ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
คลังแห่งการเรียนรู้และประสบการณ์ชีวิต
»
เกี่ยวกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์
»
เจาะ 3 มิติ เหตุอุบัติภัยบนถนน คนไทย สอบตก ในการขับรถ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: เจาะ 3 มิติ เหตุอุบัติภัยบนถนน คนไทย สอบตก ในการขับรถ (อ่าน 9303 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
E20ZSY- สระบุรี
Hero Member
กระทู้: 3312
AMATEUR RADIO ASSOCIATION OF SARABURI
เจาะ 3 มิติ เหตุอุบัติภัยบนถนน คนไทย สอบตก ในการขับรถ
«
เมื่อ:
29 มีนาคม 2012, 22:04:18 »
เจาะ 3 มิติ เหตุอุบัติภัยบนถนน
คนไทย
สอบตกในการขับรถ
!!
อุบัติภัยบนท้องถนนจากยานพาหนะต่าง ๆ เกิดขึ้นจนเป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บทุกวันทุกเวลาบนโลกใบนี้ ประเทศไทยก็เป็นเช่นเดียวกันทุกประเทศที่มีอุบัติเหตุร้ายแรงบนถนนหลวงทุกวันทุกนาที อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับประชาชนทั่ว ๆ ไปมักจะไม่ค่อยเป็นข่าวโด่งดังให้ได้รับทราบ ยกเว้นจะมีอุบัติเหตุที่เป็นโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากมาย สำหรับบุคคลที่ชื่อเสียงไม่ว่าจะวงการไหน โดยเฉพาะดารา นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ถ้าเกิดอุบัติเหตุบนถนนขึ้นมา ก็จะต้องเป็นข่าวใหญ่ทางสื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งภัยอุบัติเหตุบนถนนสามารถลดการอุบัติเหตุถ้าผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ประมาท นอกจากนี้จะมีการใช้เทคโนโลยี่เข้ามาช่วยไม่ให้มีความประมาทเกิดขึ้น
ล่าสุดข่าวคราวการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เป็นเหตุทำให้ผู้สื่อข่าวสาวรุ่นใหม่โต๊ะข่าวสังคมของสถานีโทรทัศน์ไทย พีบีเอส เสียชีวิต และคนขับรถได้รับบาดเจ็บสาหัส ข่าวดังกล่าวทราบถึง “
ภาคีป้องกันอุบัติเหตุ
” ทุกคน ส่งผลให้เกิดความสะเทือนใจและเสียใจอย่างสุดซึ้ง เพราะเหตุการณ์นี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นไม่ว่ากับใครก็ตามที่ใช้ชีวิตสัญจรอยู่บนถนนของเมืองไทย
ปัจจุบันนี้ได้มีภาคีป้องกันอุบัติเหตุ เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในหมู่ภาคีป้องกันอุบัติเหตุ เมื่อได้รับรายงานว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมา ภาคีป้องกันอุบัติเหตุก็จะปฏิบัติงานทันที ตั้งแต่หน่วยกู้ชีพ “
ทีมฮุก 31
” ของจังหวัดนครราชสีมา “
ทีม สอจร.โคราช
” นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ (ศวปถ.) ไปจนถึงนักวิชาการจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ซึ่งกำลังพัฒนา Application การตรวจจับความเร็วสำหรับให้ผู้โดยสารรถยนต์ รถตู้ หรือ รถโดยสารสาธารณะ ได้อัพโหลดเข้ามือถือประเภท “
สมาร์ทโฟน
” ไว้ส่งข้อมูลร้องเรียนและรายงานพฤติกรรมของพนักงานขับรถ
เหตุการณ์นี้ เปิดหน้าข่าวให้ได้คิดใน 3 มิติ คือ
มิติของความเร็วในการขับรถ ซึ่งเป็น
พฤติกรรมของผู้ขับโดยเฉพาะ และเมื่อพิจารณาจากผลการวิจัยของมูลนิธิไทยโรดส์ ถึง 11 ตัวชี้วัดพฤติกรรความเสี่ยงของคนไทย พบว่า ตัวการของอุุบัติเหตุอันดับ 1 คือ การขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ปี 2544-2551 เป็นเหตุกว่า 11,473 ครั้งต่อปี คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 76
มิติถัดมา
คือ การรวบรวมข้อมูลจากการสืบสวนหาสาเหตุแล้วนำข้อมูลที่ได้มาบริหารจัดการ (Management Information System : MIS) แล้ววิเคราะห์เป็นกรณีๆ ไป ส่วนการสืบหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจจะสืบจากหลักฐานแวดล้อม พยาน ตลอดจนผู้ประสบเหตุ ซึ่งผู้ติดตามเรื่องนี้คงต้องรอทราบผลในเวลาต่อไป แต่สิ่งที่เป็นข้อมูลไว้สำหรับเตือนคนขับรถ ผู้โดยสารรถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ ให้ตระหนักถึงทุกครั้งที่ขึ้นรถ ล้วนเป็นผลจากการสำรวจ วิจัย ศึกษา มาแล้วทั้งสิ้น และภาคีต่างก็นำมาใช้เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักให้กับสังคมเป็นเวลานานแล้ว
มิติที่สาม
มาจากผลการสำรวจล่าสุดขององค์การอนามัยโลก ในปี 2009 ชัดว่า “
คนไทยสอบตกในทุกกรณีของพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับรถ
” ผลที่ออกมาพบว่า
1.
คนไทยขับขี่รถด้วยความเร็วเกินกว่ากำหนด
ได้คะแนน 2 จาก 10
2.
เมาแล้วขับ
5 คะแนน
3.
ไม่สวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อก
4 คะแนน
4.
ไม่มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
0 คะแนน
5.
ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
5 คะแนน
..ข้อหลังสุดเป็นสิ่งที่ผู้โดยสารรถยนต์หลายคนคาดไม่ถึง แต่เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ตรงที่ ผู้โดยสารที่ ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนจนหยุดกะทันหัน มีโอกาสสูงที่ผู้โดยสารนั้นจะพุ่งออกนอกรถผ่านกระจกหน้าออกไป หรือหลุดกระเด็นออกนอกรถ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ยังอยู่ในรถถึง 6 เท่า ทั้งที่การออกแบบสำหรับรถยนต์และรถโดยสารที่ได้มาตรฐานทั้งจากบริษัท รถยนต์และการอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ชัดเจนว่า ภายในรถจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยในทุกตำแหน่งที่นั่ง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุในแต่ละครั้งจนมีผู้เสียชีวิตไม่ใช่น้อยที่ เกิดด้วยผู้โดยสารที่นั่งมาหลุดกระเด็นจากตำแหน่งที่นั่งและหลุดจากตัวรถ (กรณีของอุบัติเหตุรถตู้ชนรถยนต์ซีวิตบนโทลเวย์เช่นกัน)
ทางแก้ไขปัญหานี้ มีทางหลักๆ 2 ทาง
คือ
ทางแรก
เป็นไปได้หรือไม่ ที่สังคม ผู้โดยสาร ภาคีสื่อมวลชน หรือทุกคนที่ยังต้องใช้ถนนสัญจรไปมาในชีวิต ร่วมกันแสดงความจำนงผลักดันให้รัฐ “
คลอดนโยบาย
” หรือ “
กฎหมายบังคับ
” เรื่องการคาดเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ รถนักเรียน รถโดยสารสาธารณะ ทุกที่นั่ง โดยไม่จำกัดไว้เฉพาะผู้ขับหรือผู้โดยสารด้านหน้าเพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันใส่บทบังคับให้กับรถโดยสารสาธารณะ อาทิ รถตู้โดยสาร ให้ต้องมีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง และต้องวางกฎให้ผู้โดยสารทุกคนคาดเข็มขัดก่อนออกรถ
ทางที่สอง
คือ การผลักดันให้ความรู้กับสร้างจิตสำนึกของผู้โดยสาร (และคนขับ) ที่จะช่วยเตือนกันเอง ขณะนี้ทาง NECTEC ได้คิดค้น Application สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่มีจำนวนมากในปัจจุบันและเป็นผู้ที่โดยสารรถสาธารณะ ได้ใช้ตรวจจับความเร็วขณะโดยสารรถ เรียกโปรแกรมตัวนี้ว่า Traffy bSafe (อ่านว่า แทรฟฟี่ บีเซฟ หรือ ทราฟฟี่ บีเซฟ ก็ได้) จุดเด่นหลักของแอพพลิเคชั่นตัวนี้ คือ สามารถบันทึกค่าต่างๆ เป็นหลักฐานได้เช่น วันที่ เวลา พิกัดของรถ ไปจนถึงความเร็วของรถ ทาง NECTEC ออกแบบมาให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือดาวน์โหลดมาใช้บริการได้ฟรี ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นนี้สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ที่ facebook.com/TraffybSafeระบบจะมีการเชื่อมสัญญาณรายงานเข้าไปที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และกำลังเชื่อมสัญญาณการรายงานไปที่กรมการขนส่งต่อไป
แต่ถ้าเป็นรถของหน่วยงานหรือองค์กรจะมีวิธีแจ้งไปยัง Facebook page ของหน่วยงานได้อีกทางหนึ่ง
หากบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานรู้สึกถึงความรับผิดชอบต่อเจ้าหน้าที่ พนักงานขององค์กร อาจติดตั้ง GPS Tracking เป็นอุปกรณ์มาตรฐานทั่วไป ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานใช้อยู่เช่นกัน
ความจริงแล้วสิ่งที่กำลังอธิบายอยู่นี้ เกิดขึ้นมาจากความเป็นห่วงในทุกๆ คน ทุกสาขาอาชีพ เพราะเรายังอยู่บนถนน มีชีวิตที่ต้องฝากความปลอดภัยไว้กับพฤติกรรมและสำนึกของผู้ขับขี่รถทุกประเภท มีชีวิตที่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดเป็นความห่วงใยที่เกิดขึ้นจากการผนวกความรู้ ผลการสำรวจวิจัย และ การให้ข้อมูลกันบนโลกไซเบอร์ ที่มีภาคีส่งถึงกันมาหลายครั้งก่อนเหตุการณ์อุบัติเหตุรถข่าวของ ไทย พีบีเอส เสียอีก
สิ่งที่สำคัญที่ภาคีป้องกันอุบัติเหตุฝากไว้ให้ รัฐบาล และ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้คิด คือ ความเป็นห่วงในชีวิตของคนไทยบนท้องถนน มีมากน้อยเพียงไรแค่ไหน หรือ จะมีเท่ากับจำนวนอายุของรัฐบาล แค่นั้น! ฝากให้คิดพิจารณาและจริงจังในการแก้ปัญหาด้วย
นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย
ผอ.ศูนย์ความร่วมมือด้านการป้องกันอุบัติเหตุแห่งองค์การอนามัยโลก
บันทึกการเข้า
"การลงมือทำ ดีกว่าคำพูดที่สวยหรู" 145.150 / 145.4125 ..พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกระหรีปัี๊บ นมดี ประเพณีดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง..
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: เจาะ 3 มิติ เหตุอุบัติภัยบนถนน คนไทย สอบตก ในการขับรถ
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
29 มีนาคม 2012, 22:06:00 »
อนุโมทนา อ่านจนลายตา
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
คลังแห่งการเรียนรู้และประสบการณ์ชีวิต
»
เกี่ยวกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์
»
เจาะ 3 มิติ เหตุอุบัติภัยบนถนน คนไทย สอบตก ในการขับรถ
Tweet