ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
อีสานบ้านเฮาและคลังแห่งการเรียนรู้วิถีชาวบ้าน
»
ภาษาพื้นบ้านอีสาน กลอน สุภาษิตและผญา
»
“พญาแถน” วัฒนธรรมแถน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: “พญาแถน” วัฒนธรรมแถน (อ่าน 2421 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
“พญาแถน” วัฒนธรรมแถน
«
เมื่อ:
01 ตุลาคม 2012, 22:33:12 »
วัฒนธรรมแถน (๑)
เรื่อง “พญาแถน” เป็นตำนานที่ชนเผ่าไท-ลาว ทั้งกลุ่มไทน้อยและกลุ่มไทใหญ่มีร่วมกัน เรื่องพญาแถนยังเป็นต้นเค้าของวัฒนธรรมไท-ลาวดั้งเดิม(ก่อนรับพุทธศาสนา)ทั้งในด้านวิถีชีวิตประจำปีและด้านการเมืองการปกครอง
ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ แม้วัฒนธรรมพญาแถนจะลดความสำคัญไปจนเกือบหมดแล้ว แต่กระนั้นก็ยังคงรักษา “รูปแบบ” บางรูปแบบที่ยังมีอิทธิพลต่อชาวบ้าน อย่างเช่น การยิงบั้งไฟ
ก่อนที่ผู้เขียนจะเสนอข้อตคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมพญาแถนต่อไป ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเรื่องพญาแถนและขุนบูรม จาก “พงศาวดารล้านช้าง” บริเฉทที่ ๒ ก่อนดังนี้
๏ ดูราสปุริสทั้งหลาย ดังเราจักรู้มามีในกาลเมื่อก่อนเถ้าเก่าเล่ามา เปนคำปรำปราสืบ ๆ มาว่าดังนี้ กาลเมื่อก่อนนั้น ก็เปนดินเปนหญ้าเปนฟ้าเปนแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด เมื่อนั้นยังมีขุนใหญ่ ๓ คน ผู้หนึ่งชื่อว่าปู่ลางเชิง ผู้หนึ่งชื่อขุนคาน อยู่สร้างบ้านเมืองลุ่ม กินปลาเฮ็ดนาเมืองลุ่มกินเข้า เมื่อนั้นแถนจึงใช้ให้มากล่าวแก่คนทั้งหลายว่า ในเมืองลุ่มนี้กินเข้าให้บอกให้หมาย กินแลงกินงายก็ให้บอกแก่แถน ได้กินขึ้นก็ให้ส่งขาได้กินปลาก็ให้ส่งรอยแก่แถน เมื่อนั้นคนทั้งหลายก็บ่ฟังคามแถน แม้นใช้มาบอกสองทีสามที ก็บ่ฟังหั้นแล
๏ แต่นั่น แถนจึงให้น้ำท่วมเมืองลุ่ม ลีดเลียงท่วมเมืองเพียงละลายคนทั้งหลายก็ฉิบหายมากนักชะแล
๏ ยามนั้นปู่ลางเชิงแลขุนเด็กขุนคาน รู้ว่าแถนเคียดแก่เขา ๆ จึงเอาไม้ขาแรงเฮ็ดแพเอาไม้แปงเรือนเฮ็ดพวง แล้วเขาจึงเอาลูกเอาเมียเข้าอยู่ในแพนั้น แล้วน้ำจึงพัดเขาขึ้นเมือบน ขนเอาเมือเมืองฟ้าพู้นแล
๏ พระยาแถนจึงถามเขาว่า สูจักมาเมืองฟ้าตูพี้เฮดสัง เขาจึงบอกเหตุการณ์ทั้งมวญ พระยาแถนจึงว่าตูใช้ให้ไปกล่าวแก่สูสองสามทีให้ยำแถนยำผีเถ้ายำเจ้ายืนกาย สูสั่งบ่ฟังคำกูจึงเท่าสูแล้ว
ทีนั้นพระยาแถน จึงให้เขาไปอยู่ที่บึงดอนแถนลอหั้นแล แต่นั้นน้ำจึงแห้งจึงบกเปนพื้นแผ่นดิน เขาจึงไหว้ขอพระยาแถนว่า ตูข้อยนี้อยู่เมืองบนบ่แกว่นแล่นเมืองพ้าบ่เปน ตูข้อยขอไปอยู่เมืองลุ่มลิดเลียง เมืองเพียงพักย่อมพู้นเทอญ เมื่อนั้นพระยาแถนจึงให้เอาลงมาส่ง ทั้งให้ควายเขาลู่แก่เขา จึงเอากันลงมาตั้งอยู่ที่นาน้อยอ้อยหนูนก่อหั้นแล แต่นั้นเขาจึงเอาควายนั้นเฮ็ดนากิน นานประมาณ ๓ ปี ควายเขาก็ตายเสีย เขาละซากควายเสียที่นาน้อยอ้อยหนูหั้นแล้ว อยู่บ่นานเท่าใด เครือหมากน้ำก็เกิดออกฮูดังควายตัวตายนั้นออกยาวมาแล้ว ก็ออกเปนหมากน้ำเต้าปูง ๓ หน่วย แลหน่วยนั้นใหญ่ประมาณเท่ารินเขาปลูกเข้านั้น เมื่อเครื่องหมากนั้นแก่แล้ว คนทั้งหลายก็เกิดมาอาไศรยซึ่งหมากน้ำ เปนดังนางอาสังโนเกิดในท้องดอกบัวเจ้าฤๅษีเอามาเลี้ยงไว้ คนทั้งหลายฝูงเกิดในผลหมากน้ำเต้าฝูงนั้นก็ร้องก้องนีนันมากนัก ในหมากน้ำนั้นแล
๏ ยามนั้นปู่ลางเชิงจึงเผาเหล็กชีแดงชีหมากน้ำนั้น คนทั้งหลายจึงบุเบียดกันออกมาทางฮูทีชีนั้น ออกมาทางฮูทีนั้นก็บ่เบิ่งคับคั่งกัน ขุนคานจึงเอาสิ่วไปสิ่วฮู ให้เปนฮูแควนใหญ่แควนกว้าง คนทั้งหลายก็ลุไหลออกมานานประมาณ ๓ วัน ๓ คืนจึงหมดหั้นแล คนทั้งหลายฝูงออกมาทางฮูชีนั้นแบ่งเปน ๒ หมู่ ๆ หนึ่งเรียกชื่อไทยลม หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยลี ผู้ออกทางฮูสิ่วนั้นแบ่งเปน ๓ หมู่ หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยเลิง หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยลอ หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยควางแล
๏ แต่นั้นฝูงปู่ลางเชิง จึ่งบอกสอนเขาให้เฮ็ดไฮ่ไถนา ทอผ้าทอสิ้นเลี้ยงชีวิตรเขา แล้วก็ปลูกแปงเขาให้เปนผัวเปนเมีย มีเย่ามีเรือนก็จึงมีลูกหญิงลูกชายมากนักแล เมื่อนั้นปู่ลางเชิงเล่าบอกให้เขารักพ่อเลี้ยงรักแม่เลี้ยง เคารพยำเกรงผู้เถ้าผู้แก่กว่าตนเขาแล อยู่หึงนานไปพ่อแม่เขาก็ตาย ท่านปู่ลางเชิงเล่าบอกให้เขาไหว้พ่อแม่เขาแล้วให้ส่งสการเมี้ยนซากฝูงออกมา ทางฮูสิ่วให้เผาเสีย เก็บถูกล้างสร้อยสีแล้วให้แปงเถียง ใส่ลูกไว้ให้ไปส่งเข้าส่งน้ำชุมื้อ ฝูงออกทางฮูชีนั้นให้ฝังเสียแล้วแปงเถียงกวมไว้เล่า ให้ไปส่งเข้าน้ำชุวันคั้นเขาไปบ่ได้ปู่ลางเชิงบอกให้แต่งเพื่อน เข้าเหล้าไว้ห้าห้องเรือนเขาแล้วให้เขาเรียกพ่อแม่เขาฝูงตายนั้นมากินหั้นแล
๏ แต่นั้นคนทั้งหลายฝูงเกิดมาในน้ำเต้า ฝูงออกมาทางฮูสิ่วนั้นเปนไทย ฝูงออกมาทางฮูชีนั้นเปนข้า คนฝูงนั้นลวดเปนข้อยเปนไพร่เขาเจ้าขุนทั้งสามนั้นแล เมื่อนั้นคนแผ่พวกมามากนัก มากอย่างทรายหลายอย่างน้ำ ท่อว่าหาท้าวหาพระยาบ่ได้ ปู่ลางเชิงทั้งขุนเด็กขุนคานบอกสอนเขาก็บ่แพ้ แม้ว่าใคเขาก็บ่เอาคำ ขุนทั้งสามก็จึงขึ้นเมือขอหาท้าวพระยากวนแถนหลวง พระยาแถนจึงให้ขุนครูแลขุนครอง ลงมาเปนท้าวพระยาแก่เขาหั้นแล
๏ เมื่อขุนทั้งสองลงมา สร้างบ้านก็บ่เปลือง สร้างเมืองก็บ่กว้าง สูกินเหล้าชุมื้อชุวัน นานมาไพร่ค้างทุกขค้างยากก็บ่ดูนา
๏ เมื่อนั้นขุนเด็กขุนคาน จึ่งขึ้นเมือไหว้สาแก่พระยาแถน ๆ จึ่งถกเอาทังสองหนีเมือบนหนเมือฟ้าดังเก่าเล่าแล พาหิระนิทานํนิฏฐิตํ
๏ ปางนั้นพระยาแถนหลวงจึงให้ท้าวผู้มีบุญ ชื่อว่าขุนบูลมมหาราชาธิราช (บรมมหาราชาธิราช) อันได้อาชญาพระยาแถนแล้ว ก็จึ่งเอารี้พลคนทั้งหลายลงเมือเมืองลุ่มลีดเลียงเมืองเพียงคักค้อย มาอยู่ที่นาน้อยอ้อยหนูอันมีลุ่มเมืองแถนหั้นก่อนแล
๏ ทีนั้นคนทั้งหลายฝูงออกมาแต่น้ำเต้าปูงนั้น ผู้รู้หลักนักปราชญ์นั้นเขาก็มาเปนลูกท่านเบ่าเธอขุนบูลมมหาราชา แลผู้ใบ้ช้านั้นเขาก็อยู่เปนไพร่ไปเปนป่า สร้างไฮ่เฮ็ดนากินแล
๏ เมื่อนั้นขุนบูลมมหาราชา ก็เจรจากับเจ้าขุนทั้งหลายฝูงลงมาพร้อมตนนั่นว่า แรกแต่นี้เมื่อน่าเราจักเฮ็ดสิ่งใด ให้มีอันนุ่งอันกินแก่คนทั้งหลายนี้จา แต่ก่อนพู้นพระยาแถนเจ้าให้ขุนคองลงมาปกห้อมคนทั้งหลายดังนั้น สองเขามาสร้างบ้านก็บ่เปลือง สร้างเมืองก็บ่กว้าง แถนจึงถกเขาหนีเมือเมืองบน ขนเขาหนีเมือเมืองฟ้าพู้นแล้ว ในที่นี้แถนเล่าให้เราพี่น้องลงมาปกมาฮวมเขานี้แลมาดูคนทั้งหลายนี้ มากดังทรายหลายดังน้ำ เราจะคิดการอันใดให้มีอันห่มอันปกเขา ให้มีอันจักกินแก่เขานี้จา มาเราเปนพี่น้องให้ขุนเสลิงเมือไหว้สาพระยาแถนเจ้าเทอญ ยามนั้นขุนเสลิงก็เมือไหว้เมือสาเล่าแก่พระยาแถนชุประการหั้นแล
๏ เมื่อนั้นพระยาแถนหลวงจึ่งให้แถนแต่ง แลพิศณุกรรมลงมาแต่แปงแก่เขา แถนแต่งจึงมาแต่ยามให้ทำไร่ทำนา ปลูกเข้าปลูกผักปลูกลูกไม้หัวมันทั้งมวญอันจักควรกิน เล่าบอกยามอันทอผ้า หาที่หากเปนเชื้อชาติพืชพรรณยา แถนชื่อ แถนกรม แถนตรา เกลางกเกลางา ตับค้ายเกิดเมืองคนมาเอาปฏิสนธิด้วยโอปปาติกะชาติองอาจนักหนา ทั้งอรรคชายานางนาฎ โฉมพิลาศชื่อนางแอกแดง ทั้งนางยมพาลาแฝงฝ่ายข้าง ทั้งให้ช้างงาแดงกอดลงมาทั้งกองฮาง เงินฮาง ง้าวกับทั้งตาวฮางกร แลดาบเหล็กพวนฝักหวาย ทั้งง้าวปายชายด้ำมาศ ทั้งเกิบแลดาบฝักคำ ทั้งคันธนูกับแล่ง หอกละมังแมงคันคำทั้งให้ไถกลอนมาสอนคำแปงคำ ให้จำนำแห่แหนเขาเจ้าทั้งสามแถนปลงความว่า ให้ขุนเสลิงลงถือแถนคำ ให้ขุนคานลงมาถือศรคำ ให้ขุนคองลงฮางถือง้าว ให้ขุนเมืองลงมาถือตาวฮางกร ให้ขุนทอนเลาถือดาบฝักหอย ให้ขุนแวนลงถือง้าวปลายไชย ให้ขุนพีลงถือเกิบฝักคำ ให้ขุนพลลงถือมุกคันคำ ให้ขุนพานลงถือธนู
๏ เมื่อนั้นขุนบูลมจึ่งขัดไถ้แสง สพายแวงสลิคันไชย ถือตาวแมวี กับมีดน้อยสวยเรียม แล้วก็จึ่งขึ้นขี่ช้างงาเกี้ยวงากอด จึ่งเอานางแอกแดงขี่ถัดขุนบูลมนั้น แลเอานางยมพาลาขี่ตาม แล้วแถนจึ่งให้ขุนสารขี่ตอนช้างขุนบูลมลงมา แถนเล่าให้ขุนค้ายถือเสียมลงมาตามหลัง ขุนยี่ให้ถือพ้าถือมีดมา ขุนอุ่นให้ถือขวานถือแอกลงมา ขุนคำให้ถือไถ่ถือเปดลงมามวญ ขุนทั้ง ๘ นี้จึ่งมาตามหลังขุนบูลมราชาแล ส่วนพิศณุกรรมจึ่งบอกคุณอันเข่นพร้ามีดจกเสียมเครื่อง เวียกการช่างเขาทั้งมวญ เล่าบอกคุณอันทำหูกทอฝ้าย แพรเขมฝ้ายด้ายไหมทั้งมวญ อันควรนุ่งควรกินทั้งมวญหั้นแล
๏ แถนจึ่งสั่งสอนขุนบูลม ผู้เปนท้าวเปนพระยาในลุ่มฟ้านี้ว่าไทยควางให้ออกหาขุนควาง ไทยวีให้ออกหาขุนวี ไทยเลิงให้ออกหาขุนเลิง ไทยเลนให้ออกหาขุนเลน ไทยลอให้ออกหาขุนลอ แถนแต่งเล่าจึ่งว่ากับขุนบูลมดังนี้ ตั้งแรกแต่นี้เมื่อน่า ชาวเมืองลุ่มนี้ได้กินขึ้นให้ส่งขาแก่แถน ได้กินปลาให้ส่งรอยแก่แถน ให้เฮ็ดแหวนเฮ็ดหัวส่งแก่ล่าม ใช้แถนแต่มื้อลวงคะลำแก่ผู้ชาย มื้อรวายให้คะลำแก่ผู้หญิง เดือนเจี๋ยงให้คะลำพื้น มื้อกดมื้อกาบเดือน
๏ ให้กะลำพื้น มื้อเต่ามื้อระวาย พักบาทอย่าราน พักบาทขวานอย่าป้ำ ฟืนหาบน้ำอย่าตัก สากอย่าตำอย่าร่อน ได้จึ่งจะดีก็สูตาย
๏ เมื่อนั้นแถนแต่งแล้วพิศณุกรรมคั้นว่าสั่งสอนมวญขุนบูลมราชากับอำมาตยแลทั้ง หลายดังนี้แล้ว ก็จึ่งเมือบอกเมือเล่าแก่พระยาแถนว่า มือขวาให้ห้ามผู้ชาย มือซ้ายให้ห้ามผู้หญิง เผือข้อยทั้งสองก็ไปแต่ง แปงบอกสอมเขาชุประการแล้ว เมื่อนั้นพระยาแถนเล่าถามว่าเครื่องอันจักเล่นจักหัว แลเสพรำคำขับทั้งมวญนั้นยังได้แต่งแปงให้แก่เขาไป ยามนั้นแถนแพนจึงว่าเครื่องฝูงนั้นข้อยไป่ได้แต่งแปงกาย เมื่อนั้นพระยาแถนหลวงจึงให้ศรีคันธพะเทวดา ลาลงมาบอกสอนคนทั้งหลายให้เฮ็ดฆ้องกลองกรับ เจแวงปีพาทยพิณเพี้ยะเพลงกลอนได้สอนให้ดนตรีทั้งมวญ แลเล่าบอกส่วนครูอันขับฟ้อนฮ่อนนะสิ่งสว่าง ระเมงละมางทั้งมวญถ้วนแล้ว ก็จึ่งเมื้อเล่าเมื้อไหว้แก่พระยาแถนหลวงชุประการหั้นแล
๏ เมื่อนั้นพระยาแถนหลวงจึ่งกล่าวว่า แต่นี้เมือน่า อย่าให้เขาขึ้นมาหาเฮาซ้ำสองทีทอญ แม้นเราก็อย่าลงไปหาเขาซ้ำสองทีทอญ แถนหลวงจึ่งให้ตัดข้อหลวงอันแรงกายหลายหลวงอันแรงเรียวนั้นเสีย แต่นั้น ผีแลคนลวดบ่เทียวไปมาหากันได้หั้นแล.”
[/color]
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
HS4 VQN
Sr. Member
กระทู้: 317
Re: “พญาแถน” วัฒนธรรมแถน
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
01 ตุลาคม 2012, 22:36:26 »
“เมืองแถน”
มหาสิลา บอกว่า “เมืองแถน” มีความหมายถึงสองอย่าง อย่างหนึ่งหมายถึงชื่อของอาณาจักรหนองแสเดิม (คืออาณาจักรเพงาย หรือปากอ้าย คนธรรมดาเรียกเมืองแถน) ที่ต่อมาถูกจีนตีแตก แล้วถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองยี่เจ้า” (เมืองสองเจ้า) เพราะมีการแตกเป็นสองส่วน คือพวกที่อยู่นครเพงาย เรียกว่า “อ้ายลาว” ส่วนพวกอยู่ทางใต้ เรียกว่า “งายลาว” ต่อมาเมื่อหลบมาตั้งอิสระที่หนองแสได้ ก็มีกษัตริย์ปกครองสืบมา จนถึงขุนบรมราชาธิราช (พีล่อโก๊ะ) ไม่ไว้ใจภัยคุกคามจากจีน จึงได้มาตั้งเมืองแถนขึ้นที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหมู เป็น “เมืองแถน” ในความหมายที่สอง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เมืองกาหลง”
หนองแส คือหนองน้ำอันกว้างใหญ่ อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำโขง ในเขตมณฑลยูนนานของจีนในปัจจุบัน ในสมัยโบราณเรียกว่า “หนองแส” หรือ “หนองกระแสแสนย่าน” จีนเรียกว่า “ตาลีฟู”
เมื่อเมืองแถนแรก คือเพงายถูกจีนยึดครองนั้น คนไทส่วนมาก (ในพงศาวดารลาว จะใช้คำว่า “คนลาว” ไม่ใช่ “คนไท”) ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่หนองแสนี้ พอดีแผ่นดินจีนเกิดจลาจลสามก๊ก คนไทจึงมีโอกาสตั้งตัว โดยสร้างเมืองใหญ่ๆ ถึง ๖ เมือง คือ ซีล่ง ม่งเส ล่างกง มุ่งซุย เอี้ยแซ และเท่งเซี้ยง โดยที่ม่งเส (หนองแส) เป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองหลวงของประเทศ ชื่อของอาณาจักรใหม่นี้ จึงชื่อว่า อาณาจักรหนองแส หรือที่ฝ่ายจีนเรียกว่า “น่านเจ้า” แต่ต่อมาก็ถูกขงเบ้งรุกราน จนต้องตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ก่อนจะมากู้อิสรภาพได้อีกครั้งใน พ.ศ. ๙๓๘
จากนั้น น่านเจ้าปกครองตนเองมาจนถึง พ.ศ. ๑๑๙๒ จึงมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “สินุโล” ได้รวบรวมการปกครองเมืองทั้งหกเข้าด้วยกัน ทำให้น่านเจ้าเป็นปึกแผ่น และเจริญขึ้นมาก พระเจ้าสินุโลได้ใช้นโยบายเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันการรุกราน ต่อจากนั้นก็มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก ๔ พระองค์ ก็มาถึงขุนบรมราชาธิราช (พีล่อโก๊ะ) ทรงเห็นว่า จีนมีกำลังทหารเข้มแข็ง แม้จะผูกไมตรีก็ยังไม่น่าไว้ใจ จึงเกณฑ์ไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ ที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหมู ซึ่งก็คือ “เมืองแถน” แห่งใหม่ เรียกอีกชื่อว่าเมือง “กาหลง” นั่นเอง
ที่ตั้งของเมือง “กาหลง” นี้ มหาสิลาบอกว่า ได้แก่เมืองเชียงรุ้งในปัจจุบัน แต่พงศาวดารไทยของพระบริรักษ์เทพธานีกล่าวว่า เมืองกาหลงนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ขุนบรม (พีล่อโก๊ะ) ได้ประทับที่เมืองกาหลงอยู่ ๘ ปี โดยในระหว่างนี้ได้ตีหัวเมืองจีนได้หลายเมือง และสั่งให้พวกม่านสีสร้างเมือง “ต้าหอ” แล้วเสด็จขึ้นไปประทับ
ขุนบรมเป็นกษัตริย์นักรบ ได้ขยายอาณาเขตน่านเจ้าไปมาก หลายเมืองมาอ่อนน้อม โดยได้สมัญญาว่า “ยูนนานอ๋อง” นโยบายขยายอาณาเขตอย่างหนึ่งคือ การส่งโอรส ๗ องค์ แยกย้ายไปปกครองเมืองทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ คือ (ตามตำนานขุนบรม)
• ขุนลอ ครองเมืองชวา (เชียงทอง หลวงพระบาง ล้านช้าง)
• ผาล้าน ครองเมืองต้าหอ หรือหอแต (สิบสองปันนา)
• ท้าวจูสง ครองเมืองจูฬนี คือเมืองญวน (หัวพันทั้งห้าทั้งหก)
• ท้าวคำผง ครองเมืองโยนก คือล้านนา
• ท้าวอิน ครองเมืองลานเพีย คืออยุธยา
• ท้าวกม ครองเมืองหล้าคำม่วน (มอญ)
• ท้าวเจือง ครองเมืองปะกันเชียงขวาง
ต่อมา ขุนบรมก็ย้ายมาประทับที่หนองแสตามเดิม ให้ผาล้านครองเมืองต้าหอแทน เมื่อขุนบรมสวรรคต ขุนลอ (โก๊ะล่อฝง) ก็เสด็จมาหนองแส ปกครองน่านเจ้าต่อ ก่อนจะย้ายมาเมืองกาหลง (เมืองแถน) โดยมอบราชสมบัติให้ อีเมาชีน โอรสท้าวผาล้าน ครองหนองแสต่อ
พอได้ไปอ่านหนังสือ “ชนชาติไทในนิทาน” ของ อ. ศิราพร ณ ถลาง ก็พบ “เมืองแถน” อีกอัน คือ เดียนเบียนฟู โดย “พงศาวดารเมืองแถง” ของไทดำ มีความสัมพันธ์กับ “เมืองแถน” ในพงศาวดารล้านช้างด้วย ในพงศาวดารล้านช้าง มีตำนานขุนบรมบอกว่า แถนจี้น้ำเต้าปุง ปรากฏว่ามีคนออกมาจากน้ำเต้า รุ่นแรกนั้นใช้เหล็กซีเจาะ ซึ่งได้รูเล็ก ผู้คนต้องเบียดเสียดกันออกมา ผิวกายติดเขม่าควันดำทำให้ผิวคล้ำ คือพวกข่า ขมุ รุ่นที่สองใช้สิ่วเจาะ ผิวเลยขาวกว่า เป็นพวกลาว ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ จากนั้น แถนส่งขุนบรมมาปกครอง ขุนบรมมีลูก ๗ คน ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ดังที่กล่าวมาข้างต้น ตรงนี้ มาตรงกับพงศาวดารเมืองแถง บอกว่าแถนเอาคนและสัตว์ใส่น้ำเต้าปุง เมื่อน้ำเต้าแตกออก มีคนออกมา ๕ พวก คือข่าแจะ ตามด้วยผู้ไทดำ ลาวพุงขาว ฮ่อ และแกว นอกจากนั้น พงศาวดารเมืองแถง ยังอ้างว่า เมืองแถงเป็นถิ่นกำเนิดของชนชาติไท เพราะบ้านน้ำเต้าปุง และนาน้อยอ้อยหนูที่อ้างถึงใน พงศาวดารเมืองแถง และ พงศาวดารล้านช้าง นั้น มีสถานที่จริงที่เมืองแถนในเวียดนามนั่นเอง
บันทึกการเข้า
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
[img]http://upic.me/i/3q/547204_4384808
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: “พญาแถน” วัฒนธรรมแถน
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
02 ตุลาคม 2012, 12:21:10 »
กำลังคิดว่า จะนำไปสร้างเป็นเรื่องเป็นราว ทำละครดีไหม ต้องขอขอบคุณ
HS4VQN
ครับ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
อีสานบ้านเฮาและคลังแห่งการเรียนรู้วิถีชาวบ้าน
»
ภาษาพื้นบ้านอีสาน กลอน สุภาษิตและผญา
»
“พญาแถน” วัฒนธรรมแถน
Tweet