ้นไปของทุกข์
๑๔.วิธีปฏิบัติเพื่อไม่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราได้นั้น จะต้องใช้จิตที่เข้มแข็ง (มีสมาธิ) มาระงับความยึดถือนี้ โดยมีความเข้าใจว่า ?แท้จริงมันไม่เรา? (มีปัญญา) มาคอยควบคุม และมีจิตที่ปกติ (มีศีล) เป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว ถ้าปฏิบัติได้ชั่วคราว ทุกข์ก็ดับลงเพียงชั่วคราว แต่ถ้าปฏิบัติได้ถาวร ทุกข์ก็ดับลงถาวร
๑๕.ศีลนั้นเราทุกคนก็สามารถปฏิบัติได้ ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น แม้ด้วยกายหรือวาจาก็ตาม เพียงท่านี้เราก็มีศีลได้เองแล้ว
๑๖.สมาธินั้น เพียงเราตั้งใจในการคิด การพูด หรือการเคลื่อนไหวของร่างกายให้มั่นคงต่อเนื่องกันได้นานๆ เราก็มีสมาธิที่พร้อมใช้ดับทุกข์ได้แล้ว ถ้าใครยังทำไม่ได้ ก็ต้องไปฝึกมาก่อน
๑๗.ส่วนปัญญานั้น เพียงเรามีความเข้าใจอย่าถูกต้องว่า ?แท้จริงไม่มีสิ่งใดหรือสภาวะใดที่จะเป็นเราหรือตัวเราได้? เพียงเท่านี้เราก็มีปัญญาที่แท้จริงขึ้นมาแล้ว
๑๘.การที่จะเกิดความเข้าใจว่าไม่มีเราได้นั้น จะต้องเข้าใจถึงกฎสูงสุดของธรรมชาติ ก่อนว่า ?ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมาจากเหตุและปัจจัย(ปัจจัย หมายถึง สิ่งที่มาช่วยสนับสนุน) เท่านั้น? คือสิ่งใดจะเกิดขึ้น จะต้องอาศัยสิ่งอื่นหลายๆสิ่งมาปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นเสมอ ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่ได้ลอยๆโดยไม่มีสิ่งอื่นมาปรุงแต่ง
๑๙.เมื่อทุกสิ่งเกิดขึ้นมาและตั้งอยู่ได้เพราะเหตุปัจจัย ดังนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา จึงไม่มีสภาวะที่จะเป็นตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ชนิดที่จะเป็นตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรหรือเป็นอมตะได้ คือเมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นมาแล้ว ก็จะต้องดับสลายหรือหายไปอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว
๒๐.วัตถุทั้งหลายของโลก ก็ล้วนเกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย ดังนั้นวัตถุทั้งหลายของโลก จึงไม่มีสภาวะที่จะเป็นตัวตนของตนเอง หรือไม่มีตัวตนที่แท้จริง ชนิดที่จะตั้งอยู่ตลอดไปชั่วนิรันดรได้
๒๑.ร่างกายของมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ก็เกิดมาและตั้งอยู่ได้เพราะมีเหตุปัจจัย (คือมีอาหาร, น้ำ, ความร้อน, และอากาศ) เมื่อขาดเหตุหรือปัจจัยใดไป ร่างกายก็จะแตกสลายหรือตายไปทันที ดังนั้นร่างกายของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย จึงไม่มีตัวตนที่แท้จริง ชนิดที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไปชั่วนิรันดร คือสรุปได้ว่า ร่างกายของเราจริงๆนั้นมันไม่มี มีแต่ร่างกายชั่วคราว ที่เรามาสมมติเรียกกันเท่านั้น
๒๒.จิตใจของมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ก็เกิดมาและตั้งอยู่ได้เพราะมีเหตุปัจจัย (คือมีร่างกายที่ยังไม่ตาย จึงทำให้เกิดจิตใจขึ้นมารับรู้และรู้สึกสิ่งต่างๆได้ และมีความทรงจำจากสมอง จึงมีความจำและคิดได้) เมื่อขาดเหตุหรือปัจจัยใดไป จิตใจก็จะดับหายไปทันที ดังนั้นจิตใจของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย จึงไม่มีตัวตนที่แท้จริง ชนิดที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไปชั่วนิรันดร คือสรุปได้ว่า จิตใจของเราจริงๆนั้นมันไม่มี มีแต่จิตใจชั่วคราว ที่เรามาสมมติเรียกกันเท่านั้น
๒๓.สรุปว่า ?ไม่มีสิ่งใดหรือสภาวะใดที่จะมาเป็นเรา หรือตัวเรา หรือตัวตนของใครๆได้? เพราะทุกสิ่งมันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน เมื่อทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน ดังนั้นเมื่อเหตุหรือปัจจัยของมันเสื่อมสลายหรือดับหายไป สิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นจึงต้องเสื่อมสลายหรือดับหายตามไปด้วยเสมอ นี่คือความไม่เที่ยงแท้ถาวรของสิ่งที่เกิดขึ้นมาทั้งปวง
๒๔.เมื่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนต้องอาศัยเหตุปัจจัย มาปรุงแต่งขึ้นมา ดังนั้นเมื่อมันยังตั้งอยู่ มันก็ต้องทนที่จะประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก มากบ้างน้อยบ้างตอลดเวลา ถ้าไม่ทนมันก็จะแตกสลาย (ใช้กับวัตถุ) หรือดับหายไป (ใช้กับจิตใจ) ทันที นี่คือความเป็นทุกข์ของสิ่งที่เกิดขึ้นมาทั้งปวง
๒๕.เมื่อจิตโง่เพราะไม่เข้าใจว่า ?สิ่งที่เกิดขึ้นมาทั้งหลาย โดยเฉพาะร่างกายและจิตใจของตัวเอง ก็ไม่ใช่ของตัวเองจริง และไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนถาวร รวมทั้งยังต้องทนอยู่ด้วย? แล้วก็ไปยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนี้เข้า เมื่อสิ่งที่ยึดถือเอาไว้นี้มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน จิตโง่นี้จึงเป็นทุกข์ไปอย่างช่วยไม่ได้
๒๖.เมื่อเรา (ตามที่สมมติเรียก) เข้าใจแล้วว่า ?แท้จริงมันไม่เรา? เราก็นำเอาความเข้าใจนี้ มาเพ่งพิจารณาเข้าไปในร่างกายและจิตใจของเรา (และของคนอื่นด้วย) อย่างมั่นคงต่อเนื่องกันได้นานๆ จิตก็จะเกิดสมาธิขึ้นมาได้ และสมาธินี้ก็จะมาระงับหรือทำให้ความยึดถือว่ามีตัวเรา หรือตัวตนของใครๆดับหายไปจากจิตของเราได้
๒๗.เมื่อไม่มีความยึดถือว่ามีตัวเรา อันเป็นสาเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งหลายก็ย่อมที่จะไม่มีตามไปด้วย เมื่อจิตไม่มีทุกข์สภาวะที่ตรงข้ามกับความทุกข์ หรือความสงบเย็น (นิพพาน) ก็ย่อมที่จะปรากฏขึ้นมาแทนที่ความทุกข์ทันที
๒๘.ถ้าเราสามารถปฏิบัติให้เกิดปัญญาและสมาธิขึ้นมาได้เมื่อใด นิพพานก็จะปรากฏเมื่อนั้น แต่ถ้าเผลอให้ปัญญาและสมาธินี้หายไปเมื่อใด ความทุกข์ก็จะยังกลับมาเกิดขึ้นได้ใหม่เรื่อยไป จนกว่าเราจะสามารถปฏิบัติให้เกิดปัญญาและสมาธินี้ ได้อย่างต่อเนื่องมั่นคงสม่ำเสมอ เป็นเวลานานๆ จนนิสัยที่จะเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา ได้เลือนหายไปจากจิตใต้สำนึกอย่างถาวร นิพพานก็จะปรากฏได้อย่างถาวรเหมือนกัน
๒๙.สรุปหลักพุทธศาสนา ก็มีอยู่แค่นี้ คือ ? ถ้าโง่ไปยึดถือสิ่งใดว่าเป็นเราหรือของเรา จิตก็เป็นทุกข์ แต่ถ้ามีปัญญา แล้วไม่ไปยึดถือสิ่งใดๆว่าเป็นเราหรือของเรา จิตก็ไม่เป็นทุกข์? ถ้าใครเข้าใจเพียงแค่นี้ก็เท่ากับเข้าใจพุทธศาสนาทั้งหมด ถ้าใครปฏิบัติได้เพียงเท่านี้ ก็เท่ากับได้ปฏิบัติพุทธศาสนาทั้งหมด และถ้าใครได้รับผลเพียงเท่านี้ ก็เท่ากับได้รับผลทั้งหมดในพุทธศาสนา
ที่มาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ภาพจาก
http://facebook.com/dechm
,
http://phrarattanatrai.com
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มีนาคม 2012, 08:52:23 โดย e29cl
»
บันทึกการเข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
HS4MM
Administrator
Hero Member
กระทู้: 5021
Re: การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
24 มีนาคม 2012, 21:56:38 »
สาธุ อ่านไปด้วยดูรูปไปด้วย E29CL ได้บุญกุศลหลายๆเด้อ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์
»
การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
Tweet