ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมและเทศกาลงานบุญ
»
ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ (อ่าน 6614 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
«
เมื่อ:
12 พฤษภาคม 2013, 22:15:24 »
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
ตอนที่ 1 ตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก พญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้งพญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์ และพืชจนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็จะรอดตาย และได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็พ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอยหมดกำลังใจ และสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย
ตอน 2 ในที่สุดพญาคางคกขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยให้ปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสัตว์ ซึ่งมีมอด แมงป่อง และตะขาบ ได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถน ทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อยกองทัพของพญาคางคกก็เดินทางออกรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนเจ็บปวดร้องระงมจนกองทัพระส่ำระส่าย ในที่สุดพญาแถนยอมแพ้ และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก
ตอน 3.
1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว
3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูควายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไป และได้ปฏิบัติตามสัญญาจนบัดนี้ การจุดบั้งไฟให้ขึ้นไปบนท้องฟ้า เพื่อเป็นการแสดงคารวะ กับเป็นสัญญาแจ้งให้เทพารักษ์ได้ทราบว่าใกล้จะถึงฤดูทำไร่ไถนากันแล้ว ขอได้โปรดเมตตาช่วยบันดาลให้ฝนตกมายังภาคพื้นดินด้วย ประกอบกับชาวพื้นเมืองทั่ว ๆ ไปในภาคอีสาน ได้ทำพิธีแห่บุญบั้งไฟขึ้นก็ในราวเดือน 6 ซึ่งเป็นเดือนราษฎร์ และตรงกับเดือนหลวงก็คือเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี
บุญบั้งไฟ ประเพณีขอฝน เปิดตำนานพญานาค
ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก ของคนอีสาน มรดกทางวัฒนธรรม ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า นานนับหลายร้อยปี จนถึงปัจจุบัน ไม่มีใครหรือหลักฐานทาง เอกสารเล่มใดที่บอกว่า ประเพณีบุญบั้งไฟ ถือกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ลัทธิความ เชื่อ การสืบทอดทางวัฒนธรรมจะฝังแน่นในจิตใจของชาวอีสาน เชื่อกันว่า มาจากตำนานรักของท้าวผาแดงกับนางไอ่ และตำนานพญาแถนกับพญาคางคก เมื่อย่างเข้าสู่เดือนหกของทุกปี ชุมชนต่าง ๆ จะรวมตัวกันทำบั้งไฟ ตลอดจนนำขบวนแห่ของหนุ่มสาว คนแก่
ยามค่ำคืนคุ้มต่าง ๆ แว่วเสียงร้องซ้อมกลอนเซิ้งบั้งไฟจากชาวคุ้ม นั่นหมายถึงการเริ่มสู่งานบุญบั้งไฟ ที่เชื่อว่า เป็นประเพณีขอฝน ก่อนจะถึงฤดูกาลทำไร่ทำนา เมื่อมีการทำบั้งไฟไปแห่ และจุดแล้ว ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอาหารก็จะมีความอุดมสมบูรณ์ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุข
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
Re: ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
12 พฤษภาคม 2013, 22:16:33 »
ตำนานบุญบั้งไฟ
“พญาคันคาก” รบ “พญาแถน”
บทที่ 1 ..เป็นตำนานเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้างทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมานานกาเล ลูกหลานผู้เกิดใหม่ใหญ่ทีหลัง ไปเที่ยวบุญบั้งไฟ แล้วอาจจะสงสัยว่าทำไมน้อ บั้งไฟในขบวนแห่ของพี่น้องเฮาชาวอีสานตามหมู่บ้านตามตำบลต่าง ๆ นั้น ทำไมจึงติดหัวนาคเอาไว้บนหัวบั้งไฟ แล้วก็แต่งเอ้ด้วยลวดลายสีสันงามสุดที่ยิ่ง เหมือนตัวนาคเกร็ดนาคฉะนั้น จะเล่าสู่ฟัง
บทที่ 2 กาละเมื่อนานมาแล้ว - นับเนื่องเป็นอสงไขย สมัยเมื่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งมวลมนุษย์ , สัตว์สิ่ง, หินดินน้ำฟ้าตลอดแม้ป่าแดดทะเลฝน ต่างสื่อสารระหว่างกัน ด้วยภาษาเดียวกัน ต่างรู้เรื่อง เข้าใจไม่มีแบ่งชนชั้นวรรณะ ต่างจึงสุขอยู่สร้าง เสมอด้ำ ดั่งกัน เมืองสวรรค์ชั้นฟ้า มีพญาแถนเป็นใหญ่ อำนวยให้เกิดกาลเวลาแห่งฤดูต่าง ๆ พญาแถนเจ้า ได้เปิดประตูชั้นฟ้า ให้พญานาคเจ็ดตนไปลงเล่นน้ำสระหลวง ทำให้น้ำเฟือนเฟียดฟ้งลงโลกมาเป็นฝน นำความชุ่มเย็น ทำให้เกิดสุขสะดวกสบายในการเฮ็ดการสร้าง การอยู่การกิน
บทที่ 3 สรรพสิ่งทั้งหลายก็ให้ความเคารพยำเกรงและกระทำการบูชาต่อพญาแถนตลอดมา กาละนั้น ยังมีเมืองชื่อนครดอกไม้ ตั้งอยู่บนโลก พญาเมืองถือสัตย์ ตุ้มไพร่ฟ้า ให้สุขถ้วนอยู่เริง แม่เมืองให้กำเนิดบุตร ผิดเพศมนุษย์คือเป็นคันคากหรือเป็นคางคก เป็นที่หลากใจแก่ผู้คนทั้งหลาย หมอโหรได้ทำนายทายทักว่า คันคากน้อยเป็นผู้มีบุญญาธิการยิ่ง จงเลี้ยงดูให้ดีเถิด แล้วคันคากน้อยก็ค่อย ๆ เติบใหญ่ตามกาลเวลา หามีผู้ใดรังเกียจเดียดฉันท์ไม่ กระทั่ง เวลาล่วงไปสมควรแก่วัยเติบกล้า ท้าวคันคากก็ถอดคราบออก เป็นหนุ่มรูปงาม คราบคางคกก็กลายเป็นเกราะทองรองกาย พาให้เห็นเป็นองอาจ และท้าวคันคากก็ทรงสามารถเชิงยุทธพิชัย มีฤทธีศักดาเหนือกว่าไผ
บทที่ 4 เป็นที่ยำเกรงแก่เหล่าสัตว์เขี้ยวงาบกน้ำและบรรดาผู้มีเดชกล้าทั้งผอง ทั้งยังทรงบุญญะบารมีด้วยการรักษาสัตย์, ศีล, ทาน จนเป็นที่ยกย่องเคารพบูชาของสรรพสัตว์สรรพสิ่งทั่วทั้งทีป พญาเมืองจึงยกให้ท้าวเป็นผู้ครองนครดอกไม้สืบต่อสันตติวงศ์ มนุษย์, สัตว์สิ่ง, หินดินฟ้าและป่าแดดทะเลฝน เมื่อต่างให้ความเคารพยกย่องบูชาต่อพญาคันคากแล้ว ก็ลืมละการกราบไหว้สาต่อพญาแถน เมื่อก่อนนี้จะทำการหากินหาอยากอันใด ก็ถวยแถนด้วยเครื่องไหว้บูชา หากบัดนี้, กลับละเลยขันห้าขันแปด เหล้าไหไก่โตแปนเปล่า ทำให้พญาแถนน้อยอกน้อยใจ จนกลายเป็นเคืองแค้นโกรธา
" อ้ายมนุสสาสรรพสิ่งทั้งหลาย มันไม่ยำเกรงเคารพต่อกูอย่างนี้เสียแล้วจำกูจักสั่งสอนมันเสียบ้าง ให้มันฮู้แฮงฟ้าพญาแถนเป็นใหญ่ ให้มันทุกข์แร้นแค้น แหงนหน้าเปล่าดาย"
แถนจึงปิดเมืองฟ้า ตันแปวพญานาค บ่ให้ขึ้นเหล่นน้ำ ให้เฟือนเฟียด เกิดฝน แล้วทั้งสากลโลกก็บังเกิดความแห้งแล้งทุรกันดาร ดินหินทราย สรรพสิ่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างก็ หอดหิวฮ้องโอดโอยทุกขะแหล่ง แล้งเลือดขุ่น ตายม้วยระบาดหงาย ดินและทรายหมกไหม้ ป่าก็วายสายธารแห้งกิ่น ๆ ลมปิ่นไง่ง้องเผาขั่วไหม้ชะเล
แล้วมนุสสาสรรพสิ่งจึงเปิดสภา มีพญาคันคากเป็นประธาน ค้นหาสาเหตุ รวบรวมปัญญาเพื่อหา
บทที่ 5 ทางแก้ไข สภาโสกันไปโสกันมา จนได้ทราบว่า เหล่าพญานาคทั้งเจ็ดตนถูกพญาแถนกีดกั้นปิดปล่องขึ้นสวรรค์ ฝนจึงไม่ตกลงมาตามกาลอันสมควรดังเคยเป็นมา
"อุเหม่…" พญาคันคากขึ้งโกรธโกรธาจนพุงป่อง " ไฉนวา ญาแถนจึงไม่รู้หน้าที่ไม่ปฏิบัติธรรมจั่งซี้…การปฏิบัติหน้าที่คือการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าองค์ได๋ก็ตรัสเอาไว้เป็น หัวใจแห่งศาสนา "
หมายความว่า ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ผู้ปฏิบัติตนไม่เบียดเบียนผู้อื่นผู้ใด และทำหน้าที่ไปเป็นธรรมดาของการดำเนินชีวิต (เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต) ย่อมเกิดผลดี-สุข-สงบ-ร่มเย็น (เป็นธรรมะ )
แล้วพญาคันคากก็แต่งให้พญานกเค้าแมวเป็นทูตไปเจรจาแถน ขอให้แถนจงรักษาทำหน้าที่เปิดประตูสวรรค์ชั้นฟ้า ให้พญานาคเจ็ดตนได้ขึ้นไปเล่นน้ำสระหลวงตามที่เคยมา เพื่อดับทุกข์เข็ญเสียเถิด แต่พญาแถนแสนโกรธ ร้อยก็ไม่ยอมแสนก็ไม่ยอมโอนอ่อน " ย้อนว่า สูบ่พากันย่านเคารพบูชากู สูพากันบูชาบักพญาคันคาก…เมื่อสูทุกข์เดือดฮ้อน ให้หันหน้าไปพึ่งมัน นั่นถ้อน… " พญานกเค้าแมวนำความเจรจาล้มเหลวมาสู่สภาฟัง เหล่าสรรพสัตว์สรรพสิ่งได้ฟังยิ่งท้อแท้ และความโกรธกริ้วก็บังเกิดเป็นพายุ พญาคันคากประกาศสงครามต่อแถน เกณฑ์ส่ำสัตว์เขี้ยวงาน้ำและบกดาทัพ สัตว์ปีกระดมพล เหล่าเลื้อยคลานมีพญานาคเป็นเจ้าก็จัดเหล่าของตน สัตว์หกขาแปดขาบ้งกือต่างปลุกใจบ่เกรงย่าน
บทที่ 6 พญาคันคากบัญชาการให้พญาปลวกพาพวกก่อโพน เป็นโอ้นโญ้นโอ่นโหญ่นโพนต่อโพนไปถึงฟ้าหย่อนๆ สรรพสัตว์พากันไต่ต้อนแต้นถึงแถนฟ้าฟากสวรรค์ สงครามเทื่อนั้นเกิดสะเทือนเลื่อนลั่นระบาดทั่วจักรวาล สองชิงดีตีทัพ แผ่นดินไหวไฟฟาด น้ำก็เฟือนสมุทรฟื้น ลมก็หมุนน้าวป่า ฝนแสนห่าบ่มีเทื่อเหือดมื้อ ระดือเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ผิดสำแดงแล้งฮ้ายบ่มีเหือดฮนทุกข์ ขุกเข็ญหันกลียุคมุ่นวายทะลายปิ้น เป็นจั่งซี้เจ็ดปีปลายเจ็ดเดือน คันคากแถนรบเรวกันบ่หยุดหย่อน บ่มีผ่อนเผือดหญ่อ ทั้งสองก้ำพ่ำเสมอ ท่านเอย
บทที่ 7 พญาคันคากพญาแถนรบสู้ตัวต่อตัวเจ็ดวันเจ็ดคืนก็ยังบ่มีผู้พ่ายผู้แพ้ ทั้งสองจึงท้าชนช้างกระทำยุทธหัตถี โดยพญาคันคากคิดอุบายให้พญานาคแฝงตัวไปในหางช้าง ในระหว่างชนช้าง พญาคันคากถูกพญาแถนเอาตะพดหล่อกั่วทุบตีตามร่างกายตามหัวจนโปดโนเต็มไปหมด สบโอกาสของช้างฟาดหาง พญานาคลอยละลิ่วไปรัดตัวพญาแถนจนตกจากช้างร้องโอดโอยพญาคันคากถีบถองทุบตีแก้มือที่ตนเสียทีถูกตีหัวปูดหัวโปเป็นตะปุ่มตะป่ำ จนพญาแถนร้องขอชีวิต สงครามจึงสงบราบคาบลง แผ่นดินหยุดไหวถล่ม ฝนฟ้าก็หยุดคะนอง ลมพายุอ่อนตัวสงบลง ฟ้าแจ้งจางปาง
บทที่ 8 แล้วก็มีการรื้อฟื้นคดี ว่าไฉนพญาแถนจึงไม่รักษาธรรม ไม่ทำหน้าที่เปิดปล่องสวรรค์ ให้พญานาคเจ็ดตนขึ้นไปเล่นน้ำทำให้ฝนแล้ง ก่อทุกข์กันดารต่อโลก แถนยอมรับผิดและสัญญาว่าต่อไปจะไม่ทำอีก แต่ ก็ยังมีข้อกังขาว่า พญาแถนจะฮู้ได้จังใด๋ว่าถึงระดูฝนคนตกกล้าทำนาฮั่วไฮ่ เฮ็ดจังใด๋จังสิฮู้ฮอยฮูปประเพณี
พญาคันคากตรึกตรองแล้วจึงบอกว่า ถึงเวลาเดือนหกเฮาจะให้คนเฮ็ดบั้งไฟเพื่อให้พญานาคขี่ขึ้นมาเมืองฟ้า พญาแถนเห็นแล้วก็จงเปิดปล่องสวรรค์นั่นเถิด แต่นั้นมา คนก็จึงทำบั้งไฟตกแต่งเอ้ ให้พญานาคขี่ขึ้นฟ้าไปสร้างฝนในเมืองแถน
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤษภาคม 2013, 22:38:19 โดย HS4 VQN
»
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
Re: ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
12 พฤษภาคม 2013, 22:39:08 »
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
Re: ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
12 พฤษภาคม 2013, 22:40:59 »
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
Re: ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
12 พฤษภาคม 2013, 22:43:22 »
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 445257
Re: ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
«
ตอบกลับ #5 เมื่อ:
12 พฤษภาคม 2013, 22:49:21 »
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมและเทศกาลงานบุญ
»
ประเพณี บุญเดือน ๖ บุญบั้งไฟ
Tweet