ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
ข่าว ประชาสัมพันธ์ และปฏิทินกิจกรรม
»
ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันรายการ CQ WW VHF Contese 2012 ในวันที่ 22 - 23 ก.ค. 55
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันรายการ CQ WW VHF Contese 2012 ในวันที่ 22 - 23 ก.ค. 55 (อ่าน 9750 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
E20ZSY- สระบุรี
Hero Member
กระทู้: 3312
AMATEUR RADIO ASSOCIATION OF SARABURI
ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันรายการ CQ WW VHF Contese 2012 ในวันที่ 22 - 23 ก.ค. 55
«
เมื่อ:
05 เมษายน 2012, 21:21:57 »
ขอเชิญเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นเข้าร่วมการแข่งขันรายการ
CQ WW VHF Contese 2012
ในวันที่
22
-
23
กรกฎาคม
2555
ติดตามรายละเอียดได้ที่
www.e21eic.net/cqvhf
CQ World Wide VHF 2012
เริ่ม 01.00 น. วันอาทิตย์ที่ (คืนวันเสาร์) 22 กรกฎาคม 2555 ( เวลาประเทศไทย)
สิ้นสุด 04.00 น. วันจันทร์ที่ (คืนวันอาทิตย์) 23 กรกฎาคม 2555 ( เวลาประเทศไทย)
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งสิ้น 27 ชั่วโมง สำหรับทุกสถานีทุกประเภทการแข่งขันโดยผู้เข้าแข่งขัน สามารถเข้าร่วมได้ทุกเวลาและไม่จำเป็นต้องแข่งขันจนครบ 27 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
รายการ CQ WW VHF Contest จัดแข่งขันขึ้นพร้อมกันทั่วโลกเพื่อให้นักวิทยุสมัคร เล่น ฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความสามารถในการติดต่อสื่อสารย่าน VHF และต้องติดต่อสถานีต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่จำกัด 27 ชั่วโมง อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารย่าน VHF ให้เป็นที่รู้จักและเป็นการศึกษาการแพร่กระจาย คลื่นในระยะเวลาต่าง ๆ ในแต่ละปี การแข่งขัน CQ WW VHF Contest นี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานีสำหรับภาวะฉุกเฉิน สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่สะสม Grid Locator จะสามารถติดต่อกับสถานีที่อยู่ใน Grid ใหม่ ๆ ที่หายาก สำหรับขึ้นรางวัล (Awards) อีกด้วย
ย่านความถี่
(
Bands
)
ย่าน 2 meters ความถี่ 144-146 MHz และ ย่าน 6 meters ความถี่ 50-54 MHz
สำหรับความถี่ 144-146 MHz. ต้องใช้ความถี่ตามแบนด์แพลนของประเทศไทย ดู Band plan ประเทศไทย Click Here) ห้ามออกอากาศในช่องความถี่ติดต่อสะท้อนดวงจันทร์, ความถี่ช่องเรียกขาน, ความถี่ช่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน, ความถี่รีพีทเตอร์ ทั้งรับและส่ง, ความถี่ Digital , ความถี่ Echolink และ ความถี่สำหรับติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
ประเภทของการแข่งขัน
(
Class of Competition
)
แบ่งดังนี้
ทุกประเภทของการแข่งขันจะต้องตั้งสถานีออกอากาศห่างกันมีรัศมีอย่างน้อย
500
เมตร
1. Single-Op All Band คือ การแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช้ Operator คนเดียวตลอดการแข่งขัน ใช้ความถี่ออกอากาศทั้ง 2 ย่านความถี่ คือ ย่าน 2 meters (144-146 MHz) และ ย่าน 6 meters (50-54 MHz) ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียว (one Signal) และต้องเป็นสถานีเดียวกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
2. Single-Op Single Band คือ การแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช Operator คนเดียวตลอดการแข่งขัน ใช้ความถี่ย่านเดียวตลอดการแข่งขัน ได้แก่ ย่าน 2 meters (144-146 MHz) หรือ ย่าน 6 เมตร (50-54 MHz) ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียว (one Signal) และต้องเป็นสถานีเดียวกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
3. Single-Op All Band QRP คือ การแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช้ Operator คนเดียวตลอดการแข่งขัน ใช้ความถี่ออกอากาศทั้ง 2 ย่านความถี่ คือ ย่าน 2 meters (144-146 MHz) และ ย่าน 6 meters (50-54 MHz) ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียว (one Signal) และต้องเป็นสถานที่เดียวกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น โดยไม่จำกัดสถานที่ออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสถานีที่บ้านหรือสถานีชั่วคราว (Portable) ในที่ต่าง ๆ แต่ต้องใช้กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือน้อยกว่า ตลอดการแข่งขัน ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
4. Hilltopper (หรือ Single-Op QRP Portable) คือ การแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช้ Operator เพียงคนเดียวตลอดการแข่งขันโดยออกอากาศจากสถานที่ต่าง ๆ และใช้กำลังส่ง QRP คือไม่เกิน 10 วัตต์ สามารถใช้ความถี่ได้ทั้งย่าน 2 Meters (144-146 MHz) และ 6 Meters (50-54 MHz) ต้องออกอากาศไม่เกิน 6 ชั่วโมงติดต่อกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น ซึ่งการแข่งขันประเภทนี้เหมาะสำหรับแฮมที่ชอบความท้าทาย ชอบการออกอากาศแบบ Portable โดยไม่ต้องการหมกมุ่นอยู่กับการแข่งขันตลอดรายการสามารถออกอากาศจากสถานที่ใดก็ได้ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นหมู่เกาะ ภูเขา ทะเล
การแข่งขันประเภทนี้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเสาะแสวงหา Grid Locator ที่ยาก ผู้เข้าร่วมแข่งขันประเภทนี้ต้องใช้สัญญาณเรียกขานของท่านแล้วตามด้วย /p เช่น HS3PMT/p และไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับแหล่งพลังงานที่ใช้ ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
*** และในการแข่งขันประเภทเดี่ยว (Single-Op) ในประเภท 1-4 ไม่อนุญาตให้มีผู้ช่วยก่อนการแข่งขัน ระหว่างแข่งขัน และสิ้นสุดการแข่งขันในทุกกรณี ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำงานเพียงคนเดียวเท่านั้นตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการแข่งขัน ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันประเภทเดี่ยวให้ช่วยเหลือหรือสนับสนุนสิ่งต่าง ๆ ตลอดการแข่งขัน ***
5. Rover station คือ การออกอากาศจากสถานีที่เคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ , รถไฟ , เรือ หรือ เครื่องบิน เป็นต้น โดยใช้ Operator ไม่เกิน 2 คน ตลอดเวลา สามารถใช้ความถี่ได้ทั้งย่าน 2 Meters (144-146 MHz) และ 6 Meters (50-54 MHz) การแข่งขันจะต้องเปลี่ยนตำบลที่ตั้ง Grid locator อย่างน้อย 1 Grid locator ผู้เข้าร่วมการแข่งขันประเภทนี้ต้องสัญญาณเรียกขานของท่านแล้วตามด้วย / R เช่น HS9LPV/R เป็นต้น สถานี Rover เมื่อเปลี่ยน Grid locator สามารถติดต่อสถานีเดิมที่เคยติดต่อได้แล้วได้อีกครั้งหนึ่งและถือว่าเป็นคนละสถานีกับ Grid locator เดิม (นับคะแนนได้เมื่อ Grid ไม่ซ้ำกัน) ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
6. Multi Op. คือ การแข่งขันประเภททีมโดยใช้ Operators หลายคน แต่ไม่ควรเกิน 10 คน สามารถใช้ความถี่ได้ทั้งย่าน 2 Meters (144-146 MHz) และ 6 Meters (50-54 MHz) ใช้สัญญาณเรียกขานของหัวหน้าทีมหรือสัญญาณเรียกขานพิเศษเพียงสัญญาณเรียกขานเดียวตลอดการแข่งขันและห้ามสมาชิกในทีมใช้สัญญาณเรียกขานตัวเองติดต่อกับสถานีอื่น ๆ ตลอดการแข่งขัน การแข่งขันประเภทนี้ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียวเท่านั้นและต้องออกอากาศความถี่เดียวในเวลาเดียวกันเท่านั้น สถานีที่ใช้ออกอากาศต้องเป็นสถานีเดียวตลอดการแข่งขัน (ห้ามออกอากาศหลายความถี่ในเวลาเดียวกัน) ***ยังไม่อนุญาตให้ใช้ ความถี่ย่าน 6 meters ***
สิ่งแลกเปลี่ยนในการแข่งขัน
(
Exchange
)
สิ่งแลกเปลี่ยนในการแข่งขัน คือ สัญญาณเรียกขาน , RST และ Grid Locator เท่านั้น (ให้ใช้ Grid Locator 4 ตัว เช่น OK14, NJ98 เป็นต้น) ไม่อนุญาตให้บอกชื่อ ตำบล อำเภอและ จังหวัดตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไป
ตัวคูณคะแนน
(
Multipliers
)
ตัวคูณของคะแนนได้จาก Grid locator ที่ไม่ซ้ำกัน 1 Grid นับเป็น 1 ตัวคูณ
ตัวอย่างเช่น
สามารถติดต่อได้ Grid Locators ดังนี้ OK03,OK04,OK05,OK14 และ OK02
จะได้ตัวคูณเท่ากับ 5 ตัวคูณ
คะแนน
(
Scores
)
การติดต่อในย่าน 2 meters (144-146 MHz) 1 QSO ได้ 2 คะแนน
การติดต่อในย่าน 6 meters (50-54 MHz) 1 QSO ได้ 1 คะแนน
ตัวอย่างการคิดคะแนน
HS8GLR สามารถติดต่อได้
ย่าน 2 meters 100 QSOs และ 12 Grids
ย่าน 6 meters 50 QSOs และ 10 Grids (Grid Locator ไม่ซ้ำกับย่าน 2 meters)
2 Meters 100 QSOs (100 x 2 = 200 คะแนน)
6 Meters 50 QSOs (50 x 1 = 50 คะแนน)
HS8GLR จะได้คะแนน QSO คือ 200 + 50 = 250 คะแนน
คะแนนตัวคูณ (Multipliers) คือ 12 + 10 = 22 Grids
คะแนนสุทธิ คือ 250 x 22 = 5,500 คะแนน
ตัวอย่างการคิดคะแนนประเภท
Rover
E20LCH/R ติดต่อได้ดังนี้
QTH Grid OK03
ย่าน 2 meters ได้ 10 QSOs และ 5 GLs จะได้ (10x2=20) 5 Grids
ย่าน 6 meters ได้ 5 QSOs และ 2 GLs จะได้ (5x1= 5) 2 Grids
รวม 25 คะแนน 7 Grids
QTH Grid OK04
ย่าน 2 meters ได้ 20 QSOs และ 3 GLs จะได้ ( 20x2=40) 3 Grids
ย่าน 6 meters ได้ 10 QSOs และ 3 GLs จะได้ ( 10x1=10) 3 Grids
รวม 50 คะแนน 6 Grids
QTH Grid OK14
ย่าน 2 meters ได้ 15 QSOs และ 2 GLs จะได้ ( 15x2=30) 2 Grids
ย่าน 6 meters ได้ 2 QSOs และ 2 GLs จะได้ ( 2x1=2) 2 Grids
รวม 32 คะแนน 4 Grids
E20LCH/R จะได้คะแนนสุทธิ
(25+50+32) x (7 + 6 + 4)
107 x 17 = 1,819 คะแนน
รางวัล
(
Awards
)
รางวัลสำหรับกาแข่งขันมี
2
แบบคือ
- โล่รางวัลชนะเลิศ จะมอบให้กับผู้ชนะเลิศประเภท Single Op – Single Band 2 Miters และ ประเภท Multi – Operators สำหรับโล่รางวัลชนะเลิศ ได้รับการสนับสนุนจากสโมสร The Golden Kilowatt เพื่อระลึกถึงคุณ Hans D Hollstein, HS0/KA3TDZ และกลุ่ม SIAM DX GROUP <CQ Magazine ขอยกเลิกโปรแกรมโล่รางวัลชนะเลิศตั้งแต่ปี 2008>
- ใบประกาศนียบัตร จะมอบให้กับผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละประเภทของการแข่งขัน และผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดแต่ละ Grid Locator (สำหรับประเทศไทย จะได้รับประมาณ 1 ปี หลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น)
กำหนดส่ง
Log Book (
Log Submissions
)
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันหรือทีมที่แข่งขันจะต้องรวมคะแนนและส่ง
paper log
มาที่
CQ WW VHF Contest 2010
ตู้ ป.ณ. 2008
กรุงเทพ ฯ
10501
หรือ
Electronic Log ให้ส่ง file .BIN สำหรับโปรแกรม CT หรือ file .MDB สำหรับโปรแกรม N1MM ไปที่ e21eic@gmail.com
*** ภายในวันที่ วันที่ 15 สิงหาคม 2555 ***
ข้อเบ็ดเตล็ด
- รายการ CQ WW VHF Contest นี้เป็นรายการแข่งขัน ไม่ใช่รายการทดสอบสัญญาณ ฉะนั้นต้องใช้คำว่า CQ Contest เช่น " CQ Contest จาก E21DKD E21DKD Contest"
- การแข่งขันต้องใช้ความถี่ให้ถูกต้องกับ Band Plan, ตามใบอนุญาตกำหนด และไม่ใช้ในลักษณะยึดครองความถี่
- ในการติดต่อสื่อสารระหว่างแข่งขันต้องบอกสิ่งแลกเปลี่ยนให้ครบคือ สัญญาณเรียกขาน , RST และ Grid locator ทุก ๆ QSO ที่ทำการติดต่อ
- ความถี่ย่าน 6 Meters ควรหลีกเลี่ยงช่วงความถี่สำหรับ DX Window คือ 50.100 - 50.125 MHz
- ในการติดต่อย่าน 6 Meters ผู้เข้าแข่งขันและผู้ร่วมแข่งขันต้องมีบัตรยืนยันการติดต่อหรือ QSL CARD ไว้สำหรับยืนยันการติดต่อ โดยเฉพาะการติดต่อระหว่างประเทศ และผู้เข้าแข่งขันทุกท่านควรทะเบียนที่อยู่ที่
http://www.qrz.com
- การติดต่อในการแข่งขันต้องเป็นการติดต่อแบบ simplex เท่านั้น คือการติดต่อโดยตรง ไม่อาศัยระบบอื่นช่วยในการติดต่อ เช่น ระบบทวนสัญญาณ (repeater), ผ่านอินเตอร์เน็ต VoIP Echolink, eQSO, การติดต่อข้ามความถี่ (Cross Band) หรือผ่านระบบอื่น ๆ
- Multi Op. แข่งแบบเป็นทีมต้องใช้สัญญาณเรียกเดียวตลอดการแข่งขัน
- การแข่งขันประเภท Rover ระยะห่างระหว่างตำแหน่งGird 2 ตำแหน่งที่แตกต่างกัน ในการติดต่อกันระหว่างสถานีต้องห่างกันอย่างน้อย 100 เมตร หากระหว่างสถานีที่ติดต่อห่างกันไม่เกิน 100 เมตรไม่สามารถนำมาคิดเป็นตัวคูณได้
- ระยะเวลาการแข่งขันทั้งสิ้น 27 ชั่วโมง ท่านสามารถร่วมการแข่งขันกี่ชั่วโมงก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันจนครบ 27 ชั่วโมง
- กรุณาต้องรูปถ่ายขนาดโปสการ์ดขณะแข่งขัน หรือ ทีมแข่งขัน 1-2 รูป และบทความหรือข้อคิดเห็นในการแข่งขัน มาพร้อมกับ Log Book ของท่านด้วย
- ประกาศผลการแข่งขัน ติดตามได้จากหนังสือ CQ Magazine ฉบับเดือน.... และทางนิตยสาร 100 วัตต์ ฉบับ........
ตัวอย่างการติดต่อสื่อสาร
A : CQ Contest จาก HS0AK HS0AK Contest
B : HS3OPN
A : HS3OPN จาก HS0AK รับสัญญาณได้ 59 OK03
B : HS0AK จาก HS3OPN รับสัญญาณได้ 59 OK14
A : QSL 73.. QRZ HS0AK Contest
หมายเหตุ
กติกาการแข่งขัน CQ WW VHF Contest ในประเทศไทยนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาการแข่งขันเล็กน้อยเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยผู้เข้าแข่งขันควรปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด ผู้ร่วมการแข่งขันควรศึกษาทำความเข้าใจและอ่านกติกาการแข่งขันให้ละเอียด หากมีการท้วงติดหรือร้องเรียนจากผู้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยกันในภายหลัง ผู้จัดการแข่งขันจะทำการตรวจสอบและการตัดสิทธิ์การแข่งขันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการแข่งขันในประเทศไทยเท่านั้น
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการแข่งขัน
CQ WW VHF Contest
สามารถสอบถามได้ที่
E21EIC
E-mail: e21eic@arrl.net
โทรศัพท์ 08.7557.7773
Fax: 0.2872.0565
ติดต่อขอรับกติกาการแข่งขัน
, แผนที่ Grid Locator, Log sheet และ Summary Sheet ได้ตามที่อยู่ด้านบนได้ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป หรือที่
http://www.e21eic.net/cqvhf
สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
"
ความมีสปิริต เป็นรางวัลของผู้ชนะอย่างแท้จริง
"
*
รายละเอียดติดต่อตาม
อีเมย์และโทรศัพท์ E21EIC*
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 เมษายน 2012, 21:25:38 โดย E20ZSY- สระบุรี
»
บันทึกการเข้า
"การลงมือทำ ดีกว่าคำพูดที่สวยหรู" 145.150 / 145.4125 ..พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกระหรีปัี๊บ นมดี ประเพณีดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง..
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันรายการ CQ WW VHF Contese 2012 ในวันที่ 22 - 23 ก.ค. 55
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
06 เมษายน 2012, 07:01:01 »
ขอบคุณครับที่มาแจ้งให้ทราบ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
ข่าว ประชาสัมพันธ์ และปฏิทินกิจกรรม
»
ขอเชิญเข้าร่วมการแข่งขันรายการ CQ WW VHF Contese 2012 ในวันที่ 22 - 23 ก.ค. 55
Tweet