ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
พระเถรานุเถระ พระเกจิอาจารย์ และองค์ปู่ฤาษี
»
กำเนิดของพระ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: กำเนิดของพระ (อ่าน 2176 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุญญตา
Jr. Member
กระทู้: 50
กำเนิดของพระ
«
เมื่อ:
20 พฤษภาคม 2012, 13:36:56 »
ขออนุญาตนำข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่องตามเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ มาลงให้ท่านผู้สนใจได้อ่านเพิ่มเติม หรือทบทวนความรู้ ลำดับแรก ขอนำลง คือ
พระกริ่ง(การกำเนิดของพระ) ตอนที่ ๑
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย แบ่งออกเป็นสองพวก คือ พวกฝ่ายเหนือและพวกฝ่ายใต้ ทางฝ่ายเหนือนั้น ถือพระไตรปิฎกภาษาสันสฤตที่ทำสังคายนาใหม่ โดยพระเจ้าแผ่นดินอินเดียพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า
"พระเจ้ากนิษกะ"
เป็นศาสนูปถัมภก (เหมือนอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทำนุงบำรุงพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธราฐ)
ทรงสร้างเจดีย์สถาน และทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองในแคว้นคันธารราฐ ทรงได้ให้ประชุมพระสงฆ์ฝ่ายเหนือเพื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัยขึ้นที่เมืองบุรุษบุรี เมื่อ พ.ศ.๖๒๕ เป็นต้นเหตุให้พระไตรปิฎกเกิดแตกต่างกันขึ้น พระเจ้ากนิษกะนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ตามคติของลัทธิมหายานนี้เชื่อว่า มีพระโพธิสัตว์เรียกว่า
"ธยานิโพธิสัตว์"
อย่างหนึ่ง
"มนุษย์โพธิสัตว์"
อย่างหนึ่ง
นอกจากพระ
โพธิสัตว์
แล้วยังมีนางดารา คือชายาพระโพธิสัตว์อีกเป็นอันมาก ท่านเหล่านี้ล้วนมีอิทธานุภาพอวตารลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์เมื่อคราวยุคเข็ญ พระโพธิสัตว์องค์ที่สำคัญของมหายานฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า ธยานิโพธิสัตว์นั้นมีรวมอยู่ ๕ องค์
บันทึกการเข้า
สุญญตา
Jr. Member
กระทู้: 50
Re: กำเนิดของพระ
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
20 พฤษภาคม 2012, 14:21:22 »
พระกริ่ง(การกำเนิดของพระ) ตอนที่ ๒
๑.สมันตภัทรโพธิสัตว์
ผู้รักษาพระพุทธศาสนาของพระกกุสันธพุทธเจ้า
๒.วัชรปาณีโพธิสัตว์
ผู้รักษาพระพุทธศาสนาของพระโกนาคมพุทธเจ้า
๓.รัตนปาณีโพธิสัตว์
ผู้รักษาพระพุทธศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า
๔.อวโลกเตศวร
ผู้รักษาพระพุทธศาสนาของพระโคดมสักยมุนีศรีสรรเพชรพุธเจ้า
๕.อิศวรปาณีโพธิสัตว์
ผู้รักษาพระพุทธศาสนาของพระศรีอาริยเมตตรัยพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต
ท่านเหล่านี้จะมาช่วยมนุษย์ในคราวเมื่อมีภัย และผู้นับถือบนบานขอให้มาช่วย ในสวรรค์ชั้นฟ้านั้นทางมหายานเชื่อว่า มี
พระอาทิพุทธเจ้า
หรือพระพุทธเจ้าพระองค์แรกเป็นประธาน นอกจากนั้นแล้วยังมี
ธยานิพุทธเจ้า
หรือพระพุทธเจ้าผู้เป็นยาน นำมนุษย์ไปสู่สวรรค์
อีก ๕ พระองค์
คือ
พระไวโรจนะ พระอักโษภยะ พระรัตนสัมภวะ พระอมิตาภะ และพระอโมฆสิทธะ
ธยานิพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์นี้บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งญาณสมาบัติของ พระอาทิพุทธเจ้า พระปรมาจารย์ฝ่ายเหนือผู้ถือคัมภีร์สันสกฤตแห่งชมพูทวีป ได้สร้างพระพุทธรูปแบบหนึ่งเรียกว่า
"พระภัยสัชญคุรุ"
มีพุทธลักษณะองค์คือ องค์พระปางมารวิชัย คล้องลูกประคำที่พระศอ พระหัตถ์ซ้ายถือเครื่องพุทธบริโภค อุปโภค อาทิ เช่น วัชระ,คนโฑน้ำอมฤต,พระขรรค์ ทรงประทับบนดอกบัว ถือว่าเป็นครรภธาตุมณฑล อันเป็นสัญลักษณ์ของโพธิจิต แห่งคัมภีร์มหาไวโรจนสูตร พระภัยสัชญคุรุนี้บางปางก็ถือคณโฑอมฤต อันเป็นพุทธบริโภค บางปางถือวัชระ อันเป็นพุทธอุปโภค สำหรับวัชระนี้มีความหมายไปถึง วัชรธาตุมณฑลสัญลักษณ์ของปัญญาอันคมกล้าแข็งแกร่งดุจเพชร ของธยานิพุทธเจ้า พระองค์ตัดเสียซึ่งอวิชชาและกิเลส ไม่มีความหวั่นไหวเพราะตัณหากับอศุลธรรม สำหรับลูกประคำที่คล้องพระศอก็เป็นพุทธอุปโภคอย่างหนึ่งตามนิกายมนตรยาน(ลัทธิลับ) พระภัยสัชญคุรุตามที่ปรมาจารย์มหายาน สร้างขึ้นนี้เป็นพระพุทธรูปขนาดบูชาทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
kaentong
Administrator
Hero Member
กระทู้: 443400
Re: กำเนิดของพระ
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
20 พฤษภาคม 2012, 21:47:05 »
ขอบคุณครับ
ตอนที่ ๓
จะมีหรือไม่ครับ รอชมมมม
บันทึกการเข้า
สุญญตา
Jr. Member
กระทู้: 50
Re: กำเนิดของพระ
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
10 มิถุนายน 2012, 10:25:48 »
พระกริ่ง(การกำเนิดของพระ) ตอนที่ ๓
ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนา
เริ่มแพร่หลายในทิเบต ราวพุทธสตวรรษที่ ๑๑
พระเจ้าสลองตสันคัมโป
ปกครองทิเบต ทรงสั่งราชฑูตมาอัญเชิญพระพุทธ ,พระธรรม,พระสงฆ์ จากอินเดีย คณาจารย์ชาวอินเดียได้นำพระพุทธรูปและพระคัมภีร์ ข้ามภูเขาหิมาลัยนำพุทธศาสนาแบบมันตรยานตันตระเข้าไปในทิเบต ดินแดนลี้ลับลัทธิเดิมของทิเบต ที่เรียกว่า
ลัทธิปอนปะ
เป็นลัทธิบูชาเทวะ ลึกลับเต็มไปด้วยเวทมนต์อาถรรพ์อยู่แล้ว เมื่อพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ซึ่งอุดมเป็นด้วยอาคมและมนต์แพร่ไปถึงจึงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากราชสำนักและประชาชน
พระภัยสัชญคุรุ
อันหมายถึง
ธยานิพุทธเจ้า
ซึ่งพระเถระจากอินเดียนำเข้ามาพร้อมกันคราวนั้น จึงเป็นแบบอย่างในการสร้างพระพุทธรูปบูชาของธิเบตต่อมา การสร้างก็สร้างตั้งแต่ขนาดใหญ่ลงมาจนถึงขนาดเล็ก
ในมหาไวโรจนสูตร
ได้กล่าวถึงโพธิจิตไว้ว่า ๑.พระไวโรจนเป็นศูนย์กลางเทียบด้วยวิมลจิตของสรรพสัตว์
๒.พระรัตนธวัชพุทธะ เทียบด้วยอาลัยวิญญาญ ๓.พระมุกตบุษปราชาพุทธะ เทียบด้วยมโนธาตุ ๔.พระอมิตตาภะพุทธะ เทียบด้วยมโนวิญญาณ ๕.พระพุนทุภิเมฆนิรโฆษพุทธะ เทียบด้วยปัญจวิญญาณ พระพุทธเจ้าทั้ง๕ พระองค์นี้เป็นผลคุณของสรรพสัตว์
เมื่อพระคณาจารย์ทิเบต
ได้สร้างพระภัยสัชญคุรุขึ้นแล้ว และเพื่อให้พระภัยสัชญคุรุถึงพร้อมด้วยพุทธภาวะอันสมบูรณ์ จึงได้สร้างผลโลหะขึ้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยปัญจะโลหะ แต่ละผลโลหะนั้นเป็นสัญญลักษณ์ หมายถึงพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ดังกล่าวรวมเป็นห้า ประจุลงภายในพระภัยสัชญคุรุ แล้วอุดช่องที่ประจุนั้นด้วย
มหาพุทธาคมห้าแห่งด้วยกัน พระภัยสัชญคุรุก็สมบูรณ์ด้วยพุทธะภาวะ มีกฤตยาคุณ อาถรรพ์ ทั้งพระเดชและพระคุณ
(คราวหน้าจะได้นำเสนอกำเนิดพระกริ่ง ตอนจบ)
บันทึกการเข้า
สุญญตา
Jr. Member
กระทู้: 50
Re: กำเนิดของพระ
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
11 มิถุนายน 2012, 18:03:41 »
กฤตยาคุณ อาถรรพ์ ทั้งพระเดชและพระคุณ
ตามคัมภีร์มนตรยาน เรียกว่า
"จตุรอาถรรพ์"
คือ
๑.สร้างความสงบสุข
ความสวัสดี บำบัดภัยบุคคลและภัยจากธรรมชาติ ภัยจากเขี้ยวงาทั้งปวง ภัยอันเกิดจากพยาธิ
๒.เพิ่มความสุขสมบูรณ์
ทางลาภยศ เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ได้โภคทรัพย์ ได้บุตร กันเสนียดจัญไรทั้งปวง
๓.กำราบปราบศัตรู
ที่คิดร้ายต่อพระศาสนา มีพิธีอาถรรพ์ประกอบ ซึ่งผู้ที่ทำลายวัดวาอาราม ฆ่าฟันพระภิกษุถึงแก่ความตาย (สำหรับใช้กับพวกบาปหนัก) สร้างอำนาจทุกทาง
๔.สร้างความเมตตา
เสน่ห์ สร้างความเคารพรักใคร่ สร้างชื่อเสียงเกียรติยศคุณความนิยม ในอาชีพและตระกูลวงศ์
ขอจบการกำเนิดของพระกริ่งแต่เพียงเท่านี้ พบกับพุทธลักษณะของพระกริ่งทิเบตในลำดับต่อไป
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
พระเถรานุเถระ พระเกจิอาจารย์ และองค์ปู่ฤาษี
»
กำเนิดของพระ
Tweet