ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
ข่าว ประชาสัมพันธ์ และปฏิทินกิจกรรม
»
ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (อ่าน 544 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
เมื่อ:
05 กันยายน 2018, 14:56:11 »
ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
1.
ติดต่อกรมการศาสนาแจ้งความประสงค์ขอรับผ้าพระกฐินพระราชทาน คัดเลือกจังหวัดและวัดจากบัญชีรายชื่อ ประมาณ 3-4 วัด เพื่อขอจองวัดที่จะนำผ้าพระกฐินไปถวาย
2.
จัดทำหนังสือและบัญชีรายชื่อวัดเรียงตามลำดับ เสนอกรมฯ ให้ความเห็นชอบ (ตามเอกสารแนบ 1)
3.
เมื่อกรมฯ อนุมัติแล้วให้จัดทำหนังสือแจ้งกรมการศาสนา เจ้าอาวาสวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งความประสงค์นำผ้าพระกฐินไปถวาย(ตามเอกสารแนบ 2)
3.1 ประสานกรมการศาสนา และเจ้าอาวาสวัดที่จะนำผ้าพระกฐินไปถวายให้ทราบทางโทรศัพท์
3.2 จัดทำหนังสือแจ้งกรมการศาสนา เจ้าอาวาสวัด เพื่อยืนยันการนำผ้าพระกฐินไปถวาย และแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่วัดนั้นตั้งอยู่
4.
จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (ตามเอกสารแนบ 3)
5.
จัดทำหนังสือเชิญหน่วยงานในสังกัด เช่น กระทรวงเกษตรฯ หน่วยงานของกรมฯ หน่วยงานภายนอก/หน่วยงานใกล้เคียงร่วมกุศลถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (ตามเอกสารแนบ 4)
6.
ติดต่อเจ้าอาวาสวัดและเกษตรจังหวัดดูสถานที่และเตรียมงาน (ตามเอกสารแนบ 5)
6.1 ประสานงานกับเกษตรจังหวัด ผู้อำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต (สสข.) และติดต่อ
เจ้าอาวาสแจ้งการขอพบเจ้าอาวาสเพื่อประสานงานการเตรียมงาน
6.2 กำหนดกรอบการปฏิบัติงานกับจังหวัดเกี่ยวกับการจัดงาน
7.
เชิญประชุมคณะกรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (ตามเอกสารแนบ 6)
8.
จัดทำหนังสือประวัติของวัด และบัตรเชิญผู้มีเกียรติร่วมงาน (ตามเอกสารแนบ 7)
8.1 จัดรวบรวมเอกสารประวัติของวัดและรายละเอียดต่างๆ เพื่อจัดทำหนังสือ
8.2 จัดทำรูปแบบบัตรเชิญ
8.3 ทำหนังสือส่งให้สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีจัดพิมพ์
8.4 บัตรเชิญมอบให้จังหวัด
8.5 หนังสือเกี่ยวกับประวัติของวัด จัดส่งกอง/สำนัก และแจกผู้ร่วมงานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
9.
จัดเตรียมเครื่องไทยธรรม เพื่อใช้ในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประกอบด้วยตาลปัตร 1 ชุด ผ้าไตร 2 ชุด เครื่องไทยธรรมสำหรับพระองค์ครอง 2 ชุด และพระคู่สวด 1 ชุด (ตามเอกสารแนบ
9.1 จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดเข้าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
9.2 ทำหนังสือเบิกจ่ายจากยอดเงินกฐินพระราชทานเสนอกองคลัง
10.
รับเครื่องกฐินจากกรมการศาสนาพร้อมเครื่องไทยธรรมที่จัดเตรียมไปวัด
10.1 จัดส่งใบแสดงการขอรับผ้าพระกฐินให้กรมการศาสนาทราบทางโทรสาร
10.2 จัดเจ้าหน้าที่ไปรับเครื่องกฐินจากกระทรวงวัฒนธรรม
10.3 จัดเจ้าหน้าที่นำเครื่องกฐินไปมอบให้ที่วัด
11.
การเตรียมการและการปฏิบัติในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
วันถวายผ้าพระกฐิน พิธีกรจัดเจ้าหน้าที่นำเครื่องพระกฐินทั้งหมดตั้งไว้ ณ สถานที่ที่จะประกอบพิธีถวาย เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร เป็นต้น โดยจัดโต๊ะตั้งไว้ด้านหน้าหรือท้ายอาสน์สงฆ์ จัดหาภาชนะ เช่น
โตก ตะลุ่ม พาน ถาด จัดตั้งวางเครื่องพระกฐินให้ดูเรียบร้อยสวยงาม สำหรับไตรพระกฐินไม่ต้องห่อ หากมีผ้าขาวให้วางทับบนผ้าขาวให้วางทับบนผ้าไตรรัดติดกันไว้ นำคำถวายที่กรมการศาสนาจัดให้ปิดไว้ด้านบน นำผ้าห่มพระประธานวางทับคำถวาย ใช้แถบกาวทาผนึกไว้กันหล่น และเตรียมการดังต่อไปนี้
11.1 จัดตั้งโต๊ะหมู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ดังนี้
- พระบรมฉายาลักษณ์ ประดิษฐานที่โต๊ะตัวกลาง แถวบนสุด
- โต๊ะหมู่บูชา (นิยมจัดหมู่ 3) ตั้งข้างประตูด้านหน้าพระอุโบสถ (ด้านขวามือหรือด้านซ้าย แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่)
- พานหรือตะลุ่มมุกสำหรับวางผ้าพระกฐิน วางที่โต๊ะตัวกลางแถวกลางพร้อมผ้าพระกฐิน
- เครื่องราชสักการะ (ธูป เทียนแพ) วางที่โต๊ะตัวกลาง แถวล่าง
- พานพุ่ม แจกันดอกไม้ จัดวางบนโต๊ะที่เหลือให้ดูเหมาะสม งดงาม
- ไม่นิยมประดับธงชาติและธงธรรมจักรติดกับโต๊ะหมู่ เพราะเมื่อลมพัดธงอาจจะสะบัดทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ บนโต๊ะหมู่ตกหล่นเสียหายได้
- หากมีวงโยธวาทิต หรือวงดนตรีนักเรียนมาบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องจัดสถานที่ตั้งแถวให้เหมาะสมไม่กีดขวางทางเข้าออกของประธานพิธี และพิธีกรต้องประสานให้บรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมีในขณะที่ประธานในพิธียกผ้าไตรขึ้นอุ้มประคอง
11.2 ภายในพระอุโบสถ
- จัดโต๊ะตั้งไว้หน้าพระสงฆ์รูปที่ 2 วางพานแว่นฟ้าเปล่าและพานพร้อมเทียนพระปาติโมกข์
หากประธานในพิธีเป็นหญิง ให้ติดผ้ารับประเคนไว้ใต้พานทั้ง 2 สำหรับพระสงฆ์ใช้จับรับประเคนด้วย
- ที่นั่งประธาน จัดหันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ ผู้ร่วมพิธีอื่น ๆ จัดหันหน้าไปทางประธาน
- เตรียมธูป เทียนที่บูชา เทียนชนวน ที่กรวดน้ำ ชุดน้ำดื่มสำหรับประธาน เป็นต้น
12.
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
12.1 คณะข้าราชการตั้งแถวบริเวณทางเข้าพระอุโบสถ
12.2 ประธานเดินทางถึงวัด
12.3 ประธานเดินสู่พระอุโบสถถวายความเคารพ
12.4 ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
12.5 ประธานยืนตรงถวายความเคารพ
12.6 ประธานรับผ้าพระกฐินเดินเข้าสู่พระอุโบสถนำไปวางบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนะสงฆ์
รูปที่ 2
12.7 ประธานจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ 3 ครั้ง
12.8 ประธานไปที่พานแว่นฟ้า หยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปมอบแก่ไวยาวัจกร จากนั้น
ยกผ้าพระกฐินขึ้นประคองพนมมือหันหน้าไปทางพระประธาน ว่านะโม 3 จบ แล้วหันหน้าไปทางพระสงฆ์กล่าว
คำถวายผ้าพระกฐิน (ผู้ที่อยู่ในพิธีทั้งหมดยืนแสดงความเคารพ)
12.9 ประธานประเคนผ้าพระกฐินพร้อมทั้งเทียนปาฏิโมกข์แด่พระสงฆ์รูปที่ 2 แล้วกลับเข้าที่นั่งประจำที่
12.10 ประธานถวายเครื่องพระกฐินแก่พระองค์ครองเริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไป
12.11 ผู้บริหาร แขกผู้มีเกียรติถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์
12.12 ผู้อำนวยการกองคลังประกาศยอดเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลให้ที่ประชุมทราบ
12.13 พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกรวดน้ำ พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกราบพระรัตนตรัย นมัสการลาพระสงฆ์
12.14 เสร็จพิธี
13.
ข้อปฏิบัติของประธานในพิธี
ประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานมิใช่ผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ แต่เป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานให้ถวายผ้าพระกฐินในพระอารามหลวง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเริ่มบรรเลง เมื่อประธานพิธียกผ้าพระกฐินขึ้นอุ้มประคองไว้ และยืนตรงทำความเคารพจนกระทั่งจบเพลงจึงเดินเข้าสู่พระอุโบสถ
เมื่อประธานในพิธีเดินทางถึงสถานที่ประกอบพิธี พิธีกรเชิญประธานไปที่โต๊ะหมู่ประดิษฐาน พระบรมฉายาลักษณ์ และผ้าพระกฐินให้ปฏิบัติ ดังนี้
13.1 ยืนตรงห่างจากพระบรมฉายาลักษณ์เล็กน้อย พอเอื้อมมือไปรับพระกฐินได้
13.2 ถวายความเคารพ (ชายถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว หากแต่งเครื่องแบบใช้ถวายคำนับ)
13.3 เปิดกรวยกระทงดอกไม้บนธูปเทียนแพ (เครื่องราชสักการะ) วางไว้ด้านข้าง
13.4 ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง ยื่นมือทั้งสองข้างออกไปยกผ้าพระกฐินจากพานอุ้มประคองไว้ ยืนอยู่ที่เดิม วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจนจบ
13.5 ประธานเดินเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ถึงโต๊ะตรงหน้าพระสงฆ์รูปที่ 2 วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า แล้วหันหน้าไปทางพระพุทธรูป รับเทียนชนวนจากศาสนพิธีกรจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (โดยเริ่มจุดเทียน และธูปจากซ้ายไปขวา) ส่งเทียนชนวนคืนให้ศาสนพิธีกร คุกเข่าลง กราบ 3 ครั้ง
13.6 ลุกไปที่พานแว่นฟ้า หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่หรือไวยาวัจกร
13.7 ยกผ้าพระกฐินขึ้นอุ้มประคอง ประนมมือ หันหน้าไปทางพระพุทธรูป
13.8 กล่าวคำนมัสการ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)
13.9 หันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายตามแบบที่ติดไว้บนผ้าพระกฐิน ดังนี้
ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กอปร ด้วย
พระราชศรัทธา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้.............................................น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้กระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต นั้น เทอญฯ (คำขีดเส้นใต้ไว้เป็นคำที่มักอ่านผิดบ่อย ๆ ควรอ่าน ดังนี้ 1. พระ-ปะ-ระ-มิน-ทะ-ระ-มะ-หา, 2. มะ-หิด-ตะ-ลา-ธิ-เบด, 3. จัก-กรี-นะ-รึ-บอ-ดิน, 4. กอบ, 5. กะ-ถิ-นัด-ถา-ระ-กิด) ส่วนที่มีเส้นประให้ใส่ชื่อผู้ขอรับพระราชทาน หรือหน่วยงานที่ขอรับพระราชทาน
13.10 กล่าวคำถวายจบแล้ว วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า ยกทั้งพานประเคนพระสงฆ์รูปที่ 2 ประเคนพานเทียนพระปาติโมกข์ แล้วไปนั่งที่ซึ่งจัดไว้สำหรับประธาน
ต่อจากนั้น พระสงฆ์กระทำพิธีอุปโลกน์ และสวดญัตติทุติกรรม พระสงฆ์รูปที่ได้รับฉันทานุมัติให้เป็น
ผู้ครองกฐินลงไปครองผ้า แล้วกลับขึ้นมานั่งที่อาสนะ ประธานถวายเครื่องบริวารกฐินแก่เจ้าอาวาส
(เครื่องพระกฐินพระราชทานทั้งหมด) แล้วจึงถวายสิ่งของที่ผู้ขอรับพระราชทานจัดมาที่หลังผู้ร่วมพิธีถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ทั้งหมด
ศาสนพิธีกรหรือเจ้าหน้าที่ประกาศยอดเงินที่ถวายให้ทราบทั่วกัน ตามแบบที่กรมการศาสนามอบให้ ประธานในพิธีถวายใบปวารณาจตุปัจจัยตามที่ประกาศแด่ประธานสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานและผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ รับพร ประธานกราบลาพระรัตนตรัย กราบลาพระสงฆ์ หากพระสงฆ์มีของที่ระลึกจะมอบให้ประธานควรมอบให้ขณะนี้ ประธานออกจากสถานที่ประกอบพิธี เป็นเสร็จพิธีการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
14.
จัดทำรายงานถวายพระราชกุศลส่งกรมการศาสนา
หลังจากถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว กรอกแบบบัญชีรายงานถวายพระราชกุศล ในการถวายผ้าพระกฐิน
ส่งกรมการศาสนา ภายใน 15 วัน เพื่อรวบรวมกราบบังคมทูลถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป (ตามเอกสารแนบ 9)
หมายเหตุ
- ถ้าทอดกฐินวัดธรรมยุต ให้จัดผ้าขาว 1 พับ ยาวประมาณ 8 -10 เมตร วางบนผ้าไตรกฐินด้วย เพราะพระสงฆ์วัดธรรมยุตจะไม่กราบกฐินด้วยผ้าไตรสำเร็จรูป และให้จัดเข็มเย็บผ้า ด้ายเย็บผ้าสีขาว พร้อมสีย้อมผ้า ตามความนิยมของวัดด้วย
- เครื่องกฐินหลวง เจ้าภาพต้องรับจากกรมการศาสนา หากมีความประสงค์จะจัดบริวารกฐินและ ไทยธรรมถวายพระเพิ่มอีกก็ได้ ผู้ร่วมพิธีในพระอุโบสถหรือบนศาลาการเปรียญ ไม่ต้องพนมมือในกรณีต่อไปนี้
1.
เมื่อประธานอุ้มผ้าไตรพระราชทานไปวางบนพานแว่นฟ้า แล้วจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย และกราบพระประธานในพระอุโบสถ
2.
เมื่อพระสงฆ์สวดคำอุปโลกน์กฐิน
3.
เมื่อประธานสงฆ์กล่าวคำถวายอดิเรกว่า “อะติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะตุ ฯลฯ ขอถวายพระพร”
- พิธีการดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
05 กันยายน 2018, 15:00:53 »
ขั้นตอนการจัดพิธีสงฆ์งานทำบุญ
1. จัดทำกำหนดการพิธีสงฆ์
กำหนดการพิธีสงฆ์
เวลา น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ ห้อง.............................
เวลา น. พิธีทางศาสนา
- ประธานฯ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- เจ้าหน้าที่อารธนาศีล
- ประธานสงฆ์ให้ศีล
- เจ้าหน้าที่อาราธนาพระปริตร
- พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบ ประธานฯ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ร่วมประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมและภัตตาหารแด่พระสงฆ์
- พระสงฆ์อนุโมทนา
- ประธานกรวดน้ำ รับพร กราบพระรัตนตรัย
- เสร็จพิธีสงฆ์
2. การเตรียมการฝ่ายพิธีสงฆ์
2.1 ฝ่ายพิธีสงฆ์เตรียมนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป
2.2 จัดสถานที่ เตรียมอุปกรณ์ในการประกอบพิธีสงฆ์
2.3 จัดทำกำหนดการขั้นตอนพิธีสงฆ์ให้ประธาน และผู้มาร่วมงานทราบ
3. การจัดสถานที่
สถานที่จัดงานต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่า มีทางเข้าออกสะดวกหรือไม่ อาสน์สงฆ์ โต๊ะหมู่บูชา จะต้องตั้งที่ใด ที่นั่งผู้ร่วมงาน ประธานพิธี จะตั้งอย่างไร ฯลฯ
- จัดโต๊ะหมู่บูชา พร้อมที่กราบ
- จัดอาสน์สงฆ์ ต่อจากโต๊ะหมู่บูชา โดยให้โต๊ะหมู่อยู่ด้านขวาของพระสงฆ์ ยกเว้นสถานที่บังคับจะตั้งด้านซ้ายได้
- การปูลาดอาสน์สงฆ์ให้ปูพรมหรือเสื่อด้านประธานสงฆ์ทับผืนต่อ ๆ ไป จนถึงท้ายสงฆ์และ ห้ามมิให้ปูติดกันเป็นผืนเดียวกับที่สตรีนั่งและควรปูอาสนะเฉพาะพระสงฆ์แต่ละรูปอีกทีหนึ่ง
- จัดโต๊ะสำหรับวางเครื่องไทยธรรมไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์
- จัดที่นั่งของประธานพิธีให้อยู่ต่ำกว่าที่นั่งพระสงฆ์รูปที่ 1 เล็กน้อยหันหน้าเข้าหาพระสงฆ์
- จัดที่นั่งผู้ร่วมงานอื่นๆ ไว้ด้านหลังประธาน ประมาณ 5-6 ที่
- จัดที่นั่งผู้ร่วมงานอื่น ๆ หันหน้าไปทางประธาน ให้ห่างจากโต๊ะประธานประมาณ 1.5 หรือ 2.00 เมตร
ให้แถวยาวไปตามอาสน์สงฆ์หรือจัดที่นั่งร่วมงานอื่น ๆ หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ เช่นเดียวกับประธาน แต่ต้องจัดแถวนั่งให้ต่ำกว่าแถวที่ประธานนั่ง 1 แถว จัดยาวตามอาสน์สงฆ์
- จัดตั้งเครื่องขยายเสียงไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ สายไมโครโฟนควรเดินไว้ด้านหลังอาสน์สงฆ์
- หากเป็นสถานที่แสงสว่างน้อย ควรติดตั้งไฟฟ้าและพัดลมเตรียมไว้ด้วย
4. การเตรียมอุปกรณ์พิธีสงฆ์
อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีทั่วไป มีดังนี้
- พระพุทธรูปสำหรับประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชา
- กระถางธูป เชิงเทียนบูชา เชิงเทียนชนวน แจกันใส่ดอกไม้
- ที่กรวดน้ำ และน้ำสำหรับใส่ที่กรวดน้ำ
- ภาชนะใส่น้ำร้อน น้ำเย็น สำหรับถวายพระสงฆ์
- ธูป เทียนบูชา เทียนชนวน เชื้อสำหรับทาธูปเทียนให้ติดไฟง่าย (น้ำมันผสมเทียนขี้ผึ้ง)
- ไม้ขีดไฟแช็ก สำลีสำหรับพันปลายธูป เทปกาวใส กรรไกรเล็ก มีดเล็ก
- โต๊ะคลุมผ้าขาว สำหรับวางสำรับข้าวพระพุทธ
- สายสิญจน์ พร้อมพานรอง 2 ใบ
- ขันน้ำมนต์ น้ำสำหรับใส่น้ำมนต์ เทียนจุดทำน้ำมนต์
- ที่พรมน้ำมนต์ (กำหญ้าคาหรือสิ่งอื่น) พร้อมพานรอง
- สายสิญจน์มงคลสำหรับบ่าวสาว (งานมงคลสมรส) ใส่พานไว้
- โถแป้งเจิม แผ่นทองคำเปลว ขี้ผึ้งสำหรับทาเพื่อปิดทอง ผ้าหรือกระดาษเช็ดมือ
5. การเตรียมการก่อนเริ่มพิธี
- อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชาตัวกลางแถวบน
- ตั้งกระถางธูป เชิงเทียนบูชา ที่โต๊ะกลางแถวล่าง ให้อยู่ในแนวเดียวกัน
- ตั้งแจกันดอกไม้และพานพุ่มบนโต๊ะหมู่ตัวอื่นที่เหลือตามความเหมาะสม
- ทาปลายธูปด้วยเชื้อประมาณครึ่งเซนติเมตร ใช้สำลีแผ่นบาง ๆ พันทับที่ปลายธูป แล้วทาเชื้ออีกครั้งหนึ่ง อย่าให้มากเกินไป เพราะเวลาจุดจะทำให้เกิดควันมาก การทาเชื้อควรระวังอย่าให้เปื้อนเลอะดอกธูปจะทำให้
ดูไม่งาม
- คลี่ไส้เทียนบูชา เทียนสำหรับทำน้ำมนต์ เทียนชนวน เทียนส่องธรรมให้แยกออกจากกันทาเชื้อบาง ๆ
- นำธูปที่จัดแต่งแล้วไปปักในกระถางธูป นิยมปักเรียงแถว เว้นระยะห่างกันพองาม
- นำเทียนบูชาไปติดที่เชิงเทียน ตั้งให้ได้แนวเดียวกับธูป ควรให้ส่วนสูงของเทียนและธูปเสมอกัน
จะงามตายิ่งขึ้น
- วงสายสิญจน์รอบอาคาร สถานที่ประกอบพิธีในงานมงคล แล้วรวมลงมาที่ฐานพระพุทธรูป คลี่ออก
นำม้วนสายสิญจน์ใส่พาน วางไว้ด้านหน้าประธานสงฆ์เยื้องไป ทางขวาเล็กน้อย และพานรองรับสายสิญจน์ วางไว้ท้ายอาสน์สงฆ์ด้วย
ในงานมงคลทุกประเภท ต้องมีการวงสายสิญจน์รอบ ๆ อาคารสถานที่ที่จะประกอบพิธี หรือนำปลายสายสิญจน์ไปคล้องไว้กับป้ายอาคาร ที่จะทำพิธีเปิด วิธีวางสายสิญจน์นั้นจะเริ่มจากจุดที่ใกล้พระพุทธรูป แล้วเวียนไปทางขวาของสถานที่ คือเวียนตามเข็มนาฬิกา และให้มาบรรจบกันเป็นวงกลม เมื่อวงรอบอาคารสถานที่ แล้วดึงสายสิญจน์ส่วนที่ยังเหลือเป็นกลุ่มมาที่โต๊ะหมู่บูชาที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่สำหรับงานในพระราชพิธีวางสายสิญจน์ที่ขอบโต๊ะหมู่บูชาที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแล้วนำสายสิญจน์ที่เหลือเป็นกลุ่ม มาพักไว้ที่พานรอง วางไว้ด้านหน้าขวามือของประธานสงฆ์ ควรหาพานรองรับสายสิญจน์วางไว้ท้ายอาสน์สงฆ์ด้วย
- นำเทียนสำหรับจุดทำน้ำพระพุทธมนต์ติดที่ขันน้ำมนต์ แล้วยกไปวางด้านหน้า ประธานสงฆ์เยื้องไปทางขวาเล็กน้อย
- นำที่พรมน้ำมนต์ (กำหญ้าคาหรือสิ่งอื่น) ใส่พานรองวางไว้ข้างขันน้ำมนต์ด้วย
- จัดวางเครื่องไทยธรรมไว้ที่โต๊ะด้านท้ายอาสน์สงฆ์
- นำเชิงเทียนชนวนและที่กรวดน้ำไปพักไว้ที่โต๊ะวางเครื่องไทยธรรมด้วย
- จัดตั้งไมโครโฟน ในพิธีการสวดหรือเจริญพระพุทธมนต์ 3 จุด คือ ด้านหน้าประธาน และด้านท้ายอาสน์สงฆ์ สำหรับพิธีกรอาราธนาในพิธีเทศน์ ให้ตั้งไมโครไฟนบนธรรมาสน์ และที่ตั้งที่พระสวดรับเทศน์ พร้อมทั้งที่พิธีกรอาราธนา ควรตั้งโต๊ะเครื่องขยายเสียงไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ และจัดผู้ควบคุม เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องขยายเสียงจะได้แก้ไขได้ทัน
6. การปฏิบัติศาสนพิธี
การส่งเทียนชนวน พิธีกรพึงถือเทียนชนวนพร้อมไม้ขีดไฟ (ปัจจุบันนิยมใช้ไฟแช็กแก๊ส) ถือเทียนชนวนด้วยมือขวา ให้ฐานเทียนชนวนตั้งอยู่ฝ่ามือและถือไฟแช็กไว้ที่มือซ้าย รออยู่ที่ท้ายสงฆ์ เมื่อประธานในพิธีเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีเริ่มจุดชนวน พึงเดินตามประธานไปทางด้านขวามือ (เว้นระยะห่างจากประธาน ประมาณ 1-2 ก้าว) หากสถานที่บังคับ ไม่สามารถเข้าด้านขวาได้ให้เข้าด้านซ้ายของประธาน เมื่อถึงหน้าที่บูชา พึงคุกเข่าลงยื่นเทียนชนวนไปแล้ว ส่งให้ประธานด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายถือไฟแช็กทาบลงกับลำตัว (เตรียมไว้หากเทียนชนวนดับลงให้จุดใหม่ได้ทันที) เมื่อประธานในพิธีรับเทียนชนวนไปแล้ว ขณะที่จุดธูปเทียนบูชา พิธีกรควรวางมือประสานไว้ที่บริเวณเหนือเข่าจนกว่าประธานจะจุดเสร็จ (ในกรณีที่ประธานในพิธีเป็นพระสงฆ์ ควรส่งเทียนและรับเทียนชนวน ด้วยมือทั้งสอง) รับเทียนชนวนคืนด้วยมือขวาต่อจากนั้นให้ถอยหลังออกไปพอสมควรแล้วลุกขึ้นกลับไปด้านท้ายอาสน์สงฆ์ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับไส้เทียนรูดเพื่อดับไฟ ไม่ควรใช้ปากเป่าลมเพื่อดับเทียนชนวนในที่ประชุมเช่นนั้น ถือว่าเป็นกริยาที่ไม่เหมาะสมและไม่สวยงาม
7. การอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร และอาราธนาธรรม
เมื่อประธานในพิธีจุดธูป เทียน กราบพระรัตนตรัย กลับไปนั่งเรียบร้อยแล้วพิธีกรพึงเดินเข้าไปยืนตรงประมาณ ไม่เกินพระสงฆ์รูปที่ 7 (หรือรูปที่ 3 นับจากท้าย) ทำความเคารพประธานแล้วหันหน้าไปทางพระสงฆ์
รูปแรก ประนมมือน้อมศรีษะลงไหว้พองาม ยืดตัวตรง ประนมมือระหว่างอก กล่าวคำอาราธนา ด้วยเสียงดังพอสมควร ไม่เบาหรือดังเกินไป จบแล้วน้อมไหว้อีกครั้งหนึ่ง
การอาราธนาศีลก็ดี อาราธนาพระปริตร หรืออาราธนาธรรมก็ดี ต้องฝึกฝนวิธีการอาราธนาให้ถูกต้อง
วรรคตอนอักขระให้ชัดเจน เช่น ร.เรือ หรือ ล.ลิง และต้องว่าให้ชัดถ้อยชัดคำ จะแสดงคำอาราธนาเป็นตัวอย่างดังนี้
คำอาราธนาศีล
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ /
ติสะระเณนะ สะหะ / ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ /
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ /
ติสะระเณนะ สะหะ / ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ /
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ /
ติสะระเณนะ สะหะ / ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ /
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพายะ / สัพพะสัมปัตติสิทธิยา /
สัพพะทุกขะวินาสายะ / ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง /
วิปัตติปะฏิพายะ / ปริตรตัง พรูถะ มังคะลัง /
สัพพะภะยะวินาสายะ / ปริตรตัง พรูถะ มังคะลัง /
วิปัตติปะฏิพายะ / สัพพะสัมปัตติสิทธิยา /
สัพพะโรควินาสายะ / ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง /
คำอาราธนาธรรม
พรัหมา จะ โลกาธิปติ สะหัมปะติ / กัตอัญชะลี อันธิวะรัง
อะยาจะถะ / สันตีธะ สัตาปปะระชักขะชาติกา / เทเสตุ ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปะชัง /
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
05 กันยายน 2018, 15:04:23 »
การจัดอาหารบูชาพระพุทธ
การจัดอาหารบูชาพระพุทธ เรียกกันโดยทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งประการหนึ่งใน การบำเพ็ญกุศลต่างๆ ที่มีการถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ เพราะพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ถือว่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าตามคตินิยมที่ว่า ถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ดังนั้น การจัดอาหารที่ถวายพระพุทธ จึงต้องจัดให้เหมาะสม ดังนี้
1.
จัดโต๊ะสำหรับตั้งอาหารถวายพระพุทธด้านหน้าหรือด้านข้างโต๊ะหมู่บูชาให้เป็นสัดส่วนและควรปูด้วยผ้าขาว
2.
ภาชนะใส่อาหารต้องจัดให้ดีเป็นพิเศษและเหมาะสม ไม่ควรใช้ภาชนะเล็กเกินไป เช่น ถ้วยตะไลที่ใส่เครื่องเซ่นไหว้
3.
ปริมาณอาหารทั้งคาวหวานให้มีปริมาณที่บุคคลคนหนึ่งจะรับประทานเต็มอิ่มได้ 1 มื้อ พร้อมน้ำ 1 แก้วและมีช้อน-ส้อม เช่นเดียวกับที่จัดถวายพระสงฆ์
4.
ควรถวายอาหารพระพุทธ เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทพาหุง หรือก่อนที่จะถวายอาหารแด่พระสงฆ์
5.
การลาอาหารพระพุทธ ควรลาเมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ไม่ควรตั้งอาหารพระพุทธทิ้งไว้โดยไม่ลา )
คำบูชาในการถวายอาหารพระพุทธ
นะโม ตัสสะ ภะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)
อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง โอทะนัง อุทะกังวะรัง พุทธธัสสะ ปูเชนิ
คำลาอาหารพระพุทธ
เสสัง มังคะลา ยาจามิ หรือ เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
05 กันยายน 2018, 15:08:18 »
พิธีทำบุญตักบาตร
1.
โอกาสที่เหมาะสมแก่การทำบุญตักบาตร เป็นเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์
วันเข้าพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษา และสถาปนาหน่วยงาน เป็นต้น
2.
ประเภทของการทำบุญตักบาตร
2.1 ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารสด
2.2 ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารแห้ง
3.
จำนวนพระสงฆ์ ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่ศรัทธา
4.
การเตรียมการเบื้องต้น
4.1 โต๊ะหมู่บูชา พร้อมพระพุทธรูป และดอกไม้ธูปเทียน
4.2 ที่นั่งพระสงฆ์
4.3 โต๊ะวางอาหารสำหรับถ่ายอาหารจากบาตรพระสงฆ์
4.4 ภาชนะสำหรับถ่ายอาหารจากบาตรพระสงฆ์
4.5 เจ้าหน้าที่ถวายความสะดวกพระสงฆ์
4.6 อาหารถวายพระสงฆ์ก่อนบิณฑบาต (ตามความเหมาะสม)
4.7 อาหารสำหรับตักบาตร
- ข้าวสุก
- อาหารคาว-หวาน หรือผลไม้
- น้ำดื่มบรรจุขวดหรือถุงพลาสติก (ถ้าประสงค์)
- ดอกไม้ ธูป เทียน (ถ้าประสงค์)
- ซองปัจจัย (ถ้าประสงค์)
- ที่กรวดน้ำ (ถ้าประสงค์)
5.
ลำดับพิธีฯ
5.1 ได้เวลา ประธานฯ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบ 3 ครั้ง น้อมไหว้พระสงฆ์ แล้วนั่งยังที่ประธานฯ
5.2 พิธีกรอาราธนาศีล
5.3 ประธานสงฆ์ให้ศีล
5.4 ประธาน ฯ และผู้ร่วมทำบุญรับศีล
5.5 ถวายอาหารพระสงฆ์ (ถ้ามี)
5.6 ประธานสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถา
5.7 พระสงฆ์อนุโมทนา
5.8 ประธานฯ กรวดน้ำ
5.9 พระสงฆ์ออกไปรับบิณฑบาต
5.10 ส่งพระสงฆ์กลับ
5.11 เสร็จพิธีฯ
6.
ข้อควรปฏิบัติในพิธีทำบุญตักบาตร
6.1 ต้องประกาศให้ทราบทั่วกันว่าจะตักบาตรด้วยอาหารแห้งหรืออาหารสด มิฉะนั้น ของจะปนกันและเสียได้
6.2 อาหารสำหรับตักบาตร
- ถ้าเป็นอาหารสด นิยมใช้ข้าวสุก กับข้าวบรรจุใส่ถุงมัด ให้เรียบร้อย ของหวานต่าง ๆ และผลไม้ชนิดต่าง ๆ บรรจุใส่ถุง
- ถ้าเป็นอาหารแห้ง นิยมใช้ข้าวสารใส่ถุง ผักกาดกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง น้ำปลาขวดเล็ก ๆ น้ำตาลทรายใส่ถุง ปลากระป๋อง อาหารสำเร็จรูป และผลไม้ชนิดต่างๆ
- ในการจัดพระสงฆ์ออกบิณฑบาต ควรแบ่งออกเป็นสาย ๆ ดูจำนวนให้พอเหมาะกับผู้มาทำบุญ
- กำชับลูกศิษย์วัดที่มากับพระสงฆ์ให้แต่งกายให้เรียบร้อยและนำภาชนะถ่ายอาหารมาด้วย ถ้าไม่พอ ต้องใช้ของหน่วยงาน แล้วจัดส่งให้ถึงวัด
- การตักบาตรด้วยอาหารแห้ง ได้ประโยชน์ในส่วนที่เก็บไว้ได้นาน แต่โอกาสที่พระสงฆ์จะต้องอาบัติมีมากกว่าการตักบาตรด้วยอาหารสด เพราะพระสงฆ์เก็บสะสมของดังกล่าวไว้มิได้
6.3 การปฏิบัติ
- ยกของตักบาตรจนเสมอศีรษะ ให้อธิษฐาน ดังนี้ “อิมินา ปะนะ ทาเนนะ มา เม ทาลิททิยัง อะหุ
นัตถีติ วะจะนัง นามะ มา อะโหสิ ภะวาภะเว” ด้วยผลทานนี้ ขอความยากจนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย คำว่า “ไม่มี”
ก็ขออย่างได้มีแก่ข้าพเจ้าทุกภพทุกชาติเทอญ หรือ “อิทัง เม ทานัง อาสะวะขะยาวะหัง โหตุ” ขอผลทานของข้าพเจ้านี้
จงเป็นปัจจัยให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงด้วยเทอญ
- ตักข้าวใส่บาตร และใส่ของอื่น ๆ ตามลงไป แล้วยกมือน้อมไหว้ ถ้าตักบาตรพระหลายรูปติดต่อกัน ก็ให้ไหว้ตอนสุดท้าย
- กรวดน้ำ หรือตั้งจิตอุทิศส่วนกุศล
หมายเหตุ
- ผู้ใดจะอธิษฐานอย่างไร แล้วแต่ความประสงค์ ข้อสำคัญให้เป็นไปในทางดีเป็นอันใช้ได้
- ตักบาตรแล้ว ถ้าทำได้ ควรกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ถ้าไม่มีเวลาพอ ควรให้ตั้งจิตอุทิศส่วนกุศล
- ลำดับพิธีการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
05 กันยายน 2018, 15:09:46 »
พิธีทำบุญวันสถาปนาหน่วยงาน
1. การเตรียมการ
1.1 โต๊ะหมู่บูชาพร้อมเครื่องสักการะ
1.2 ของรับรองพระสงฆ์
1.3 จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์
1.4 พานรายชื่ออดีตข้าราชการที่เสียชีวิต ตั้งไว้บนโต๊ะปูผ้าขาวเพื่อบังสุกุลอุทิศส่วนกุศล
2. การปฏิบัติ
เมื่อถึงกำหนดเวลา
2.1 ประธาน - เข้าสู่ห้องพิธี
- จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย – กราบพระ
- นั่ง ณ ที่จัดไว้
2.2 พิธีกร - อาราธนาศีล – รับศีล
- อาราธนาพระปริตร
2.3 ผู้ร่วมพิธี - ฟังพระเจริญพระพุทธมนต์
- ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ (เมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์จบ)
2.4 ผู้ร่วมพิธี - ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม
2.5 พระสงฆ์ - อนุโมทนา
2.6 ประธาน - กรวดน้ำ รับพร
2.7 ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ นอกนั้นเจริญชัยมงคลคาถา
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
ตอบกลับ #5 เมื่อ:
05 กันยายน 2018, 15:16:03 »
ข้อควรทราบเบ็ดเตล็ด
1. งานมงคล
ได้แก่ พิธีทำบุญจัดขึ้นเพราะปรารภเหตุให้เกิดความสุขความเจริญแก่ตนเองและครอบครัว เช่น พิธีทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันเกิด ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เปิดสำนักงาน งานมงคลสมรส ฯลฯ
2. คำว่า
“สวดมนต์”
งานมงคลใช้ว่า
“เจริญพระพุทธมนต์”
งานอวมงคล ใช้ว่า
สวดพระพุทธมนต์
3. สายสิญจน์ ใช้กับงานมงคลต่าง ๆ
4. การจุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย (เทียน 2 เล่ม ธูป 3 ดอก ) จุดเทียนก่อนแล้วจุดธูปทีหลัง
5. การจุดเทียน จุดเทียนเล่มด้านซ้ายมือ (ของผู้จุด) เป็นอันดับแรก แล้วจึงจุดเล่มด้านขวามือ (ของผู้จุด)
6. การจุดธูป ถ้าธูปทั้ง 3 ดอก ปักเรียงกันไว้ให้จุดเริ่มตั้งแต่ดอกที่อยู่ด้านซ้ายมือ (ของผู้จุด) ไปตามลำดับ
7. การจุดเทียนที่ภาชนะน้ำมนต์ จุดเมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบท
อะเสวะนา จะ พาลานัง
และเมื่อจุดแล้ว ให้ยกภาชนะน้ำมนต์ประเคนประธานสงฆ์ด้วย
8. การรับศีล
ควรทำพร้อมด้วยไตรทวาร คือ
8.1 ทางกาย นั่งเรียบร้อยและประนมมือถูกต้องสวยงาม
8.2 ทางวาจา ออกเสียงดังพอให้พระสงฆ์ได้ยิน (เว้นการรับศีล เบื้องหน้าพระที่นั่งฯ ไม่ต้องออกเสียง)
8.3 ทางใจ ตั้งใจรับด้วยอาการสงบ รังจิตใจอย่าให้คิดฟุ้งซ่าน
9. การประเคน
9.1 ของที่ประเคน ต้องไม่ใหญ่เกินไป ควรเป็นขนาดที่คนปานกลางยกได้ ของที่ใหญ่หรือหนัก เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น ให้ใช้ด้านสายสิญจน์โยงแล้วยกด้ายสายสิญจน์ถวาย ไม่มีวัตถุอนามาสเจือปน (เงิน หรือ ทอง) ถ้าเป็นของที่ฉันได้ควรประเคนในกาล (เช้าถึงเที่ยงวัน) นอกกาลไม่ควรประเคนเพราะขัดต่อพระวินัยสงฆ์
9.2 ผู้ประเคนต้องอยู่ห่างพระสงฆ์ประมาณศอกคืบ พึงนั่งคุกเข่า ถ้าพระนั่ง หรือยืน ถ้าพระนั่งเก้าอี้
9.3 ถ้าผู้ชายประเคน ต้องประเคนให้ถึงมือสงฆ์ ยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสอง น้อมสิ่งของนั้นเข้าไป
ใกล้พระ ส่งถวายถึงมือพระผู้ประเคนทีละอย่าง
9.4 ถ้าผู้หญิงหรือผู้ชายร่วมกันประเคน ให้วางลงบนผ้าที่พระสงฆ์วางทอดไว้
9.5 ไม่ควรถวายโดยวิธีจับของชนกัน แม้ของมากอย่างก็ควรถวายทีละอย่าง
9.6 ห้ามถูกต้องภัตตาหารที่ประเคนแล้ว
9.7 การประเคนภัตตาหารให้ประเคนทีละอย่าง ห้ามต่อกันหรือยกโต๊ะประเคนทีเดียวกันทั้งหมด
9.8 ถ้าประสงค์ให้ประเคนของขนาดใหญ่ ให้ใช้สายสิญจน์ผูกโยงนำสายสิญจน์ ส่วนที่เหลือใส่พานแล้วประเคนก็ได้
9.9 ไม่ประเคนอาหารทั้งสดและแห้งหลังเที่ยงวันไปแล้ว
9.10 เครื่องดื่ม ยารักษาโรค น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และของที่มิใช่ของขบฉันประเคนได้ตลอดเวลา
9.11 เมื่อประเคนเสร็จแล้วให้น้อมศีรษะไหว้ด้วยความเคารพทุกครั้ง
10. การถวายจตุปัจจัย
10.1 ไม่ถวายเป็นเงินสดต่อมือสงฆ์
10.2 ให้ใช้ใบปวารณา ส่วนเงินสดมอบไว้ไวยาวัจกร
10.3 ถ้าไม่มีใบปวารณา ให้ปวารณาด้วยปากเปล่าก็ได้
11. การกราบ มีวิธีการดังนี้
- กราบพระรัตนตรัย กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
«
ตอบกลับ #6 เมื่อ:
06 กันยายน 2018, 05:08:13 »
ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
1.
ติดต่อกรมการศาสนาแจ้งความประสงค์ขอรับผ้าพระกฐินพระราชทาน คัดเลือกจังหวัดและวัดจากบัญชีรายชื่อ ประมาณ 3-4 วัด เพื่อขอจองวัดที่จะนำผ้าพระกฐินไปถวาย
2.
จัดทำหนังสือและบัญชีรายชื่อวัดเรียงตามลำดับ เสนอกรมฯ ให้ความเห็นชอบ (ตามเอกสารแนบ 1)
3.
เมื่อกรมฯ อนุมัติแล้วให้จัดทำหนังสือแจ้งกรมการศาสนา เจ้าอาวาสวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งความประสงค์นำผ้าพระกฐินไปถวาย(ตามเอกสารแนบ 2)
3.1 ประสานกรมการศาสนา และเจ้าอาวาสวัดที่จะนำผ้าพระกฐินไปถวายให้ทราบทางโทรศัพท์
3.2 จัดทำหนังสือแจ้งกรมการศาสนา เจ้าอาวาสวัด เพื่อยืนยันการนำผ้าพระกฐินไปถวาย และแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่วัดนั้นตั้งอยู่
4.
จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (ตามเอกสารแนบ 3)
5.
จัดทำหนังสือเชิญหน่วยงานในสังกัด เช่น กระทรวงเกษตรฯ หน่วยงานของกรมฯ หน่วยงานภายนอก/หน่วยงานใกล้เคียงร่วมกุศลถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (ตามเอกสารแนบ 4)
6.
ติดต่อเจ้าอาวาสวัดและเกษตรจังหวัดดูสถานที่และเตรียมงาน (ตามเอกสารแนบ 5)
6.1 ประสานงานกับเกษตรจังหวัด ผู้อำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต (สสข.) และติดต่อ
เจ้าอาวาสแจ้งการขอพบเจ้าอาวาสเพื่อประสานงานการเตรียมงาน
6.2 กำหนดกรอบการปฏิบัติงานกับจังหวัดเกี่ยวกับการจัดงาน
7.
เชิญประชุมคณะกรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน (ตามเอกสารแนบ 6)
8.
จัดทำหนังสือประวัติของวัด และบัตรเชิญผู้มีเกียรติร่วมงาน (ตามเอกสารแนบ 7)
8.1 จัดรวบรวมเอกสารประวัติของวัดและรายละเอียดต่างๆ เพื่อจัดทำหนังสือ
8.2 จัดทำรูปแบบบัตรเชิญ
8.3 ทำหนังสือส่งให้สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีจัดพิมพ์
8.4 บัตรเชิญมอบให้จังหวัด
8.5 หนังสือเกี่ยวกับประวัติของวัด จัดส่งกอง/สำนัก และแจกผู้ร่วมงานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
9.
จัดเตรียมเครื่องไทยธรรม เพื่อใช้ในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประกอบด้วยตาลปัตร 1 ชุด ผ้าไตร 2 ชุด เครื่องไทยธรรมสำหรับพระองค์ครอง 2 ชุด และพระคู่สวด 1 ชุด (ตามเอกสารแนบ
9.1 จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดเข้าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
9.2 ทำหนังสือเบิกจ่ายจากยอดเงินกฐินพระราชทานเสนอกองคลัง
10.
รับเครื่องกฐินจากกรมการศาสนาพร้อมเครื่องไทยธรรมที่จัดเตรียมไปวัด
10.1 จัดส่งใบแสดงการขอรับผ้าพระกฐินให้กรมการศาสนาทราบทางโทรสาร
10.2 จัดเจ้าหน้าที่ไปรับเครื่องกฐินจากกระทรวงวัฒนธรรม
10.3 จัดเจ้าหน้าที่นำเครื่องกฐินไปมอบให้ที่วัด
11.
การเตรียมการและการปฏิบัติในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
วันถวายผ้าพระกฐิน พิธีกรจัดเจ้าหน้าที่นำเครื่องพระกฐินทั้งหมดตั้งไว้ ณ สถานที่ที่จะประกอบพิธีถวาย เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร เป็นต้น โดยจัดโต๊ะตั้งไว้ด้านหน้าหรือท้ายอาสน์สงฆ์ จัดหาภาชนะ เช่น
โตก ตะลุ่ม พาน ถาด จัดตั้งวางเครื่องพระกฐินให้ดูเรียบร้อยสวยงาม สำหรับไตรพระกฐินไม่ต้องห่อ หากมีผ้าขาวให้วางทับบนผ้าขาวให้วางทับบนผ้าไตรรัดติดกันไว้ นำคำถวายที่กรมการศาสนาจัดให้ปิดไว้ด้านบน นำผ้าห่มพระประธานวางทับคำถวาย ใช้แถบกาวทาผนึกไว้กันหล่น และเตรียมการดังต่อไปนี้
11.1 จัดตั้งโต๊ะหมู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ดังนี้
- พระบรมฉายาลักษณ์ ประดิษฐานที่โต๊ะตัวกลาง แถวบนสุด
- โต๊ะหมู่บูชา (นิยมจัดหมู่ 3) ตั้งข้างประตูด้านหน้าพระอุโบสถ (ด้านขวามือหรือด้านซ้าย แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่)
- พานหรือตะลุ่มมุกสำหรับวางผ้าพระกฐิน วางที่โต๊ะตัวกลางแถวกลางพร้อมผ้าพระกฐิน
- เครื่องราชสักการะ (ธูป เทียนแพ) วางที่โต๊ะตัวกลาง แถวล่าง
- พานพุ่ม แจกันดอกไม้ จัดวางบนโต๊ะที่เหลือให้ดูเหมาะสม งดงาม
- ไม่นิยมประดับธงชาติและธงธรรมจักรติดกับโต๊ะหมู่ เพราะเมื่อลมพัดธงอาจจะสะบัดทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ บนโต๊ะหมู่ตกหล่นเสียหายได้
- หากมีวงโยธวาทิต หรือวงดนตรีนักเรียนมาบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องจัดสถานที่ตั้งแถวให้เหมาะสมไม่กีดขวางทางเข้าออกของประธานพิธี และพิธีกรต้องประสานให้บรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมีในขณะที่ประธานในพิธียกผ้าไตรขึ้นอุ้มประคอง
11.2 ภายในพระอุโบสถ
- จัดโต๊ะตั้งไว้หน้าพระสงฆ์รูปที่ 2 วางพานแว่นฟ้าเปล่าและพานพร้อมเทียนพระปาติโมกข์
หากประธานในพิธีเป็นหญิง ให้ติดผ้ารับประเคนไว้ใต้พานทั้ง 2 สำหรับพระสงฆ์ใช้จับรับประเคนด้วย
- ที่นั่งประธาน จัดหันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ ผู้ร่วมพิธีอื่น ๆ จัดหันหน้าไปทางประธาน
- เตรียมธูป เทียนที่บูชา เทียนชนวน ที่กรวดน้ำ ชุดน้ำดื่มสำหรับประธาน เป็นต้น
12.
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
12.1 คณะข้าราชการตั้งแถวบริเวณทางเข้าพระอุโบสถ
12.2 ประธานเดินทางถึงวัด
12.3 ประธานเดินสู่พระอุโบสถถวายความเคารพ
12.4 ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
12.5 ประธานยืนตรงถวายความเคารพ
12.6 ประธานรับผ้าพระกฐินเดินเข้าสู่พระอุโบสถนำไปวางบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนะสงฆ์
รูปที่ 2
12.7 ประธานจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ 3 ครั้ง
12.8 ประธานไปที่พานแว่นฟ้า หยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปมอบแก่ไวยาวัจกร จากนั้น
ยกผ้าพระกฐินขึ้นประคองพนมมือหันหน้าไปทางพระประธาน ว่านะโม 3 จบ แล้วหันหน้าไปทางพระสงฆ์กล่าว
คำถวายผ้าพระกฐิน (ผู้ที่อยู่ในพิธีทั้งหมดยืนแสดงความเคารพ)
12.9 ประธานประเคนผ้าพระกฐินพร้อมทั้งเทียนปาฏิโมกข์แด่พระสงฆ์รูปที่ 2 แล้วกลับเข้าที่นั่งประจำที่
12.10 ประธานถวายเครื่องพระกฐินแก่พระองค์ครองเริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไป
12.11 ผู้บริหาร แขกผู้มีเกียรติถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์
12.12 ผู้อำนวยการกองคลังประกาศยอดเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลให้ที่ประชุมทราบ
12.13 พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกรวดน้ำ พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกราบพระรัตนตรัย นมัสการลาพระสงฆ์
12.14 เสร็จพิธี
13.
ข้อปฏิบัติของประธานในพิธี
ประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานมิใช่ผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ แต่เป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานให้ถวายผ้าพระกฐินในพระอารามหลวง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเริ่มบรรเลง เมื่อประธานพิธียกผ้าพระกฐินขึ้นอุ้มประคองไว้ และยืนตรงทำความเคารพจนกระทั่งจบเพลงจึงเดินเข้าสู่พระอุโบสถ
เมื่อประธานในพิธีเดินทางถึงสถานที่ประกอบพิธี พิธีกรเชิญประธานไปที่โต๊ะหมู่ประดิษฐาน พระบรมฉายาลักษณ์ และผ้าพระกฐินให้ปฏิบัติ ดังนี้
13.1 ยืนตรงห่างจากพระบรมฉายาลักษณ์เล็กน้อย พอเอื้อมมือไปรับพระกฐินได้
13.2 ถวายความเคารพ (ชายถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว หากแต่งเครื่องแบบใช้ถวายคำนับ)
13.3 เปิดกรวยกระทงดอกไม้บนธูปเทียนแพ (เครื่องราชสักการะ) วางไว้ด้านข้าง
13.4 ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง ยื่นมือทั้งสองข้างออกไปยกผ้าพระกฐินจากพานอุ้มประคองไว้ ยืนอยู่ที่เดิม วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจนจบ
13.5 ประธานเดินเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ถึงโต๊ะตรงหน้าพระสงฆ์รูปที่ 2 วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า แล้วหันหน้าไปทางพระพุทธรูป รับเทียนชนวนจากศาสนพิธีกรจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (โดยเริ่มจุดเทียน และธูปจากซ้ายไปขวา) ส่งเทียนชนวนคืนให้ศาสนพิธีกร คุกเข่าลง กราบ 3 ครั้ง
13.6 ลุกไปที่พานแว่นฟ้า หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่หรือไวยาวัจกร
13.7 ยกผ้าพระกฐินขึ้นอุ้มประคอง ประนมมือ หันหน้าไปทางพระพุทธรูป
13.8 กล่าวคำนมัสการ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)
13.9 หันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายตามแบบที่ติดไว้บนผ้าพระกฐิน ดังนี้
ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กอปร ด้วย
พระราชศรัทธา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้.............................................น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้กระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต นั้น เทอญฯ (คำขีดเส้นใต้ไว้เป็นคำที่มักอ่านผิดบ่อย ๆ ควรอ่าน ดังนี้ 1. พระ-ปะ-ระ-มิน-ทะ-ระ-มะ-หา, 2. มะ-หิด-ตะ-ลา-ธิ-เบด, 3. จัก-กรี-นะ-รึ-บอ-ดิน, 4. กอบ, 5. กะ-ถิ-นัด-ถา-ระ-กิด) ส่วนที่มีเส้นประให้ใส่ชื่อผู้ขอรับพระราชทาน หรือหน่วยงานที่ขอรับพระราชทาน
13.10 กล่าวคำถวายจบแล้ว วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า ยกทั้งพานประเคนพระสงฆ์รูปที่ 2 ประเคนพานเทียนพระปาติโมกข์ แล้วไปนั่งที่ซึ่งจัดไว้สำหรับประธาน
ต่อจากนั้น พระสงฆ์กระทำพิธีอุปโลกน์ และสวดญัตติทุติกรรม พระสงฆ์รูปที่ได้รับฉันทานุมัติให้เป็น
ผู้ครองกฐินลงไปครองผ้า แล้วกลับขึ้นมานั่งที่อาสนะ ประธานถวายเครื่องบริวารกฐินแก่เจ้าอาวาส
(เครื่องพระกฐินพระราชทานทั้งหมด) แล้วจึงถวายสิ่งของที่ผู้ขอรับพระราชทานจัดมาที่หลังผู้ร่วมพิธีถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ทั้งหมด
ศาสนพิธีกรหรือเจ้าหน้าที่ประกาศยอดเงินที่ถวายให้ทราบทั่วกัน ตามแบบที่กรมการศาสนามอบให้ ประธานในพิธีถวายใบปวารณาจตุปัจจัยตามที่ประกาศแด่ประธานสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานและผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ รับพร ประธานกราบลาพระรัตนตรัย กราบลาพระสงฆ์ หากพระสงฆ์มีของที่ระลึกจะมอบให้ประธานควรมอบให้ขณะนี้ ประธานออกจากสถานที่ประกอบพิธี เป็นเสร็จพิธีการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
14.
จัดทำรายงานถวายพระราชกุศลส่งกรมการศาสนา
หลังจากถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว กรอกแบบบัญชีรายงานถวายพระราชกุศล ในการถวายผ้าพระกฐิน
ส่งกรมการศาสนา ภายใน 15 วัน เพื่อรวบรวมกราบบังคมทูลถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป (ตามเอกสารแนบ 9)
หมายเหตุ
- ถ้าทอดกฐินวัดธรรมยุต ให้จัดผ้าขาว 1 พับ ยาวประมาณ 8 -10 เมตร วางบนผ้าไตรกฐินด้วย เพราะพระสงฆ์วัดธรรมยุตจะไม่กราบกฐินด้วยผ้าไตรสำเร็จรูป และให้จัดเข็มเย็บผ้า ด้ายเย็บผ้าสีขาว พร้อมสีย้อมผ้า ตามความนิยมของวัดด้วย
- เครื่องกฐินหลวง เจ้าภาพต้องรับจากกรมการศาสนา หากมีความประสงค์จะจัดบริวารกฐินและ ไทยธรรมถวายพระเพิ่มอีกก็ได้ ผู้ร่วมพิธีในพระอุโบสถหรือบนศาลาการเปรียญ ไม่ต้องพนมมือในกรณีต่อไปนี้
1.
เมื่อประธานอุ้มผ้าไตรพระราชทานไปวางบนพานแว่นฟ้า แล้วจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย และกราบพระประธานในพระอุโบสถ
2.
เมื่อพระสงฆ์สวดคำอุปโลกน์กฐิน
3.
เมื่อประธานสงฆ์กล่าวคำถวายอดิเรกว่า “อะติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะตุ ฯลฯ ขอถวายพระพร”
- พิธีการดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น
»
ข่าว ประชาสัมพันธ์ และปฏิทินกิจกรรม
»
ขั้นตอนการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
Tweet